วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Organic way : เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma) และ บิวเวอร์เรีย (beauveria bassiana)

ไตรโคเดอม่าเน้นใช้กับเชื้อราโรคพืช(เป็นรากินรา) 

แต่เชื้อบิวเวอเรียเป็นเชื้อราที่เป็นเชื้อรากินแมลง 


ถ้าจะให้ให้ถูกต้องได้ประสิทธิภาพก็ต้องใช้คนละเวลาหรือคนละทีกันนะครับ

เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.) เป็นเชื้อราชั้นสูงที่เจริญได้ดีในดิน เศษซากพืช ซากของสิ่งมีชีวิตต่างๆ และวัสดุอินทรีย์ตามธรรมชาติ จัดเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่สามารถใช้ควบคุมโรคพืช ซึ่งเกิดจากเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตอนที่1
   
 ตอนที่2
   
 เพิ่มเติม http://jrninedog.wordpress.com/2012/11/08/วิธีการเลี้ยงเชื้อราไต/

การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียในนาข้าว 
คุณลุงกมล   แก้วเกิด เกษตรกรแห่งบ้านคลองสาม ต.สระแจง อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี เป็นอีกหนึ่งท่านที่ให้ความใส่ใจในการทำเกษตรแบบลดต้นทุน เป็นผู้นำเกษตรกรรณรงค์ปลูกข้าวไม้เผาฟาง ทั้งยังเป็นศูนย์ขยายพันธุ์ข้าวอีกด้วย ในช่วงที่มีการระบาดของแมลงศัตรูข้าว คุณกมลจึงได้นำ เชื้อราบิวเวอร์เรียมาใช้  ทำให้ลดการระบาดลงได้มาก อีกทั้งยังประหยัดต้นทุนอีกด้วย แต่คุณกมล จะไม่ใช้วิธีการฉีดพ่น เพราะจะทำให้เกษตรกรเสียเวลา โดยจะนำไปใส่ในกระบอกไม้ไผ่แทน วิธีนี้จะช่วยประหยัดเวลาไปได้มากและเชื้อราก็กระจายได้ดีไม่แพ้กัน

เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถนำมาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น แมลงศัตรูพืชเป้าหมายในข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ บั่ว หนอนห่อใบ ในมะม่วงได้แก่ เพลี้ยจักจั่นที่ทำลายช่อมะม่วง แมลงค่อมทอง ในพืชตระกูลส้มได้แก่ เพลี้ยอ่อนส้ม เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ ไรแดง ในพืชผักได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรขาว แมลงหวี่ขาว หนอนผีเสื้อต่างๆ ในอ้อยได้แก่ แมลงค่อมทอง เป็นต้น

การผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย 
1. เตรียมวัสดุเลี้ยงเชื้อ 
            เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถเจริญเติบโตได้ดีบนเมล็ดธัญพืชทุกชนิด แต่เมล็ดธัญพืชที่ เหมาะสมที่สุดคือ เมล็ดข้าวโพด เพราะมีขนาดใหญ่ ทำให้มีช่องว่างมาก เมล็ดข้าวโพดที่จะนำมาใช้ต้องไม่เป็นเมล็ดที่คลุกสารเคมี หรือสารกำจัดเชื้อรา การเตรียมเมล็ดข้าวโพดสำหรับเลี้ยงเชื้อราบิวเวอร์เรียทำได้โดย นำเมล็ดข้าวโพดมาล้างให้สะอาด แล้ว 
- ทำให้เมล็ดอุ้มน้ำด้วยการแช่เมล็ดไว้ 1 คืน (หรือใช้วิธีต้มประมาณ 30 นาที) 
- นำมาพึ่งให้หมาดน้ำ (ให้ผิวแห้ง) 
- นำมากรอกใส่ถุง (ถุงเพาะเห็ด : ถุงทนความร้อนชนิดขยายข้าง ขนาด 6 x 12 นิ้ว) ถุงละประมาณ 4 – 5 ขีด (หรือสูงประมาณ 4 นิ้ว ) สวมปากถุงด้วยคอขวด ลึกประมาณ 3 นิ้ว แล้วพับปากถุงลง อุดด้วยสำลี หรือขี้ฝ้าย แล้วหุ้มปากถุงด้วยกระดาษ รัดด้วยยางวง 

2. นึ่งฆ่าเชื้อ 

            เมื่อเตรียมถุงเมล็ดข้าวโพดเสร็จแล้วให้นำไปนึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในถุง 
• ถ้าใช้หม้อนึ่งความดัน ใช้ความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 องศา เซลเซียส ใช้เวลานึ่ง 30 นาที 
• กรณีใช้หม้อนึ่งลูกทุ่ง (ทำจากถังแกลอน) ใช้เวลานึ่งอย่างน้อย 3 ชั่วโมง นับ จากน้ำเดือด หลังจากนึ่งเสร็จแล้วนำมาวางทิ้งไว้รอให้เย็น แล้วแกะกระดาษที่หุ้มปากถุงออก 

3. การเขี่ยเชื้อ 

            อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเขี่ย เชื้อราบิวเวอร์เรีย ประกอยด้วย ตู้เขี่ยเชื้อ ตะเกียง แอลกอฮอล์ (และแอลกอฮอล์ 95 % สำหรับเติมตะเกียง)
เข็มเขี่ยเชื้อ และแอลกอฮอล์ 70 % สำหรับฆ่าเชื้อ 
    - เตรียมอุปกรณ์ ด้วยการทำความสะอาดตู้ แล้วเช็ดฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70 % (นำแอลกอฮอล์ใส่ฟ๊อกกี้ ฉีดภายในตู้ให้ทั่วแล้วเช็ดด้วยสำลี) 
    - นำอุปกรณ์ใส่เข้าไปในตู้ ได้แก่ ตะเกียงแอลกอฮอล์ แก้วน้ำที่แช่เข็มเขี่ยเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70 % หัวเชื้อ โดยเช็ดผิวด้วยแอลกอฮอล์ 70 % ก่อนนำเข้าตู้ 
    - นำถุงเมล็ดข้าวโพดที่นึ่งแล้วใส่เข้าไปในตู้ ด้านซ้ายมือ แล้วปิดตู้ 
    - เริ่มทำการเขี่ยเชื้อโดยสอดมือเข้าไปภายในตู้ (ก่อนสอดมือเข้าไปต้องเช็ดมือและแขนด้วยแอลกอฮอล์ 70 % ทุกครั้ง) จุดตะเกียง ใช้มือขวาจับเข็มเขี่ยด้วย
      สามนิ้ว (โป้ง ชี้ กลาง) นำมาลนไฟที่ปลายให้แดง แล้วลนมาทางด้ามจับ 2 – 3 ครั้ง 
    - ใช้มือซ้ายจับขวดหัวเชื้อ แล้วเปิดจุกสำลีโดยใช้นิ้วก้อยของมือขวา ลนไฟที่ปากขวด 2 – 3 ครั้ง 
    - สอดเข็มเขี่ยเชื้อเข้าไปตัดวุ้นในขวด ชิ้นละประมาณ ? ตารางเซนติเมตร แล้วจิ้มออกมาจากขวด 
    - ลนปากขวดอีก 2 – 3 ครั้งก่อนปิดสำลีเข้าที่เดิม 
    - มือซ้ายวางขวดหัวเชื้อแล้วหยิบถุงเมล็ดข้าวโพกมาเปิดจุกสำลีด้วยนิ้วก้อยของมือขวา ลนปากถุงเล็กน้อย แล้วใส่หัวเชื้อที่ติดปลายเข็มเข้าไปในถุง 
    - ลนปากถุงเล็กน้อยก่อนปิดปากถุง แล้วเขย่าถุงเบาๆ นำถุงที่ใส่เชื้อแล้วมาวางด้านขวามือ 

4. การบ่มเชื้อ 

        นำถุงเมล็ดข้าวโพดที่ใส่เชื้อแล้ว ไปวางไว้ในสภาพอากาศปกติ อากาศถ่ายเทได้ มีแสงสว่างปกติ แต่ไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง เชื้อจะเจริญเติบโตจนเต็มเมล็ดข้าวโพด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ เมื่อเชื้อเดินเต็มแล้วก็นำไปใช้ได้ 
การเก็บรักษาเมื่อเชื้อเดินเต็มแล้ว ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น จะทำให้เก็บไว้ได้นานขึ้น 

การทำกระบอกไม้ไผ่สำหรับใส่เชื้อราบิวเวอร์เรีย 

1.นำกระบอกไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ให้มีความยาว 30 เซนติเมตร สามารถมองทะลุถึงกันได้
2.เจาะรูตรงกลางกระบอกไม้ไผ่จำนวน 1 รู รัศมี 1 เซนติเมตร
3.นำไม้ไผ่ขนาดพอดี ความยาว 1 เมตร มาเสียบตรงกลางกระบอกที่เจาะรูไว้
4.นำกระบอกไม้ไผ่ที่เสียบฐานเรียบร้อยแล้วไปปักในนาข้าว 1 ไร่ใช้ 4 กระบอก
5.นำเชื้อราบิวเวอร์เรียที่เชื้อเดินเต็มแล้วไปใส่ในกระบอก อัตรา เชื้อราบิวเวอร์เรีย 1 ถุง ต่อ กระบอกไม้ไผ่ 1 กระบอกและหันปากกระบอกไปทางช่องลมที่พัดผ่านจะทำให้เชื้อรากระจายได้เร็วขึ้น


ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร * 1677 
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.ชัยนาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น