วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

MACD


   ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
   MOVING AVERAGES CONVERGENCE/ DIVERGENCE
Cr:  http://thaiforexschool.com/index.php?topic=133.0
 
   MACD สามารถบอกแนวโน้มได้ บอกการเกิด overbought, oversold และสามารถหาการเกิด divergenceขอยกให้ MACD เป็นราชาแห่ง indicator ที่ใช้ได้ดีกับทุกช่วงเวลา
 
   overbought คือ อยู่ในสภาพที่มีแรงซื้อมากเกินไปอิ่มตัวขาขึ้นแต่ไม่ใด้หมายความว่าเป็นจังหวะขายเสมอไป
   เพราะการอิ่มตัวขาขึ้น กราฟอาจจะวิ่งต่อได้
   oversold คือ อยู่ในสภาพที่มีแรงขายมากเกินไป อิ่มตัวขาลง แต่ไม่ใด้หมายความว่าเป็นจังหวะซื้อเสมอไป
   เพราะการอิ่มตัวขาลง กราฟอาจจะวิ่งต่อได้เหมือนกัน
 
   เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค ในปัจจุบันนั้นมีอยู่มากมายหลายวิธี แต่ละวิธีจะให้สัญญาณซื้อขายที่ถูกต้อง ชัดเจน ในสภาพตลาดที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เครื่องมือที่เหมาะสำหรับด
   วงจรหุ้นในระยะสั้น - ปานกลาง (4-6 อาทิตย์) ที่ราคาหุ้นมีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงกว้าง ๆ คือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MACD)
 
   MACD เป็นเครื่องมือวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคที่สร้างขึ้น และพัฒนาโดย GERALD APPEL ในปี ค.ศ.1979 ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับราคา (TREND FOLLOWING) สามารถใช้วัดระดับ (DEGREE) ตลาดว่าเป็นตลาด BULL หรือตลาด BEAR
 
 
   วิธีการคำนวณ
   เส้น MACD สร้างขึ้นโดยใช้ความต่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้น โดยที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นหนึ่ง ใช้ระยะเวลาในการคำนวณยาวกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ อีกเส้นหนึ่ง และเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้นนี้ นิยมใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ EXPONENTIAL ส่วนจำนวนวันที่นำมาหาค่าเฉลี่ย ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ 12 วัน และ 26วัน มีข้อสังเกตว่า เส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวนี้ จะมีระยะเวลายาวนาน กว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นประมาณ 1 เท่า
   ส่วนค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของเส้นค่าเฉลี่ย 9 วัน เราเรียกว่า เส้นสัญญาณ (Signal Line) ซึ่งถูกสร้างไว้เป็นสัญญาณคู่กับการใช้ MACD
 
   การให้สัญญาณซื้อหรือขายที่นิยมวิธีหนึ่งของ MACD คือ การใช้สัญญาณ
   ( SIGNAL LINE 9 ) ตัดกับเส้น MACD
 
   MACD               = EMA (12 DAYS) - EMA (26 DAYS)
   SIGNAL LINE   =   EMA 9 DAYS OF MACD
   EMA                  =  EXPONENTIAL MOVING AVERAGE
 
   เส้น MACD และเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) จะเหวี่ยงตัวอยู่บนกราฟที่มี SCALE 0 เป็นค่าแกนกลาง
 
   
 
   หลักการวิเคราะห์
 
   1.   ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก แสดงว่าราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้มขึ้นระยะกลาง
   2.   ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ แสดงว่าราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้มลงระยะกลาง
   3.   ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก และตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ขึ้นไป แสดงว่าราคาหุ้นมีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นสัญญาณซื้อ (BUY SIGNAL)
   4.   ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ และตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ลงมา แสดงว่าราคาหุ้นมีแนวโน้มลดลง เป็นสัญญาณขาย (SELL SIGNAL)
   5.   ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก แต่ตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ลงมา แสดงว่าราคาหุ้นกำลังมีแนวโน้มชะลอการลงหรือปรับตัวขึ้นช่วงสั้น
   6.   ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ แต่ตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ขึ้นไป แสดงว่าราคาหุ้นกำลังมีแนวโน้มชะลอการลงหรือปรับตัวขึ้นช่วงสั้น
   7.   ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก และอยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับยอดเก่า แสดงว่าราคาหุ้นมีโอกาสที่จะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
   8.   ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ และอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับฐานเก่า แสดงว่าราคาหุ้นมีโอกาสที่จะทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้น
   9.   ถ้า MACD และเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) มีค่าเป็นบวก แสดงว่าตลาดเป็นตลาด BULL
   10. ถ้า MACD และเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) มีค่าเป็นลบ แสดงว่าตลาดเป็นตลาด BEAR
 
   ข้อสังเกต
 
   เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคแบบ MACD นี้ อาจมีข้อจำกัดสำหรับตลาดหุ้นไทย ในความเป็นจริง คือ MACD มักจะให้สัญญาณซื้อขายค่อนข้างช้า ดังนั้น จึงควรนำเอาเครื่องมืออื่น ๆ ที่ใช้สำหรับดูวงจรหุ้นในระยะสั้นมาประกอบพิจารณาในการซื้อขายด้วย เช่น STOCHASTIC และ MOMENTUM เป็นต้น
 
   การใช้เครื่องมือ MACD เพียงอย่างเดียว มักจะทำให้ผู้ลงทุนไม่ได้กำไรสูงสุด ดังนั้น จึงควรนำหลักการของ DIVERGENCE มาประกอบการตัดสินใจ
 
 
   การแยกตัวออกจากกันของ MACD กับดัชนีราคา (DIVERGENCE)
 
   Divergence คือ การขัดแย้งกันระหว่างราคาในกราฟและ Indicatorมี 2 ลักษณะคือ
 
   1.  BULLISHDIVERGENCE จะเกิดขึ้นเมื่อ MACD มีการปรับตัวลงสวนทางกับการสูงขึ้นของดัชนีราคา เป็นการเตือนว่าราคาอาจมีการปรับตัวลง
 
   
 
   2.  BEARISHDIVERGENCE จะเกิดขึ้นเมื่อ MACD มีการปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับการลดลงของดัชนีราคา เป็นการบอกว่าการลดลงของราคาใกล้สิ้นสุดลง
 
   
 
   เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนสูงสุด ผู้ลงทุนควรจะรอจนกว่าจะเห็นรูปแบบ Bullish หรือ BearishDivergence เสียก่อน และควรใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ มาประกอบด้วย
   ข้อเสียของ MACD
   บางครั้งจะให้สัญญาณช้าไป
   ไม่เหมาะกับช่วงเกิด sideway
   บางครั้งจะเกิดสัญญาณหลอกเกิดขึ้น ดังนั้นอย่าใช้ indicator นำการเข้าเทรด ซื้อขาย เด็ดขาด (สัญญาณหลอกมีเยอะ)
 
   หลักการใช้ divergence
   ควรดูแนวโน้มของกราฟให้ออกก่อนว่าเป็นทิศทางเดียวกันกับการเกิด divergence เพื่อยืนยันความถูกต้อง (ไม่โดนหลอก)
   การเกิด double top หรือ double bottom ในกราฟหรือใน indicators ถือว่าเป็นการเกิดสัญญาณ divergence เช่นกัน
   การเกิด bullish divergence และ bearish divergence
   มักจะเกิดให้เห็นเสมอในทุก ๆ ช่วงเวลา บอกได้ถึงการกลับตัวมามีแนวโน้มครั้งใหม่อีกครั้ง
   แต่เพื่อความมั่นใจในความถูกต้อง ควรใช้เครื่องมืออย่างอื่นช่วยยืนยันด้วย จะได้ไม่โดนกราฟหลอกครับ
   และบางครั้งมักจะเกิดช่วงเป็น double top หรือ double bottom ให้เห็นด้วยเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น