วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Autopot

ตัวอย่าง Autopot : 
cr:http://www.photoontour9.com/outbound/malay/malay03/farm.htm


ภายในฟาร์มที่ีมีพลาสติดคลุมพื้นดินทั้งหมด

แคนตาลูปปลูกในถุง วางบนหิน และพื้นคลุมพลาสติค
แคนตาลูบที่ปลูกในถุงใบเล็กๆ วางบนกระถางดิน

ไม้ใหญ่จะใช้ถุงใหญ่

สตอเบอรี่ ปลูกในถุงดิน ยกจากพื้นถึง 3 ระดับ

ห้อยลงมาแบบนี้

ไม้ดอกชนิดหนึ่งที่ต่อท่อสายยางจากขวดลงกระบะ

มะเขือเทศลูกดกน่าดู ตัดใบโคนต้นให้รับแสงเต็มที่

มะเขือเทศที่ปลูกจากถุงดิน

ออกลูกกันเป็นพวง

พวงเดียวนะ ..ดูใบด้วยว่าใหญ่ขนาดไหน

แคนตาลูปพันธ์สีเหลือง ปลูกในกระถาง
Source: http://www.autopot.com.my/Projects.htm

 
      


( ขอนำภาพจากเว็บไซต์ของฟาร์มที่ทันสมัยแห่งหนึ่งในมาเลเซียมาให้ดูกัน)
 สังเกตุให้ดีจะไม่มีการปลูกพืชลงบนดินตรงนั้น ดินปลูกจะเตรียมมาจากที่อื่นที่มีการควบคุมอาหารของพืชในแต่ละชนิดดินในกระถางจึงมีธาตุอาหารพอเพียงในการปลูกตลอดอายุของต้นไม้ที่จะให้ผลผลิต ปัญหาวัชพืช ปัญหาจากแมลงต่างๆ จึงแทบไม่มี วิธีการนี้น่าจะต่างกับที่บ้านเรากำลังหันมาปลูกพืชปลอดสารพิษในมุ้ง เพราะให้พืชผักดูดสารอาหารจากรางพีวีซี หรือโฟมที่เจาะรู ซึ่งไม่แน่ใจว่าสารอาหารนั้นเป็นพิษต่อร่างกายหรือไม่ เพราะไม่ต่างกับปุ๋ยน้ำ หรือพวกฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต แต่ที่คาเมรอนยังใช้ดินที่ผสมปุ๋ย อาจเป็นปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ ที่ผ่านการฆ่าเชื้อและแมลงที่อยู่ในดิน วิธีการยังเป็นรูปแบบเดิม เพียงแต่เพื่มประสิทธิภาพของดินปลูก แต่บ้านเราเท่าที่ทราบส่วนใหญ่ให้ต้นไม้ดูดปุ๋ยน้ำโดยตรง ซึ่งปุ๋ยน้ำนี้มีอาจควบคุมปริมาณสารอาหารไว้ดีแล้ว แต่ขบวนการที่ผักดูดสารโดยตรงนี้ มั่นใจได้อย่างไรว่า สารเคมีต่างๆที่ผสมลงในน้ำปุ๋ยนั้น ได้้แปรสภาพจนหมดแล้ว และไม่เป็นปัญหากับสุขภาพในภายหลัง...

บนเขาคาเมรอน หากนั่งรถมาตอนกลางคืนจะเห็นแต่ละฟาร์มเปิดไฟสว่าง คล้ายฟาร์มไก่ จนสว่างเป็นช่วงๆบนเขาแต่ละลูก ไกด์บอกว่าเป็นการควบคุมอุณภูมิ และเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งเชื่อว่าวิธีการนี้หลายคนคงไม่มีใครทราบมาก่อน ไก์ด์บอกว่าอากาศที่นี่หนาว หากไม่ควบคุมเรื่องอุณหภูมิที่พอเหมาะ จะทำให้การเจริญเติบโตชะงักงัน นอกจากนี้ก็ยังทำให้ต้นไม้เติบโตได้เร็วกว่าปกติด้วย สรุปง่ายๆว่าทั้งหมดนี้มีการค้นคว้าวิจัยมาเป็นอย่างดี .. ก็ต้องบอกว่าไม่ธรรมดาครับ ศูนย์วิจัยพืชเมืองหนาวของอังกฤษที่ตั้งมานานเกือบร้อยปี บนคาเมรอน ส่งผลให้ที่นี่กลายเป็นแหล่งอาหารสำคัญของประเทศ ก็ขอเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากการเดินทางมาเล่าสู่กันฟัง จะได้เห็นว่า เพื่อนบ้านเราที่อยู่ติดกันนี้ไปถึงไหนกันแล้ว 

หากเที่ยวกันแบบอิสระก็อาจได้เห็นภาพแบบนี้บ้างฟาร์มเกษตรที่คาเมรอน ตามที่เคยบอกไว้แต่แรกว่ากระทำในรูปบริษัท เล็กบ้างใหญ่บ้าง จึงมีทุนรอนที่จะทำให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และจะเห็นว่าไม่มีจุดไหนเลยที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ไม่วาจะเป็นฉีดยาฆ่าแมลง หรือโรยปุ๋ยที่โคนต้นไม้ เพราะภาพที่เห็นมีการควบคุมทุกจุด แม้แต่ดินที่ปลูกในถุงหรือกระถาง ก็มีการคำนวนระยะเวลา ควบคุมต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายไว้หมดแล้ว คล้ายกับ บริษัท CP ที่ควบคุมระยะเวลาเลี้ยงไก่ ต้นทุนอาหารไก่ วัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ไว้หมด ครบ 45 วันก็โตเต็มที่และได้เวลาเชือด หากเลี้ยงเกินเวลามากกว่านี้ก็กินทุนไปเรื่อยๆ กำไรก็จะน้อยลง ถามว่าทำไมต้อง 45 วัน ก็เพราะเค้าคำนวนค่าใช้จ่ายไว้ไหมดแล้วว่าเหมาะสมที่สุด

ฟาร์มพิชผักในมาเลเซียก็คงใช้หลักบริหารจัดการในทำนองเดียวกัน รู้ต้นทุนที่แน่นอน และควบคุมได้ มีตลาดที่แน่นอน และที่สำคัญสินค้ามีคุณภาพปลอดสารพิษ ตลาดสินค้าเหล่านี้จึงเป็นตลาดระดับบน ราคาอาจสูงกว่าตลาดล่างแน่นอนแต่สำคัญมีคู่แข่งน้อยมาก จึงไม่มีปีญหาเรื่องราคาตกต่ำ เหมือนกับประเทศไทยที่ประสบอยู่ในสินค้าการเกษตรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นข้าว อ้อย มันสัมปะหลัง สัปปะรด ซึ่งเป็นปัญหาให้กับรัฐบาลทุกสมัย และเป็นแหล่งให้เกิดการทุจริตกันมากมาย แต่หากบ้านเรามีการพัฒนาไปในรูปของเอกชนการเกษตร ปัญหาก็อาจเบาบางลง แต่ที่เห็นในบ้านเราขณะนี้ ธุรกิจด้านการเกษตรที่ได้มาตรฐานมีน้อยมาก เราให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรมมากเกินไปจนภาคการเกษตรไม่เติบโตเท่าที่ควร ในที่สุดจิตวิญญานของความเป็นไทย ที่พูกพันธ์ภาคการเกษตรมานานต้องล่มสลาย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น