วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีแยกเพศเมล็ด อินทผาลัม

หมอแดง kmsmily กล่าวเอาไว้   ใน kasetporpeang.com 

" กล้องครับกล้องส่องพระหรือแว่นขยายจะได้เห็นชัดๆ  เหมือนที่ผมแอบดูนักศึกษาขาวๆสวยๆขาเรียวๆใส่กางเกงขาสั้นๆที่เข้ามากินอาหารร้านป้าไหมต้มแซ๊บ  ชนิดไม่เกรงใจสายตาที่ต้องมองรอดแว่นสายตายาวอย่างผม  ลังเล ทุกครั้งที่มองคิดถึงอีตาเอ๋ สวนเกษตรปากเสีย ถ้าอยู่ใกล้ๆกันคงชวนมานั่งศึกษาเรื่องธรรมะอย่างอีตาครูยุทธ สวนขนุน(สวย)แนะนำแล้ว 555(อย่าร้องตามมาด้วยก็แล้วกัน) ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ผมใช้กล้องส่องพระ (ตัวช่วยที่ไปค้นหาในรถ) เอามาส่องเม็ดอินทผลัมสังเกตเห็นตรงจุดรากงอกด้านหลังเม็ดมีความแตกต่างกัน ตกใจ จะมีทั้งหมดสามลักษณะคือ จุดรากงอกมีเดือยอยู่ตรงกลาง จุดรากงอกมีรอยบุ๋ม  และไม่มีจุดรากงอก  ผมเปรียบเทียบกับคนทันทีผู้ชายมีจู๋ ผู้หญิงมีจิ๋ม คัดแยกเสร็จอ้าว......เปอร์เซ็นต์เม็ดตัวผู้ตัวเมียเหมือนอย่างที่เพื่อนๆนำมาแชร์หลังการปลูกอินทผลัมผ่านไป 2-3 ปี ถึงรู้ว่าเป็นต้นตัวผู้หรือต้นตัวเมียตอนออกดอก  แล้วไอ้ต้นที่ไม่มีจุดรากงอกตีเป็นกระเทยไว้ก่อน  เจ๋ง  ผมจึงเริ่มเพาะเม็ดอินทผลัมทั้งหมด 3 เม็ดเพื่อเก็บข้อมูลๆที่ได้มาคือ  เม็ดที่ระบุว่าเป็นตัวผู้รากจะงอกก่อนและพัฒนาเป็นต้นได้เร็วกว่า  เม็ดที่ระบุว่าเป็นตัวเมียและกระเทย  ฮืม ขนาดและความยาวของใบเม็ดตัวผู้จะมีลักษณะยาวรี ฮืม   ส่วนใบเม็ดตัวเมียลักษณะกว้างสั้น ฮืม  เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสิ่งมีชีวิตทั่วๆไปตามธรรมชาติ  เราจะเห็นว่าเพศผู้มักจะมีรูปร่างที่ใหญ่กว่าเพศเมีย  ยิ้ม ทั้งนี้ทั้งนั้นผมจะมั่นใจว่าผมวิเคราะห์ถูก  หลังจากต้นอินทผลัม 2 ต้นนี้ออกดอกครับ  ทุกอย่างที่ผมนำเสนอต้องการให้เป็นแนวทางเพื่อนำไปพิจารณาสำหรับผู้ที่คิดปลูกอินทผลัม  อายจัง หากผลปรากฏในอนาคตว่าผมวิเคราะห์ถูก  ผลดีจะเกิดขึ้นในวงการผู้ปลูกอินทผลัม คนเพาะต้นกล้าขายจะได้มีต้นตัวเมียให้ลูกค้าจริงๆ  คนที่เพาะเพื่อนำไปปลูกเองจะได้มีความหวังว่าได้กินลูกอินทผลัมแน่นอน  ผมยังขอยึดแนวทางการทำเกษตร “ต้นทุนต่ำ ทำผลผลิตเพิ่ม เติมรอยยิ้ม” จุมพิต  ผมตัดสินใจในการนำเสนอครั้งนี้เพราะอยากนำความรู้ที่มีเป็นหนึ่งในองค์สาม  บุญกุศลที่เกิดขึ้นขอมอบอุทิศให้แก่เจ้ากรรมนายเวรของผมทุกๆชาติภพด้วยเทอญ สาธุ  สาธุ  สาธุ........... อายจัง อายจัง อายจัง "

เมล็ดตัวเมียมีรอยบุ๋ม

เมล็ดตัวผู้มีเดือย

เมล็ดกระเทยไม่มีรอย

อุปกรณ์


น้ำตาลทางด่วน


"ไม้ผลทุกชนิดเมื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ก่อนออกดอกจะต้องงดน้ำ หลังออกดอกติดผลแล้วจึงจะให้น้ำอีกครั้ง
ดอกร่วงเกิดจากสารอาหารที่สะสมไว้ไม่เพียงพอ(ใส่ปุ๋ยน้อย)
หรือ การให้น้ำเกิดการแตกยอดอ่อนธรรมชาติต้นไม้จะเคลื่อนสารอาหารเลี้ยงยอดอ่อนครับ
หรือธาตุอาหารที่ให้ไม่สมดุลและเพียงพอ เช่น ใส่ปุ๋ยตัวกลางสูง(P)มากเกินไปจะทำให้ขาดธาตุสังกะสี(Zn)ซึ่งเป็นธาตุที่พืชนำไปใช่ร่วมกับธาตุไนโตรเจน(N)ในการสร้างฮอร์โมนออกซิน ทำให้ขั้วดอกและผลเหนียวไม่หลุดร่วงง่าย
วิธีแก้ไข 
ใช้น้ำตาลทางด่วนฉีดพ่นที่ใบ 2 -3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน
ผลหยุดร่วงใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 1 กก.+ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 = 200-300 กรัม/ต้น ขุดรอบๆทรงพุ่มฝังกลบ ให้น้ำตาม ครับ
ถ้าทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองตามคำแนะนำผมจะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้ครับ รีบๆทำทิ้งไว้ได้แล้วถ้ารักจะปลูกต้นไม้อยู่ ขอบอก "
หมอแดง kmsmily กล่าวเอาไว้

1. ตาลทางด่วน มีประโยชน์ต่อพืชอย่างไร 
2. เมื่อฉีดน้ำตาลทางด่วนให้กับพืชแล้ว พืชจะนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกประมาณกี่วัน 
3. ส่วนผสมของน้ำตาลทางด่วน ประกอบด้วยอะไรบ้าง 

1. น้ำตาลทางด่วน นิยมฉีดพ่นให้กับไม้ผล ในช่วงที่ประสบปัญหาสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย เช่น สภาวะแล้งรุนแรงหรือหลังจากน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ระบบรากทำงานได้ไม่เป็นปกติ เมื่อพืชดูดซึมผ่านทางใบจะช่วยให้ต้นไม้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เนื่องจากมีส่วนผสมน้ำ น้ำตาลกลูโคส ซึ่งเป็นแหล่งให้พลังงานที่เซลสิ่งมีชีวิตนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง 
2. พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ หลังจากฉีดพ่นตามทรงพุ่มแล้ว ประมาณ 2-3 ชั่วโมง 
3. ส่วนผสมของน้ำตาลทางด่วน มีส่วนผสมของน้ำตาลกลูโคส 600 กรัม กรดฮิวมิก 20 ซีซี ปุ๋ยเกล็ด สูตร 15-30-15 หรือสูตร 10-20-30 อัตรา 60 กรัม สารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือคาร์เบนดาซิม ตามอัตราแนะนำ และสารจับใบ ละลายในน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นที่บริเวณทรงพุ่มพอชุ่มเพียง 1-2 ครั้ง ในตอนเช้าหรือตอนเย็นก็ได้ จะช่วยให้ต้นไม้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น 

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี อ.พลิ้ว จ.จันทบุรี โทร. 0-3939-7030, 0-3939-7146 ในวันและเวลาราชการ 

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Plant Layering การตอนกิ่งมะนาวอีกแบบ


การตอนกิ่งมะนาวแบบนี้เป็นแบบที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อน
หลังจากได้เข้าไปอ่านในกระทู้ของคุณชาย ท่ายาง จากเวปเกษตรพอเพียง เลยขออนุญาตเอามา ใส่ไว้ใน blog นี้ บันทึกความจำ
เดี๋ยวจะเอาไปทดลองบ้างครับ
ใครสนใจติดตามกระทู้ต้นฉบับติดตามได้ที่นี่ครับ 
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=61823.0


"   เมื่อคืนกว่าจะล้างขวด-ถัง-กะละมัง-หม้อเสร็จก็ตีสองครับ ผมต้องจอดรถนอนเพราะขับไม่ไหววูบจะหลับหลายครั้งขอโทษทีครับ มาต่อจากเมื่อวานดีกว่า 
ว่ากันถึงอุปกรณ์ดังภาพครับ 
1.มีดที่คมและสะอาด งานนี้ลงทุนใช้ใบเลื่อยเหล็กครับ คมและแข็งดีมากๆ
2.น้ำยาเร่งราก เปลี่ยนมาใช้ เอ็นเอเอ ราคาถูกมีประโยชน์หลายอย่างครับ
3.วัสดุตอนใส่ถุงน้ำจิ้มไก่ อาจจะเป็นขุยมะพร้าวหรือหญ้าคาแห้งๆสับย่อยแช่น้ำจนเปื่อยหรือแกลบดิบแช่น้ำจนเปื่อยผสมดินร่วนก็ใช้ได้ดี
4.เชือกมัดตุ้มตอน
5.ขวดฟ๊อกกี้ไม่มีก็ไม่ต้องครับ
   ก็คงต้องใช้มะนาวเป็นแบบเหมือนเดิมครับ เพราะปลูกอยู่เดินเข้าสวนก็หาได้แล้ว เฟ้นหากิ่งที่มีขนาดเท่าดินสอหรือตะเกียบ อายุอานามก็ 45-60 วันครับใช้ได้ แต่ถ้าจะให้กิ่งที่มีอายุมากหรือน้อยกว่าที่บอกก็ไม่มีปัญหาครับ กิ่งใหญ่ขนาดข้อมือผมก็เคยตอนมาแล้ว และกิ่งขนาดไม้จิ้มฟันผมก็เคยตอนมาแล้ว แต่ขนาดที่ผมว่าคือเท่าดินสอนี่มันดูจะพอดิบพอดีครับครับเลือกที่ขาวๆอวบๆหน่อย ใบเขียวสมบูรณ์ถ้าเป็นกิ่งกระโดงจะดีเพราะยังไงต้องตัดทิ้งอยู่แล้วและกิ่งกระโดงจะสะสมอาหารและฮอร์โมนอยู่มากในตัวกิ่ง 
   หลังจากเล็งกิ่งที่จะตอนได้แล้วยังไงก็เล็มเอาหนามออกซะหน่อยจะได้ไม่เป็นอุปสรรคในการทำงาน และสังเกตุดูที่ปลายใบมีดชี้คือบริเวณที่เราต้องการให้เกิดราก คือบริเวณใต้ตาหรือใต้ข้อใบเนื่องจากบริเวณตาจะมีอาหารสะสมอยู่มาก มีโอกาสเกิดรากได้สูงถ้าจะใช้วิธีควั่นรอบกิ่งก็ควรควั่นบริเวณนี้ครับ

จากนั้นใช้มีดปาดขึ้นไปให้ไปสุดที่บริเวณตรงที่ปลายมีดชี้ใบภาพด้านบน จะเลยขึ้นไปนิดหน่อยไม่ใช่ปัญหาครับ รอยปาดควรยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว และให้ลึกถึงเนื้อไม้ด้วยครับ


ยังครับยังบางท่านอาจจะว่ามันคือการตอนแบบปาดกิ่งซึ่งก็ใช่ถ้าจะเรียกแบบนั้น แต่ที่ผมทำคือเพิ่มจุดและโอกาสการเกิดรากให้เร็วและมากขึ้นอีก ให้ปาดอีกครั้งในด้านตรงข้ามครับ คือปาดสองรอยให้แผลตรงข้ามกัน 


จะได้ลักษณะดังในรูปนี้ครับ คือจะมีปีกสองข้าง ตอนแรกผมเรียกการตอนแบบมีปีกแต่เจ้าของสวนขยับมีดในมือเลยต้องเปลี่ยนชื่อเป็นการตอนแบบครีบแทน



ฟ๊อกกี้ที่ให้เตรียมมาคือผสมน้ำยาเร่งรากแล้วใส่ขวดพ่นจะสะดวกในกรณีที่ตอนกิ่งเป็นจำนวนมาก ไม่ต้องใช้พูกันจุ่มขวดครับ เร็วสะดวก ไม่หล่นหายง่าย ใช้ไม่หมดเก็บไว้งานหน้าได้อีก

จากนั้นก็หุ้มด้วยตุ้มตอน ผมบอกตามตรงผมเป็นคนขี้เกียจเลยมัดแค่เหนือรอยปาดแค่จุดเดียวครับ เอาแค่พออยู่ไม่เคลื่อนเป็นใช้ได้แต่บางท่านอาจจะพิถีพิถันหน่อยมัดสองรอยก็ได้ครับ

เสร็จแล้วครับ บอกแล้วว่าง่ายๆ สบายดีด้วยไม่ต้องอ้อมมือไปให้หนามมะนาวแทงมือเอา ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งนะครับสำหรับหารขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอน บางครั้งช่วงก่อนหน้านี้ผมก็เคยใช้คีมสำหรับตอนกิ่งมาใช้กับมะนาวปรากฎว่ากะแรงกดยาก มีหลายกิ่งที่ขาดหรือหักเสียหาย เดี๋ยวจะลงวิธีการลงถุงชำแบบสันหลังยาวให้ดูอีกครับรับรองหลังยาวจริงๆ โชคดีครับ 

ยังพอมีเวลา มาต่อกันด้วยการชำกิ่งตอนแบบสันหลังยาวของผมครับ ผมเห็นมีเพื่อนๆสมาชิกหลายท่านนำกิ่งพันธุ์พืชที่ขยายพันธุ์จากการตอนไปชำลงถุงแล้วเสียหายหลายท่าน ส่วนหนึ่งของสาเหตุผมคาดว่าอาจจะเกิดจากการฉีกขาดของรากในขณะที่เราพยายามแกะถุงพลาสติกที่หุ้มกิ่งตอนออก ดังนั้นผมจึงขออนุญาตนำเสนอการชำกิ่งตอนลงถุงพ่วงท้ายอีกสัก 1 เรื่องครับสั้นๆ
  กิ่งตอนที่เราได้ลองพิจารณาดูแล้วรากออกสีน้ำตาลก็โอเค การตอนของผมก้นถุงจะอยู่ด้านล่างมีบางท่านอาจะกลับไว้ด้านบนก็ง่ายไปอีกแค่ตัดเอาหนังยางรัดปากถุงออกก็พอ

จับกิ่งคว่ำตามภาพ

ใช้มีดกรีดที่ก้นถุงเลยเพื่อเป็นการเปิดประตูสวรรค์ให้กับรากที่จะเจริญเติบโตออกมาทางรอยที่เรากรีด

จากนั้นกลับมาที่เชือกรัดตุ้มตอนต้องเอาออกครับจำเป็น จำเป็น จะตัดหรือแก้ออกก็ได้ครับ

เสร็จแล้วนำกิ่งพันธุ์ลงปลูกเลยครับ ไม่ต้องแกะถุงพลาสติกออก รับรองกิ่งพันธุ์ไม่ตายรากไม่ขดแน่นอน


เอาไม้ปักทะแยงเพื่อเป็นสิริมงคลกันโยกสักหน่อยก็ดูดีเป็นไหนๆ ช่วงแรกๆวางกิ่งพันธุ์ไว้ในที่ร่มพรางแสงสักหน่อยครับ สัก 15-20 วันก็โอเค ที่ผมทำให้ดูแบบนี้เห็นมีหลายท่านเล็งแล้วเล็งอีกกระมิดกระเมี้ยนท่วงท่าและลีลามากมายปรากฎว่ารากขาดครับกว่าจะแกะพลาสติกออกได้ เพราะงั้นก็ไม่ต้องแกะง่ายกว่าครับ อาจจะมีหลายท่านเป็นหว่งเรื่องรากจะไม่เจริญเติบโต ไม่ต้องหว่งครับ รากจะเจริญเติบโตไปตามช่องทางที่เรามีไว้ให้เอง รากต้นไทรยังแซะซะหินแตก นับประสาอะไรกับแค่ถุงพลาสติกกรอบๆแค่นี้ ชิลๆครับเดี๋ยวยังมีอีกเทคนิคการเร่งรากให้ฟูฟ่องเป็นฝอยขัดหม้อเลยแล้วจะมาต่อให้ทีหลังครับ โชคดีครับทุกๆท่าน 


ยังมีการตอนอีหลากหลายแบบจากกระทู้คุณ ชาวนา  
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=467.0

รูปแบบการตอนกิ่ง  มีหลายวิธี ที่นิยมกันได้แก่
1)  การตอนกิ่งในอากาศ (Air Layering)
2)  การตอนกิ่งแบบฝังยอด (Tip Layering)
3)  การตอนกิ่งแบบฝังกิ่งให้ยอดโผล่พ้นดิน (Simple Layering)
4)  การตอนกิ่งแบบงูเลื้อย (Compound Layering)
5)  การตอนกิ่งแบบขุดร่อง (Trench Layering)
6)  การตอนกิ่งแบบสุมโคน (Mound or Stool Layering)






















วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Organic way : Organic Farmer ทำนาปลอดเคมี

ทำนางดเคมี
ทำนาข้าวไม่แช่น้ำ ใช้น้ำน้อย
ทำให้ไส้เดือนอยู่อาศัยได้เพราะไม่มียา และน้ำไม่ท่วมแปลง
กำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยเชื้อรา บิวเวอร์เรีย
กำจัดโรคพืชด้วย เชื้อราไตรโคเดอมาร์
 


วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Organic way : เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma) และ บิวเวอร์เรีย (beauveria bassiana)

ไตรโคเดอม่าเน้นใช้กับเชื้อราโรคพืช(เป็นรากินรา) 

แต่เชื้อบิวเวอเรียเป็นเชื้อราที่เป็นเชื้อรากินแมลง 


ถ้าจะให้ให้ถูกต้องได้ประสิทธิภาพก็ต้องใช้คนละเวลาหรือคนละทีกันนะครับ

เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.) เป็นเชื้อราชั้นสูงที่เจริญได้ดีในดิน เศษซากพืช ซากของสิ่งมีชีวิตต่างๆ และวัสดุอินทรีย์ตามธรรมชาติ จัดเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่สามารถใช้ควบคุมโรคพืช ซึ่งเกิดจากเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตอนที่1
   
 ตอนที่2
   
 เพิ่มเติม http://jrninedog.wordpress.com/2012/11/08/วิธีการเลี้ยงเชื้อราไต/

การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียในนาข้าว 
คุณลุงกมล   แก้วเกิด เกษตรกรแห่งบ้านคลองสาม ต.สระแจง อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี เป็นอีกหนึ่งท่านที่ให้ความใส่ใจในการทำเกษตรแบบลดต้นทุน เป็นผู้นำเกษตรกรรณรงค์ปลูกข้าวไม้เผาฟาง ทั้งยังเป็นศูนย์ขยายพันธุ์ข้าวอีกด้วย ในช่วงที่มีการระบาดของแมลงศัตรูข้าว คุณกมลจึงได้นำ เชื้อราบิวเวอร์เรียมาใช้  ทำให้ลดการระบาดลงได้มาก อีกทั้งยังประหยัดต้นทุนอีกด้วย แต่คุณกมล จะไม่ใช้วิธีการฉีดพ่น เพราะจะทำให้เกษตรกรเสียเวลา โดยจะนำไปใส่ในกระบอกไม้ไผ่แทน วิธีนี้จะช่วยประหยัดเวลาไปได้มากและเชื้อราก็กระจายได้ดีไม่แพ้กัน

เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถนำมาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น แมลงศัตรูพืชเป้าหมายในข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ บั่ว หนอนห่อใบ ในมะม่วงได้แก่ เพลี้ยจักจั่นที่ทำลายช่อมะม่วง แมลงค่อมทอง ในพืชตระกูลส้มได้แก่ เพลี้ยอ่อนส้ม เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ ไรแดง ในพืชผักได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรขาว แมลงหวี่ขาว หนอนผีเสื้อต่างๆ ในอ้อยได้แก่ แมลงค่อมทอง เป็นต้น

การผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย 
1. เตรียมวัสดุเลี้ยงเชื้อ 
            เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถเจริญเติบโตได้ดีบนเมล็ดธัญพืชทุกชนิด แต่เมล็ดธัญพืชที่ เหมาะสมที่สุดคือ เมล็ดข้าวโพด เพราะมีขนาดใหญ่ ทำให้มีช่องว่างมาก เมล็ดข้าวโพดที่จะนำมาใช้ต้องไม่เป็นเมล็ดที่คลุกสารเคมี หรือสารกำจัดเชื้อรา การเตรียมเมล็ดข้าวโพดสำหรับเลี้ยงเชื้อราบิวเวอร์เรียทำได้โดย นำเมล็ดข้าวโพดมาล้างให้สะอาด แล้ว 
- ทำให้เมล็ดอุ้มน้ำด้วยการแช่เมล็ดไว้ 1 คืน (หรือใช้วิธีต้มประมาณ 30 นาที) 
- นำมาพึ่งให้หมาดน้ำ (ให้ผิวแห้ง) 
- นำมากรอกใส่ถุง (ถุงเพาะเห็ด : ถุงทนความร้อนชนิดขยายข้าง ขนาด 6 x 12 นิ้ว) ถุงละประมาณ 4 – 5 ขีด (หรือสูงประมาณ 4 นิ้ว ) สวมปากถุงด้วยคอขวด ลึกประมาณ 3 นิ้ว แล้วพับปากถุงลง อุดด้วยสำลี หรือขี้ฝ้าย แล้วหุ้มปากถุงด้วยกระดาษ รัดด้วยยางวง 

2. นึ่งฆ่าเชื้อ 

            เมื่อเตรียมถุงเมล็ดข้าวโพดเสร็จแล้วให้นำไปนึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในถุง 
• ถ้าใช้หม้อนึ่งความดัน ใช้ความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 องศา เซลเซียส ใช้เวลานึ่ง 30 นาที 
• กรณีใช้หม้อนึ่งลูกทุ่ง (ทำจากถังแกลอน) ใช้เวลานึ่งอย่างน้อย 3 ชั่วโมง นับ จากน้ำเดือด หลังจากนึ่งเสร็จแล้วนำมาวางทิ้งไว้รอให้เย็น แล้วแกะกระดาษที่หุ้มปากถุงออก 

3. การเขี่ยเชื้อ 

            อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเขี่ย เชื้อราบิวเวอร์เรีย ประกอยด้วย ตู้เขี่ยเชื้อ ตะเกียง แอลกอฮอล์ (และแอลกอฮอล์ 95 % สำหรับเติมตะเกียง)
เข็มเขี่ยเชื้อ และแอลกอฮอล์ 70 % สำหรับฆ่าเชื้อ 
    - เตรียมอุปกรณ์ ด้วยการทำความสะอาดตู้ แล้วเช็ดฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70 % (นำแอลกอฮอล์ใส่ฟ๊อกกี้ ฉีดภายในตู้ให้ทั่วแล้วเช็ดด้วยสำลี) 
    - นำอุปกรณ์ใส่เข้าไปในตู้ ได้แก่ ตะเกียงแอลกอฮอล์ แก้วน้ำที่แช่เข็มเขี่ยเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70 % หัวเชื้อ โดยเช็ดผิวด้วยแอลกอฮอล์ 70 % ก่อนนำเข้าตู้ 
    - นำถุงเมล็ดข้าวโพดที่นึ่งแล้วใส่เข้าไปในตู้ ด้านซ้ายมือ แล้วปิดตู้ 
    - เริ่มทำการเขี่ยเชื้อโดยสอดมือเข้าไปภายในตู้ (ก่อนสอดมือเข้าไปต้องเช็ดมือและแขนด้วยแอลกอฮอล์ 70 % ทุกครั้ง) จุดตะเกียง ใช้มือขวาจับเข็มเขี่ยด้วย
      สามนิ้ว (โป้ง ชี้ กลาง) นำมาลนไฟที่ปลายให้แดง แล้วลนมาทางด้ามจับ 2 – 3 ครั้ง 
    - ใช้มือซ้ายจับขวดหัวเชื้อ แล้วเปิดจุกสำลีโดยใช้นิ้วก้อยของมือขวา ลนไฟที่ปากขวด 2 – 3 ครั้ง 
    - สอดเข็มเขี่ยเชื้อเข้าไปตัดวุ้นในขวด ชิ้นละประมาณ ? ตารางเซนติเมตร แล้วจิ้มออกมาจากขวด 
    - ลนปากขวดอีก 2 – 3 ครั้งก่อนปิดสำลีเข้าที่เดิม 
    - มือซ้ายวางขวดหัวเชื้อแล้วหยิบถุงเมล็ดข้าวโพกมาเปิดจุกสำลีด้วยนิ้วก้อยของมือขวา ลนปากถุงเล็กน้อย แล้วใส่หัวเชื้อที่ติดปลายเข็มเข้าไปในถุง 
    - ลนปากถุงเล็กน้อยก่อนปิดปากถุง แล้วเขย่าถุงเบาๆ นำถุงที่ใส่เชื้อแล้วมาวางด้านขวามือ 

4. การบ่มเชื้อ 

        นำถุงเมล็ดข้าวโพดที่ใส่เชื้อแล้ว ไปวางไว้ในสภาพอากาศปกติ อากาศถ่ายเทได้ มีแสงสว่างปกติ แต่ไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง เชื้อจะเจริญเติบโตจนเต็มเมล็ดข้าวโพด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ เมื่อเชื้อเดินเต็มแล้วก็นำไปใช้ได้ 
การเก็บรักษาเมื่อเชื้อเดินเต็มแล้ว ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น จะทำให้เก็บไว้ได้นานขึ้น 

การทำกระบอกไม้ไผ่สำหรับใส่เชื้อราบิวเวอร์เรีย 

1.นำกระบอกไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ให้มีความยาว 30 เซนติเมตร สามารถมองทะลุถึงกันได้
2.เจาะรูตรงกลางกระบอกไม้ไผ่จำนวน 1 รู รัศมี 1 เซนติเมตร
3.นำไม้ไผ่ขนาดพอดี ความยาว 1 เมตร มาเสียบตรงกลางกระบอกที่เจาะรูไว้
4.นำกระบอกไม้ไผ่ที่เสียบฐานเรียบร้อยแล้วไปปักในนาข้าว 1 ไร่ใช้ 4 กระบอก
5.นำเชื้อราบิวเวอร์เรียที่เชื้อเดินเต็มแล้วไปใส่ในกระบอก อัตรา เชื้อราบิวเวอร์เรีย 1 ถุง ต่อ กระบอกไม้ไผ่ 1 กระบอกและหันปากกระบอกไปทางช่องลมที่พัดผ่านจะทำให้เชื้อรากระจายได้เร็วขึ้น


ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร * 1677 
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.ชัยนาท

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Grafting Tomato and Pepper

Grafting 

Scion on Rootstock

  • Tomato on Tomato
  • Pepper on Pepper
  • Pepper on Tomato
  • Tomato on potato

HOW!!!!!!



Grafting Tomato
Silicone Graft ClipGrafting is combining the tissues of one plant with another so the two join together. Typically, one plant is selected for its roots (called a rootstock) due to soil-pathogen resistance, temperature tolerance, and high fruit-yield, while the other plant is selected for its stems, flowers, or fruits (called a scion), selected for its desired genes, i.e. pretty flowers, or a particular fruit.


In order to the successful, the tissues of both stock and scion plants must remain in continuous contact, and stay alive until the tissues fuse (usually a period of weeks). These joints formed by grafting are generally not as strong as those naturally formed because only newly formed tissues fuse with each other. 
Grafting has a number of advantages, such as: (1) inducing fruitfulness; (2) dwarfing plants; (3) increasing hardiness; (4) promoting repair; and even (5) creating natural furniture--read onto tree shaping below.

Same Species Grafts
Tomato grafting is perhaps the most utilized in the world throughout farms and greenhouses. Rootstock is selected for its ability to resist soilborne pathogens, tolerance to temperature shifts, drought, salinity, and ability to increase fruit yield. Different scions on placed on top of the selected rootstock to produce that particular type of fruit.
Inter Species Grafts
Inter-species grafts are more rare, creating a single organism based off two distinct genetic tissue. These chimera plants function similar as same-species grafts, where the resistant rootstock benefits the scion plant. For instance, Pepper scions have been successfully grafted onto tomato rootstocks, in an article that appeared in the Journal of Young Investigators.
Peppers on Tomatoes GraftPeppers on Tomatoes Graft, Pepper-matoes? Image from JYI.
Certain chimera grafts have resulted in more. For instance, a tomato scion has been successfully grafted onto potato plants, allowing farmers to cultivate both at the same time, tomatoes above ground, and potatoes below. Can you say Pomato?
Pomato (Tomato + Potato Graft)Tomato & Potato Graft, image courtesy of MyVietnamNews