วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เห็ดไมคอร์ไรซา (เห็ดตับเต่า,เห็ดเผาะ และเห็ดทรัฟเฟิล)

เห็ดตับเต่า  (คัดลอกจาก  http://anonbiotec.gratis-foros.com/t1382-topic )




เห็ดตับเต่า เป็นเห็ดที่อาศัยอยู่บริเวณปลายรากของต้นไม้หลายชนิด โดยการอยู่ร่วมกันแบบอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน ซึ่งเห็ดตับเต่าเอง มีมากมายหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์ชอบอากาศหนาวเย็น บางสายพันธุ์ชอบอากาศร้อนชื้น แต่ละสายพันธุ์ สามารถอาศัยอยู่กับต้นไม้ที่แตกต่างกันไป เช่น เห็ดตับเต่าเหลือง หรือตับเต่าทอง(Boletus edulis) ที่ชอบขึ้นบนที่สูง อาศัยพืชตระกูลไม้ก่อ ไม้โอ๊คและไม้สน แต่เห็ดตับเต่าที่เกิดที่บ้านเรา เป็นคนละสายพันธุ์ คือ Thaeogyroporus porentosus (berk. ET. Broome ) ซึ่งบางแห่งเรียก เห็ดผึ้ง เห็ดห้า เห็ดผึ้งยูคา เป็นเห็ดที่อาศัยอยู่กับปลายรากพืชได้หลายชนิด เช่น มะกอกน้ำ ทองหลาง แค ลำใย มะม่วง ยี่โถ กระถินณรงค์ ขนุน ส้มโิอ เป็นต้น โดยรากของพืชส่วนใหญ่ ไม่สามารถย่อยเอาสารอาหารบางชนิด เช่น ธาตุฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในดินหรือในปุ๋ยเอาไปใช้ได้โดยตรง มันจำเป็นต้องอาศัยเชื้อเห้ดตับเต่าหรือเชื้อจุลินทรีย์ ทำการย่อยอาหารต่างๆเหล่าให้อยู่ในรูปที่รากพืชสามารถดูดเอาไปใช้ได้เสียก่อน ขณะเดียวกัน เชื้อเห็ดตับเต่า ก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ หากไม่มีอาหารบางชนิด โดยเฉพาะพลังงาน ซึ่งตัวเห็ดเองไม่สามารถที่จะสร้างหรือสังเคราะห์ขึ้นเองได้ มันจำเป็นต้องอาศัยแหล่งพลังงานจากพืชนั่นเอง มันจึงอยู่อาศัยร่วมกันแบ่งพึ่งพา โดยปกติ ในดินจะมีเชื้อจุลินทรีย์หรือเชื้อเห็ดอยู่แล้ว เมื่อรากพืชเจริญออกมาจากเมล็ดแล้ว พอมันใช้อาหารจากเมล็ดที่สะสมอาหารไว้ให้มันใช้ในช่วงที่เป็นต้นกล้า พออาหารจากเนื้อเมล็ดหมด รากของพืชก็จะต้องหาอาหารเอง ซึ่งรากพืชจะเปิดรับเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติที่มีประโยชน์ ให้เข้าไปอาศัยอยู่บริเวณปลายรากฝอยของมัน ต้นที่มีเชื้อจุลินทรีย์หรือเชื้อเห็ดเข้าไปอาศัยอยู่แล้ว การเจริญเติบโตจะเห็นได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ ต้นไม้ที่มีรากที่มีเชื้อจุลินทรีย์หรือเชื้อเห็ดที่มีประโยชน์เข้าไปอาศัยอยู่ที่ปลายราก การเจริญเติบโตของต้นกล้าจะแข็งแรง และรวดเร็วกว่า ต้นกล้าที่รากยังไม่มีเชื้อดังกล่าวเข้าไปอาศัย ด้วยหลักการนี้เอง เราจึงนิยม เอาเชื้อเห็ดใส่เข้าไปในต้นกล้าอ่อนมากกว่า เพราะเชื้อเห็ดจะเข้าไปได้ง่าย และประหยัดเชื้อเห็ดอีกด้วย จากนั้น ให้สังเกตดูว่า มีต้นไหนที่เจริญเด่น และรวดเร็วกว่าปกติ ส่วนใหญ่จะเป็นต้นที่มีเห็ดเจริญเข้าไปในระบบรากแล้ว จึงทำการย้ายต้นกล้านั้นไปปลูกลงแปลงถาวรต่อไป สา่วนการที่จะมีดอกเห็ดตับเต่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่นั้น อยู่ที่จำนวนเชื้อ หรือความหนาแน่นของเส้นใยเห็ด หากมีจำนวนเชื้อมาก และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มันอาจจะออกดอกมาให้เห็นภายในไม่กี่เดือน เช่น 5-6 เดือน ต้นไม้บางชนิด อาจะใช้เวลาแค่ 2-3 เดือน เช่น ต้นยี่โถ ต้นโสน เป็นต้น ต้นไม้บางชนิด อาจใช้เวลาเป็นปีหรือมากกว่า 1 ปี เช่น ส้มโอ มะกอกน้ำ จริงๆแล้ว การกำหนดเวลาการออกดอกเห็ดตับเต่าชุดแรกนั้น อาจจะมีความแตกต่างกันค่อนข้างสูง คาดคะเนยาก แต่ที่น่าสนใจมากๆก็ตรงที่ อาจจะต้องรอคอยสักระยะหนึ่ง แต่พอมีเห็ดเกิดขึ้นแล้ว ทีนี้แหละ เราก็จะมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้นตรงบริเวณรากของพืชชนิดนั้นตลอดไป จนกว่าต้นไม้นั้นๆจะตายไป ต้นไม้บางชนิด อาจจะมีชีวิตอยู่ได้นานนับสิบๆปี อย่างไรก็ตาม จากผลการทดลองของ ดร.อานนท์ พบว่า ในการเพาะเห็ดตับเต่านั้น สามารถทำได้เช่นเดียวกับเห็ดอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยรากต้นไม้สดๆก็ได้ เพียงแต่เอาเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ เข้าไปเพาะเลี้ยงในวัสดุหมัก ที่หมักกับขี้โคลนที่มีอินทรีย์วัตถุสูง เอาโคลนติดมาด้วย ใส่เชื้อเห้ดเข้าไป แล้วนำไปเพาะเลี้ยงเส้นใยที่อุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส ใช้ผ้าพลาสติกคลุมกองหรือตะกร้าเอาไว้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ แล้วนำมาเปิดดอก ให้อากศแล้วรดน้ำ ก็จะมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้นได้ ซึ่ง ดร.อานนท์ มีเป้าหมายที่จะทำการเพาะเห็ดตับเต่าทั้ง 2 วิธี ณ ที่ตั้งของอุทยานเห็ดนานชาติในเร็วๆนี้
ที่ถามว่า วันที่ 15 มีนาคมนั้น เปิดโอกาสให้เฉพาะสมาชิกผู้ผ่านการอบรมเห็ดจากอานนท์ไบโอเทคเท่านั้นเหรอ คำตอบว่าใช่ เพราะเป็นการสมนาคุณต่อสมาชิก ที่อุตส่าห์เสียเงินเสียทอง และสนับสนุนกิจกรรมของอานนท์ไบโอเทคมาด้วยดีตลอด งานคราวนี้ที่จัดขึ้น จะจัดเป็นงานปาร์ตี้อาหารเห็ด โดยจะนำเอาเห็ดมากมายหลายชนิด ทั้งที่เป็นเห็ดที่เพาะในบ้านเรา และเห็ดที่เพาะในต่างประเทศ รวมทั้งเห็ดธรรมชาติที่ใช้เป็นยา หรือเป็นอาหารของชนชั้นสูงหรือเศรษฐีมีเงินในต่างประเทศ เช่น เห็ดทรัฟเฟิล เห็ดมัสสุตาเกะ เห็ดเทียนหม่า ซึ่งเป็นเห็ดที่หายาก ราคาแพงมาก หาทานได้ยากมาก โดยงานคราวนี้ ดร.อานนท์ ได้สั่งเห็ดต่างๆพวกนี้ เข้ามาทำเป็นอาหารเลี้ยงแก่สมาชิก พรรคพวก เพื่อนฝูง ครูบาอาจารย์ ตลอดจนผู้มีอุปการคุณ เช่น ลูกค้าประจำ แม้ว่าจะไม่ได้ผ่านการอบรมไป แต่ใช้ผลิตภัณฑ์ของเราเป็นประจำ ในกรณีของคุณรัชญา ถือว่า เป็นคนที่มีความสนใจเรื่องเห็ดเป็นกรณีพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เห็ดตับเต่า และได้ลงมือทำอยู่แล้ว ซึ่งตรงกับความตั้งใจของ ดร.อานนท์ ที่จะเน้นเรื่องเพาะเห็ดตับเต่าและเห็ดกับต้นไม้อยู่แล้ว หากคุณสนใจที่จะเข้าร่วมในงานดังกล่าว สามารถแจ้งความจำนงไปยัง029083308 และ 0860830202 โดยทางเราขอมอบสิทธิพิเศษให้แก่คุณ แม้ว่า ยังไม่ได้ผ่านการอบรมเห็ดจากทางอานนท์ไบโอเทค และวันที่ 16 มีนาคม จะมีการจัดแรลลี่เห้ดไปยังสถานที่ตั้งใหม่ของอุทยานเห็ดนานาชาติอานนท์เวิลด์ เพื่อไปร่วมกันปลูกต้นไม้ พร้อมทั้งในวันนั้น จะสาธิตการเพาะเห็ดตับเต่าไปด้วย โดยต่างคนต่างไป ทางสถาบันไม่ได้จัดเตรียมพาหนะเดินทางให้ ผู้ที่สนใจ จะต้องไปกันเอง โดยรถจะออกจากทางสถาบันไปพร้อมกันในเวลาประมาณ 8.30 น.ใครที่ไม่มีรถ อาจจะขออาศัยไปกับคนที่มีรถ แล้วช่วยกันออกค่าใช้จ่ายกันตามสมควร จะไปถึงที่ตั้งอุทยานเวลาประมาณ 11.00 น. แล้วก็จะดำเนินการปลูกต้นไม้ร่วมกันในสถานที่ที่จัดไว้ให้




สำหรับการเพาะเห็ดตับเต่าแบบเห็ดฟางนั้น ที่อินเดียเขาเพาะกันได้แล้ว และที่ไทย ก็ดูเหมือนทาง วว.เขาก็เพาะกันได้ โดยไม่ต้องไปอาศัยต้นไม้ เพียงแต่ เอาเศษวัตถุดิบจากต้นไม้ เช่น ใบไม้ ฟาง นำไปหมักกับขี้โคลนไว้สักระยะหนึ่ง เช่น ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แล้ว เอาใส่ตะกร้าหรือกระบะ ใส่เชื้อเห็ดตับเต่าเข้าไปเช่นเดียวกับเห็ดฟาง นำไปบ่มในห้องที่มีอุณหภูมิ 30-32 องศาเซลเซียสประมาณ 3-4 สัปดาห์ เส้นใยเห็ดตับเต่าก็จะกินอาหารกระจายไปทั่ว ให้ดีเอาดินร่วนคลุมอีกครั้งหนาประมาณ 1-2 ซม. แล้วทำการรดน้ำ ให้อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่กี่วัน ก็จะมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้น
ส่วนที่คุณบอกว่า เชื้อเห็ดตับเต่าที่เพาะในวุ้นและข้าวฟ่างเจริญเติบโตช้านั้น มักจะพบในบางสายพันธุ์ แต่บางสายพันธุ์ก็เดินเร็วมาก เช่น ของสถาบันอานนท์ไบโอเทค ใช้เวลาเจริญทั่วขวดประมาณ 3-4 สัปดาห์เท่านั้น ดังนั้น จะต้อวงทำการคัดเลือกเอาสายพันธุ์ที่โตเร็ว ออกดอกและให้ผลผลิตสูง คุณสามารถหาได้จากสถานที่ใกล้บ้านคุณ ที่สถาบันวิจัยพืชสวน เชียงราย เขาทำขายขวดละ 30 บาท แต่ต้องสั่งเขาก่อนล่วงหน้า และเขาไม่มีบริการอย่างอื่น เช่น ไม่บริการส่งให้ เพราะเป็นหน่วยราชการ หากบริการมากกว่านั้น ความดีความชอบและเงินเดือนก็เท่าเดิม อยู่เฉยๆอาจจะดีกว่า

อยากทราบว่าเราสามารถใส่เชื้อเห็ดตับเต่าให้กับต้นไม้ที่เคยใส่ปุ๋ยเคมีได้ไหมครับ มันจะทำลายเชื้อเห็ดที่เราใส่ไปไหมครับ และพื้นที่ที่เคยพ่นยาฆ่าหญ้ามาแล้ว แต่ไม่ได้พ่นมาแล้ว 1 ปีครึ่ง ยังจะมีสารเคมีตกค้างพอที่จะทำลายเชื้อเห็ดไหมครับ หรือว่าสลายไปหมดแล้ว ขอบคุณครับ
อุตส่าห์ตื่นมาแต่เช้า เพื่อทำการตอบข้อซักถามนี้ ซึ่งต้องการอรัมภบทยืดยาวพอสมควร ทำให้ตอบไปได้ระดับหนึ่ง ก็เบรคเพื่อเตรียมตัวส่งหลานรักไปโรงเรียน แล้วก็มาซักผ้า ถูกบ้าน ทานอาหารเช้า ดูงานให้เรียบร้อย แล้วกะว่า จะกลับมาตอบต่ออีก ปรากฏว่า โปรแกรมมันแฮงค์เอาดื้อๆ มันอาจจะโดนไอ้พวกหน้ากากขาวอาลวาดเข้าอีกแล้วกระมัง ข้อความข้างล่างเป็นคำตอบที่ค้างเอาไว้ แล้วก็ทำการ cut screen เอามาให้ดู เพื่อไม่ต้องเสียเวลาย้อนไปอีก ขอให้ทำความเข้าใจไปถึงตอนนี้แล้วเดี๋ยวจะว่าต่อ หลังจากที่อาบน้ำแต่งตัวและใส่เสื้อผ้าแล้ว 

เอาเป็นว่า ก่อนที่จะบรรเลงต่อ อตบเรื่องของคุณให้ตรงประเด็นก่อนว่า คำถามที่ว่า สามารถใส่เชื้อเห็ดตับเต่าเข้าไปในต้นไม้ที่ใช้ปุ๋ยเคมีได้หรือไม่นั้น ตอบว่า ได้ แล้วถามต่อว่า แล้วต้นที่เคยใช้ยาฆ่าหญ้าไปแล้วปีกว่านั้น เป็นอันตรายต่อเห้ดไหม ไม่เป็นไรหรอก ก็ยังใช้ได้ ตัวที่ต้องระวังที่สุด คือ ยาฆ่าเชื้อราสิ ตัวนี้ มีผลกับเห็ดโดยตรง

เอาล่ะ จากนี้ไปก็โม้ต่อ หากว่า มันแฮงส์อีกที ก็ถือว่า ตอบถึงไหนก็เอาแค่นั่นแหละ เพราะจะได้ไปทำงานหาเลี้ยงชีพต่อ 
ต่อจากที่ตอบไว้ว่า เชื้อเห้ดที่อาศัยอยู่ในรากไม้ หากมีมากพอ แก่พอ หากสภาพแวดล้อม ดินฟ้าอากาศเหมาะสม ก็จะมีเห็ดเกิดขึ้น แล้วก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งต้นไม้โตมากขึ้น ทรงพุ่มโตขึ้น ระบบรากแข็งแรง ก็จะมีเห็ดเกิดขึ้นทุกปีบริเวณเดิมนั่นเอง จนกระทั่งต้นไม้ตายไป ทีนี้เอามาเจาะลึก เพื่อขยายความว่า ทำไมตอบว่า ใช้ปุ๋ยเคมีก็ได้นั้น ก็เพราะว่า ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือเชื้อเห็ด หากจะให้มันเจริญได้อย่างสมบูรณ์ มันก็จะต้องมีอาหารสมบูรณ์ด้วย ทั้งตัวต้นไม้และเชื้อเห็ด ต่างฝ่ายต่างไม่สามารถที่จะเนรมิตอาหารขึ้นมาเองได้ แม้ว่าต้นไม้ จะสามารถใช้น้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สังเคราะห์อาหารประเภทน้ำตาลได้จากอากาศและน้ำก็ตาม แต่ต้นไม้ทุกชนิด รวมทั้งเห็ดด้วยต้องการอาหารมากกว่า 16 ชนิด ชนิดที่พืชสร้างได้ มันได้เพียงพลังงานเท่านั้น แล้วธาตุอาหารอย่างอื่นล้วนแล้วจะต้องมาจากดิน แล้วทีนี้ดินที่เราปลูกพืชไปนานๆ อาหารที่มีประโยชน์ต่อทั้งพืชทั้งเห็ดบางตัวก็อาจจะหร่อยหรอลดน้อยถอยลง ส่วนนี้เอง ที่ธาตุอาหารที่ขาด จะเป็นปัจจัยในการควบคุมผลผลิต ตรงกับหลัก Law of minimum ของกฏ Liebig นั่นเอง ดังนั้น การปลูกพืชแล้วใส่ปุ๋ย ไม่มีผลเสียอะไรกับเห็ด ยกเว้นปุ๋ยนั้น อยู่ในรูปหรือสภาพที่เป็นพิษต่อเห็ด ส่วนใหญ่มีน้อยมาก แต่อย่าลืมว่า ธาตุอาหารบางอย่างที่พืชต้องการ มักจะอยู่ในรูปที่พืชเอาไปใช้ไม่ได้ ยกตัวอย่าง เช่น ธาตุฟอสฟอรัส หากอยู่ในรูปเกลือฟอสเฟต มันจะจับกันแน่นมาก เช่น กระดูกหรือหินฟอสเฟต พืชจะเอาไปใช้ได้เลย เว้นเสียแต่ว่า มันถูกย่อยด้วยกรดรุนแรงหรือเอ็นไซม์จากเห้ดให้อยู่ในรูปที่พืชเอาไปใช้ได้เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น กระดูก หรือหินฟอสเฟต แม้ว่าจะมีจำนวนฟอสฟอรัสสูง เช่น ปริมาณฟอสเฟตสูง 18-30% แต่ปริมาณที่พืชเอาไปแใช้ได้แค่ 3 ๔ ทางกฏหมายเขาจึงบังคับให้ระบุว่า หินฟอสเฟต มีปริมาณกรดฟอสฟอริก หรือฟอสฟอรัสที่พืชเอาไปใช้ได้แค่ 3 % ดังนั้น สูตรของหินฟอสเฟตจึงเป็น 0-3-0 แต่ทำไมล่ะ เราจึงแนะนำให้ใช้หินฟอสเฟตใส่เข้าไปในการปลูกพืชใหม่ๆ โดยใส่วางก้นหลุม หรือในการเพาะเห็ดให้ได้ผลผลิตสูง ดอกเห็ดทนทานไม่เน่าเละหรือช้ำง่ายนั้น มักจะถูกแนะนำให้ใช้หินฟอสเฟตใส่เข้าไป แม้ว่า ปริมาณฟอสฟอรัสที่พืชเอาไปใช้ได้น้อยนั้น มันเป็นคนละกรณีกัน ทั้งนี้เนื่องจาก กฏหมายเขาให้ระบุที่ 3% นั้น ถือเอาเรื่องพืชเป็นเกณฑ์ แต่สำหรับเห็ดแล้ว มันมีความสามารถในการย่อยสลายเกลือฟอสเฟตจากกระดูกหรือจากหินฟอสเฟตได้เอ็นไซม์ของมัน ด้วยเหตุนี้ หากรากพืชมีเชื้อเห็ดพวกนี้อยู่ เส้นใยของเห็ด มันสามารถไปย่อยเกลือฟอสเฟตที่จับกันแน่น ให้ออกมาอยู่ในรูปที่พืชเอาไปใช้ได้ ดังนั้น การที่เราใส่ปุ๋ยเคมีเข้าไปในต้นไม้นั้น และที่รากของต้นไม้นั้นมีเชื้อเห็ดอยู่ จะทำให้ต้นไม้นั้นเจริญเติบโต ออกดอกออกผลดีขึ้น ที่สำคัญก็จะได้เห็ดมากยิ่งขึ้นด้วย สำหรับยาฆ่าหญ้านั้น หากใช้ประเภทดูดซึม อาจจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดที่อาศัยที่รากต้นไม้นั้นได้ และอาจจะส่งผลถึงผลผลิตเห็ดในฤดูกาลนั้นๆ แต่พอฤทธิ์ของยาฆ่ายาลดลงหรือหมดไป เชื้อเห็ดก็จะปรับตัวและเพิ่มจำนวนขึ้ตามการเจริญเติบโตหรือเพิ่มจำนวนของรากพืช แล้วจะทำให้ผลผลิตของเห็ดต่อๆไปค่อยๆดีขึ้น ดังนั้น ช่วยกันเถอะ ช่วยกันรณรงค์ปลูกต้นไม้ โดยอย่าลืมเอาเชื้อเห็ดใส่เข้าไปด้วย โดยการใส่เชื้อเห็ดนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เชื้อบริสุทธิ์ ใช้เชื้อจากสปอร์ กล่าวคือ ใช้ดอกเห็ดที่แก่เต็มที่ เอามาขยำกับน้ำแล้วราดบริเวณรากของต้นไม้ กรรมวิธีที่ดีที่สุดที่จะรู้ว่า ต้นไม้อะไร ใช้ได้ดับเห็ดอะไร ให้สังเกตจากธรรมชาติดู เช่น เห็ดถอบหรือเห็ดเพาะ มักจะเกิดใต้ต้นยางนา ต้นเต็ง หรือต้นจิกหรือต้นเค็ง ในฤดูที่มีเห็ดเกิดขึ้น เมื่อเจอดอกเห็ดในบริเวณโคนต้น ควรจะปล่อยให้บางดอกโตเต็มที่จนสร้างสปอร์ แล้วเอามาขยำกับน้ำแล้วไปราดใส่โคนต้นไม้ต้นที่ไม่มีเห็ดเกิดขึ้น ทำการราดหลายๆครั้ง จนกระทั่งเห็นเห็ดเกิดขึ้นแล้ว ต่อไปก็ไม่จำเป็นจะต้องราดสปอร์อีกต่อไป เช่นเดียวกับเห็ดตับเต่า ที่เกิดตามใต้ต้นแค ต้นขนุน ส้มโอ ทองหลาง หากเจอ ควรปล่อยให้แก่ แล้วก็เอามาทำน้ำสปอร์แล้วเอาไปราดต้นที่ยังไม่มีเห็ด ยิ่งเป็นต้นกล้าได้จะดีมาก หากทำเช่นนี้ได้ แล้วหลายคน หลายหมู่บ้าน หลายชุมชนช่วยกันทำ วิธีนี้เท่านั้น ที่จะทำให้ประเทศไทยเรามีป่าอุดมสมบูรณ์ ที่สำคัญจะมีเห็ดที่เป็นทั้งอาหารและยาที่มีราคาแพงตลอดไป อยากวิงวอนให้คนทุกภาค โดยเฉพาะภาคเหนือ ให้ช่วยกันเพาะเห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ เห้ดห้าหรือเห้ดตับเต่า ทางอิสานก็เช่นกัน ส่วงนทางภาคใต้ที่นิยมทานเห็ดเสม็ดนั้น ก็ควรทำแบบเดียวกัน โดยเห้ดเสม็ดนั้น ไม่ได้ขึ้นเฉพาะต้นเสม็ดเท่านั้น แม้กระทั่งต้นยูคาก็ขึ้นได้ ดังนั้น หากเจอเห็ดเสม็ดแก่ๆ ก็ควรเอาไปรดหรือราดในป่ายูคา ก็จะได้เห็ดเสม็ดเกิดขึ้นได้ ต้นยูคาก็จะโตไวด้วย ทั้งหมดนี้เป็นเกร็ดเล็กๆน้อยๆที่ผมพอมี และมีความสนุกที่อยากจะตอบในเรื่อง เห็ดกับพืชมากๆ
และก็มีอีกเรื่องที่อยากตอบมากที่สุด และโดนฝรั่งที่เป็นเพื่อนสนิท ที่เป็นผู้เพาะเห็ดรายใหญ่ของยุโรปรายหนึ่ง ได้ตำหนิว่า ในฐานะที่สถาบันอานนท์ไบโอเทค เป็นผู้นำเรื่องเห็ดมากว่า 40 ปี ตั้งแต่เมืองไทย ยังไม่ประสีประสาเรื่องการเพาะเห็ดเลย จนกระทั่งบัดนี้ การเพาะเห้ดของประเทศไทยก้าวหน้าไม่แพ้ใครในโลก แต่ทำไม ประเทศไทย จึงไม่มีใครสนใจ หรือมีเห็ดที่คนทั้งโลกเขาเพาะกัน คือ เห็ดกระดุม หรือเห็ดฝรั่ง หรือเห็ดแชมปิญอง ที่ทั่วโลกเขาทำกันเป็นร่ำเป็นสัน แล้วเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาสูงสุดแล้วในบรรดาเห็ดที่เพาะกันได้ในโลก เขาตำหนิว่า ทำไม ดร.อานนท์ สามารถสนับสนุนให้คนไทยเพาะเห็ดอะไรต่ออะไรที่ยากๆได้อย่างน่าทึ่งและเหลือเชื่อมาก แล้ว ดร.อานนท์คนนี้เอง ที่ทางองค์การสหประชาชาติ ได้จ้างไปเป็นผู้เชี่ยวชาญเห็ดในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไปสอนให้เขาเพาะเห้ดกระดุมกัน แต่ทำไม บ้านเกิดของตัวเองถึงไม่ส่งเสริม ทำไมต้องซื้อมาจากต่างประเทศล่ะ นี่ไง โดนเข้าแล้วไง แล้ว ทำไมไม่มีคนถามเรื่องนี้เลย รอคำถามที่จะตอบอยู่ครับ


ตอนนี้ผมทำไปแล้วประมาณ 70 ต้น จากเมล็ดแคของอาจารย์ตอนที่ไปแรลี่เห็ดที่ลพบุรี เดือนมีนาที่ผ่านมาครับ ปลูกไปแล้วที่สวนของเพื่อน ผมกำลังทำเพิ่มเติม โดยหาเมล็ดแคมาปลูกใหม่กับตับเต่าที่ไปซื้อที่ตลาดไท จะไปลงที่วังน้ำเขียวกะว่าจะทำไร่ต้นแค เพื่อเอาไม้มาเพาะเห็ดโดยเฉพาะเห็ดหูหนูครับ แต่มีปัญหาว่า อาจารย์ยังไม่เคยพูดถึงการจัดการ เกี่ยวกับปลูกป่าเลยครับ ผมยังคิดไม่ออกว่า เมื่อผมตัดไม้แคที่มีอายุ 3 ปี มาเพาะเห็ดแล้วควรจะทำอย่างไร
1. ตัดต้นแค ตัดชิดโคนต้นหรือตัดให้สูงขี้นมา เพื่อ
2. ให้ต้นแค แตกลำขึ้นมาใหม่ดี หรือ ขุดตอทิ้งปลูกใหม่
3. ผมพยายามหาข้อมูลมูลค่าซื้อขายไม้สำหรับเพาะเห็ด ยังไม่มีเลยครับ

ก็เป็นโครงการที่เปลี่ยนชีวิตจากข้าราชการไปเป็นเกษตรกรใน4-5 ปีข้างหน้านี้อะครับ จึงค่อยเป็นค่อยไปครับไม่มีทุนไปทุ่มอะครับาหมายสุดท้ายของผลการทดลอง ผลการวิจัย ก็ย่อมที่จะนำเอาออกมาคุย ออกมาเผยแพร่ให้สมาชิกของอานนท์ไบโอเทคให้ทราบเป็นระยะๆอยู่ดี มีหลายต่อหลายคน พอไปเห็นอะไรต่ออะไรที่ทางอานนท์ปลูกไว้ บางทีไม่ได้ไถ่ไม่ได้ถาม พอเห็นมีผล มีเมล็ด ก็ทั้งดึง ทั้งทึ้งเอาไปเพื่อทำการขยายพันธุ์ต่อ เผื่อจะได้ให้เหมือนอาจารย์ ต้องบอกก่อนว่า อาจารย์ไม่ใช่เทวดา รู้ไปทุกเรื่อง เก่งไปทุกเรื่อง เอาเรื่อง เฉพาะต้นแคสิ ตอนทดลองอยู่ที่ศูนย์ใหญ่ที่ซอยไอยรา 38 ทดลองนำเอาแคพันธุ์ต่างๆมาเพาะในวงคอนกรีตขนาด 90 ซม. พบว่า แคพันธุ์สีแดง โตไวมาก นอกจากนี้ให้ดอกเยอะมากเมื่ออายุแค่ 3 เดือนเท่านั้น ส่วนแคอื่นๆ ไม่น่าสนใจเท่าไหร่ จากข้อมูลที่เราทำในส่วนที่มีการกำหนด คือ เพาะในถัง ข้างล่างเป็นคอนกรีต ผลจึงเป็นเช่นนี้ แต่พอเอาไปขยายผลเป็นเรื่องเป็นราว ปรากฏว่า ผลออกมาเช่นเดิมใน 2-3 เดือนแรก กล่าวคือ แคพันธุ์ดอกแดง โตไย ออกดอกไว แคพันธุ์อื่น โตไว ต้นสูง ออกดอกช้า พอเวลาผ่านไป 1 ปี ปรากฏว่า พันธุ์ดอกแดง โตช้ามากมัวแต่ออกดอก เช่นเดียวกับแคขาวบางพันธุ์ทำท่าว่าจะโตไว ออกดอกเร็ว พอครบปี ก็ชงักงันเหมือนกัน ซื่งแคพวกนี้ ชาวบ้านนิยมปลูกกันมาก เพื่อจะทำการเก็บดอกขาย ซึ่งแคพันธุ์นี้ มักจะเรียกว่า แคตอแหล(คงไม่เหมือนกับรังสิมาน๊ะ) ผิดกับแคพื้นบ้านบางสายพันธุ์ ออกดอกช้ามาก แต่ต้นโตไว มีพุ่มสวย พันธุ์นี้แหละครับ เหมาะนักสำหรับที่ใช้ทำการปลูก เพื่อใช้ต้นมาเพาะเห็ดหูหนู และการตัดเอาไปใช้ ให้ตัดชิดโคน เพื่อให้มีกิ่งใหม่เกิดขึ้นจะดีกว่า สำคัญว่า ต้นใหม่ที่เกิดขึ้นนั้น มันจะเกิดขึ้นเยอะมาก ต้นรุ่นต่อไปจะมีขนาดเล็ก ตรงนี้ เราต้องทำการสางกิ่ง ให้เหลือกิ่งที่สวยๆไว้สัก 3-4 กิ่ง ก็จะได้ลำต้นรุ่นต่อไปสวยและเร็วกว่าปลูกใหม่ครับ เอาไว้อีกไม่นาน หากทางอานนท์ไบโอเทคสะสมเมล็ดพันธุ์แคพันธุ์โตเร็วได้มากพอ จะแจ้งให้ทราบ มาแบ่งปันเอาไปปลูกกันได้ วันหลัง อยากได้อะไร ขอให้ถามก่อนน๊ะครับ จะได้ไม่เสียเวลา แล้วจะได้ไม่ต้องให้เพื่อนเอาแคตอแหลไปปลูก เดี๋ยวรังสิมาจะตามไปกระชากเก้าอี้อีก


ที่จริงตั้งใจจะโพส์ตมานานแล้วแต่หวันว่าจะโดนเทศนา      ได้ยินอาจารย์บอกหลายครั้งตอนอบรมว่าต้องการอะไรให้บอก ให้ขอ ให้ถามก่อน ตอนเก็บเมล็ดไปพี่ติ๋ม(ไม่รู้จำชื่อผิดหรือเปล่า)ทีอยู่ตลาดไท แก่บอกให้เอาจากต้นนี้ไป แกบอกว่าโตเร็วออกดอกไว้กว่าไม่เกินปีก็นะได้ดอกแล้ว น่าจะเป็นแคตอแหลจริงๆ แหละครับ ไม่เป็นไรครับ อาจารย์เทศนามาก็เป็นเรื่องธรรมดาแสดงถึงความรักที่มีต่อศิษย์ ขณะเดียวกันศิษย์ก็เกเรเป็นปกติ............

1. อาจารย์ครับแสดงว่าการปลูกแคเพื่อเอาไม้ กับเพื่อเอาเห็ดตับเต่าและเก็บดอกขาย ก็ต้องเลือกวัตถุประสงค์ว่าต้องการอะไรมากกว่ากัน การที่โตเร็วก็เป็นประโยชน์กับเห็ดเก็บเห็ดได้เร็วขึ้น(หรือเปล่า) แคออกดอกเร็วก็แปลว่ารายได้จากดอกเก็บได้เร็วกว่า
2. ต้นแคพันธ์ที่โตเร็วแล้วชะงักไปในปีถัดไป(แคตอแหล)เมื่อทำให้ติดเชื้อเห็ดแล้วสามารถแก้ปัญหานี้ได้หรือเปล่าครับ
3. แต่เดิมผมคิดว่าจะปลูกแคในระยะชิด ซัก 50-70 เซ็นต์ต่อต้นต่อแถวเพื่อให้ลำต้นมันยึดสูงขึ้นลดการแตกพุ่มใช้ได้หรือเปล่าครับผมคิดว่ามันน่าจะมีร่มเงามากด้วยน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเห็ด แต่เห็นอาจารย์ว่าพันธ์ที่มีดอกช้าโตไว้พุ่มสวยเหมาะสำหรับปลูกเอาไม้ เหมือนกับต้องมีระยะให้แตกพุ่มต้นเพื่อจะใช้ประโยชน์จากกิ่งด้วยเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
4. อาจารย์ครับถ้าเราไม่ปล่อยให้เป็นไปตามฤดูกาล โดยเราพยามรักษาความชื้นหน้าดิน จากการปลูกระยะชิดก็ดี การห่มดินก็ดี การใช้สปริงเกอร์ช่วย จะทำให้เราเก็บเห็ดได้ตลอดทั้งปีหรือเปล่าครับ
5. ตอนที่ยืนฟังอาจารย์บรรยายที่ลพบุรีข้างต้นแค ผมฟังจบแล้วเขาใจว่าการทำให้ต้นแคติดเชื้อเห็ตตับเต่าจะช่วยทำให้แคโตเร็วกว่าปกติ และถ้าเราสามารถควบคุ้มระบบนเวศใต้ต้นแคได้ก็ช่วยให้เก็บเห็ดได้โดยไม่ต้องรอฤดูกาล พอแคอายุ 3 ปีก็ใช้ไม้ได้ เลยเกิดโครงการนี้ขึ้นมา ก็เลยรีบลงมือปฏิบัติทดลองเลยครับ 


ต้องขอบคุณๆปรีชามาก ที่ได้เอาเห็ดตับเต่าที่เกิดขึ้นใต้ต้นทองหลางมาให้ดู ช่วงนี้ ทั้งเห็ดตับเต่า เห็ดเผาะ เห็ดโคน เห็ดเสม็ด เห็ดระโงก เห็ดมันปู และอีกมากต่อมาก ที่เป็นไมโคไรซ่า ต่างพรั่งพรูกันออกมาเยอะมากๆ และได้มีคำถามเกี่ยวกับการเพาะเห็ดที่เป็นไมโคไรซากับต้นไม้มากขึ้นและถี่ขึ้น น่าจะเป็นสัญญานที่ดี เพราะตั้งแต่ปี 2525 ที่ไปอยู่ฝรั่งเศส ไปเห็นเขาเพาะเห็ดตับเต่ากันอย่างแพร่หลายและจริงจัง ด้วยการปลูกต้นโอ๊ค กว่าจะผลิตกล้าต้นเล็กๆได้ ก็ปาไป 2 ปีแล้ว ได้ต้นกล้าสูงแค่ฟุตเดียวก็ดีใจกันแล้ว(ที่ว่าสูง 1 ฟุต หมายถึงต้นกล้าที่มีเชื้อเห็ดตับเต่าเจริญเข้าไปที่รากแล้ว ส่วนที่ยังไม่มีเชื้อเห็ดเข้าไป ก็แค่ 4-5 นิ้วงันอยู่อย่างนั่นแหละ) จากนั้น เขาก็เอาต้นที่มีลักษณะเด่น ที่มีเชื้อเห็ดเข้าไปอาศัยอยู่ที่ปลายรากแล้ว จะสังเกตเห็นที่ปลายรากหนา คล้ายกับปมในรากถั่ว แต่จะเล็กและแนบแน่นกว่า ที่แน่ๆ ต้นจะโตเร็วกว่าอย่างเห็นได้ชัด แล้วนำไปปลูกเป็นสวนป่า รักษาสวนป่าให้ดี ประมาณ 12-15 ปี ก็จะมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้น และก็จะเก็บเห็ดตับเต่าเพิ่มขึ้นทุกปีตามขนาดของต้นไม้ที่ใหญ่โตขึ้น ถามเขาว่า มันจะคุ้มเหรอที่กว่าจะเพาะเห้ดได้ต้องใช้เวลาเป็นสิบๆปี เขาบอกว่าคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม เพราะอย่างน้อย การปลูกต้นไม้ ก็เท่ากับเป็นการปลูกป่าให้มีต้นไม้คอยดูดซับอากาศเสียและทำให้ฟ้าฝนตกตามฤดูกาล และเป็นการอนุรักษ์ดินให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติที่สุด ในระยะแรกๆ เขาจะปลูกกันถี่มาก เพราะจะได้มีรากต้นโอ๊คกระจายทั่วพื้นที่ได้เร็ว ทำให้เชื้อเห็ดตับเต่ากระจายทั่วได้เร็วเช่นกัน จากนั้น เมื่อต้นไม้เริ่มโตขึ้นมากแลบ้ว เขาจะตัดสางให้ห่างขึ้น นั่นก็หมายความว่า เขาก็จะได้ไม้เอาไปในการก่อสร้างหรือใช้เป็นเชื้อเพลิงสีเขียวอีก แต่พอได้เห็ด ทำการเก็บเกี่ยวเห้ดได้แล้ว จากนั้นไป ก็จะได้ไปทุกปี จนกระทั่งหมดอายุขัยของต้นไม้ พูดง่ายๆ ก็คือ คนปลูกอาจจะตายไปหลายรอบกว่าที่ต้นไม้จะตาย นั่นก็หมายความว่า แม้ว่า ระยะเริ่มแรกอาจจะช้า แต่มันจะมีเห็ดกินไปตลอดชั่วลูกชั่วหลาน ฝรั่ง เวลาเขาศึกษาอะไรเขาศึกษากันแบบกัดไม่ปล่อย พอศึกษาแล้ว เขาก็คิดกันต่อว่า จะนำเอาความรู้ที่ได้ไปต่อยอด ไปทำเป็นธุรกิจได้อย่างไร ก็ไปเจอสมัยที่ ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ได้ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุโส เกี่ยวกับเห็ด ให้แก่ องค์การค้าโลก แห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศสวาซิแลนด์และประเทศเลโซโถ ถึงจะถึงบางอ้อว่า นี่ไง สิ่งที่คนผิวขาวเขาทำการต่อยอดธุรกิจที่เขาได้จากการศึกษาค้นคว้าวิจัยชนิดที่กัดไม่ปล่อยและก็ทำกันจริงๆจังๆ ซึ่งครั้งหนึงในประเทศไทยเคยเกิดขึ้น สมัยอาจารย์ ดร.ก่าน ชลวิจารณ์และ อ.พันธุ์ทวี ภักดีดินแดน ทำการวิจัยเรื่อวงเห็ดกันอย่างจริงจังในช่วงปี 2515-2520 มาเสีย มาแย่ มาเละตุ้มเปะ ก็สมัยไอ้ห้อย เข้ามายึดกรมวิชาการเกษตรนี่แหละ เละจนไม่มีอะไรเหลือที่เป็นงานเด่นทางวิชาการอะไรเลย เอาก็ช่างมัน มันกู้คืนไม่ได้แล้ว เอาเรื่อง เห็ดเราต่อก็แล้วกัน พวกผิวขาว เขาก็เห็นว่า ที่แอฟริกานั้น คนยังโง่อยู่ คนถูกล้างสมองให้เรียนสูงๆ จบ ด๊อกเตอร์กันเต็มบ้านเต็มเมือง ผูกไท้ ใส่สูทกันขวักไขว่ แล้วก็ต่างแย่งกันเข้าทำงานเป็นข้าราชการหรือทำงานในห้างร้านกันหมด ขณะที่ชาวบ้าน ก็ถูกล้างสมองผิดๆ ด้วยการเอาสิ่งยั่วยุสมัยใหม่เข้าไปล่อ ชาวบ้าน ชาวช่องก็ตัดไม้ทำลายป่า ประเทศอย่างสวาซิแลนด์ ที่เป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากทะเลติดกับประเทศโมซัมบิก ที่มีอากาศร้อน นายกไทยกำลังจะไปเยือน และอีกด้านหนึ่งของประเทศสวาซิแลนด์ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ ที่เป็รนที่ราบสูง อากาศหนาวเย็น ดังนั้น บรรยากาศของสวาซิแลนด์จึงกึ่งร้อนกึ่งเย็น มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์มาก แต่ด้วยความที่ถูกล้างสมองโดยประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ พื้นที่ของประเทศที่เคยเป็นป่า ก็ถูกตัดจะเกือบจะกลายเป็นทะเลทราย พอมารู้ตัวอีกที ก็ภูเขาหัวโล้นหมดแล้ว ผลสุดท้ายก็แก้ปัญหาเองไม่ได้ เพราะคนทั้งประเทศมัวไปเป็นข้าราชการและทำงานห้างร้านบริษัทเสียส่วนใหญ่ ก็เลยไม่รู้ว่าจะไปแก้ไขปัญหาได้เช่นไร ผลสุดท้ายก้ไปเชิญชวน ขอร้องให้ต่างประเทศมาช่วยเหลือ ก็ได้รับความช่วยเหลือแบบชนิดที่เป็นบุญเป็นคุณเหลือเกิน จากครอบครัวคนอิตาลีที่มีอาชีพเก็บเห็ดตับเต่าป่าจากอิตาลีขายไปทั่วโลกแต่ไม่พอ คนอิตาลีครอบครัวนี้ ก็เลยเสนอโครงการให้แก่กษัตริย์สวาซิแลนด์ว่า จะขอทำหน้าที่ช่วยปลูกป่าให้ แต่รัฐบาลสวาซิแลนด์จะต้องเป็นฝ่ายไปกู้เงินมาให้ และมอบพื้นที่ให้เขาบริหาร แล้วจะเอาผลประโยชน์เรื่องไม้แบ่งปันกันในอนาคตอีก 20-50 ปีภายภาคหน้า ส่วนผลผลิตอะไรที่เกิดขึ้น ระหว่างที่เป็นป่าหรือต้นไม้เจริญเติบโตนั้น เป็นผลพลอยได้ที่ผู้บริหารพึงได้ รัฐบาลสวาซิแลนด์ไม่เกี่ยว ก็ปรากฏว่า ขณะนี้ ครอบครัวอิตาลีนี้ สามรารถเนรมิตผืนป่าเขียวชอุ่มให้แก่ประเทศสวาซิแลนด์ได้ ทำให้คนสวาซิแลนด์ต่างภูมิใจ ดีอกดีใจในควาสำเร็จดังกล่าว แล้วมอบความเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ที่สามารถชี้นิ้วสั่งการและจะเอาที่ไหนก็ได้ในประเทศ โดยการเอาโครงการปลูกป่าบังหน้าได้ทุกที่ และด้วยความด้อยปัญญาของเจ้าของและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ หารู้ไม่ว่า ประเทศสวาซิแลนด์ แม้ว่า เป็นประเทศที่เล็กนิดเดียว เท่าจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น แต่กลับเป็นประเทศที่ผลิตเห็ดตับเต่ามากที่สุดในโลก โดยคนสวาซิแลนด์ไม่ทราบกันเลย สมัยแรกๆตอนที่ ดร.อานนท์ทำงานอยู่ที่นั่น พยายามที่จะส่งข้อมูลมายังฝ่ายราชการของไทยว่า มีหลายประเทศของแอฟริกาที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะที่มาดากัสการ์ โมซัมบิก แอฟริกาใต้ สวาซิแลนด์ กานา เซียราลีโอน ปรากฏว่า ไม่มีหน่วยงานใดสนใจเลย ดร.อานนท์ จึงเขียน จดหมายยาวถึง 34 หน้า ไปถึงคนหนุ่มไฟแรง ที่ยังไม่มีชื่อเสียงอะไร เป็นติวเตอร์อยู่แถวมหาวิทยาลัยรามคำแหง ชื่อ รตอ.นิติภูมิ นวรัตน์ (ไม่ทราบว่า ตอนนี้ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่) เชิญชวนแกไปที่แอฟริกา ตอนแรกแกก็เล่นตัวไม่ไป เพราะแกกลัวความป่าเถื่อนที่แอฟริกา เพราะแกไม่เคยไป แกมีแต่อ่าน แต่จินตนาการ แต่พูดเก่ง เขียนเก่ง ตอนหลังแกตัดสินใจไป ไปอยู่ที่บ้าน ดร.อานนท์ ที่เมือง Randfontein กรุงโจฮันเนสเบริก ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งแกตกใจและไม่เคยคิดมาก่อนว่า บางประเทศในแอฟริกาเจริญกว่าประเทศไทยเสียอีก จากนั้นแกก็เริ่มเขียนในไทยรัฐ และ ดร.อานนท์ ก็ได้รับเชิญให้มาพูดเรื่อง ของแอฟริกา อย่างถี่ยิบ พอให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์จะหมดไส้หมดพุง จนอีตานิติภูมิกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญแอฟริกาโด่งดังไปทั่วและมีคนไทยหลั่งไหลกันไปอยู่แอฟริกากันอย่างไร้ทิศทาง แล้วเราก็กลายเป็นแค่สะพานคนข้ามเท่านั้น แต่ก็ไม่เป็นไร กรรมถูกกำหนดให้เป็นเช่นนั้น แต่สิ่งที่ได้มาจากการไปทำงานที่นั่นมามันคุ้มมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง การเพาะเห็ดกับต้นไม้ ที่ตราตรึงอยู่ในหัวจิตหัวใจก็เรื่อง เห็ดตับเต่านี่แหละ เพราะเป็นเห็ดที่คนไทยรู้จักและนิยมบริโภคกันมาตั้งนานแล้ว แต่ก็ทานกันอย่างกล้าๆกลัว ยิ่งดูรูปร่าง หน้าตาดำๆเหลืองๆแล้ว ยังชวนให้สงสัยว่าทานได้หรือไม่ ดังนั้น คนที่เคยทานเห็ดตับเต่า ก็จะเป็นระดับชาวบ้านที่อยู่กลางไร่กลางนา อยู่บ้านนอก หรืออาศัยของป่า ที่คนกรุงเขาเรียกว่า บ้านนอก ทำให้เห็ดตับเต่าบ้านเรา จัดอันดับเป็นสินค้าบ้านนอกไป จะเห็นได้ว่า เห็ดตับเต่า แม้ว่าจะมีให้เห็นทุกปี มีขายตามข้างทาง ทั้งภาคกลาง ทางเหนือ อิสาน ก็จำกัดขายกันบริเวณริมทางเท่านั้น แทบจะไม่เคยมีปรากฏให้เห็นว่า เห็ดตับเต่ามีขายตามห้างตามเหลาเลย ผิดกันกับต่างประเทศ เห็ดตับเต่าถือว่า เป็นอาหารที่มีราคาแพง เป็นอาหารของคนชั้นสูง บางประเทศ เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส ทำการค้าขายเห็ดตับเต่ากันเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นธุรกิจข้ามชาติไป และตอนนี้ จีน กลายเป็นปีระเทศที่ทำการเพาะและผลิตเห็ดตับเต่าที่ใหญ่ที่สุดของโลกที่น่าจับตาที่สุด เอาล่ะ ขอละบายสิ่งที่อัดอั้นตันใจมาหลายสิบปีแล้วพอแก่กาลเวลาแล้ว วกกลับมาไทยเสียที ต้องขอยืนยันนั่งยันเลยว่า ไม่มีที่ไหนในโลก สามารถเพาะเห้ดตับเต่าได้ดี และเร็วเท่ากับประเทศไทย และประเทศไทย น่าจะเป็นประเทศที่มีการเพาะเห็ดตับเต่าที่ถูกวิธีมาก่อนประเทศอื่นใดในโลกเสียอีก หากไม่เชื่่อ ให้ไปดูที่หมู่บ้านสามเรือน ถนนโรจน บางประอิน ใกล้ๆกับอานนท์ไบโอเทคดูสิ ที่นี้เขาเพาะเห็ดตับเต่าสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นร้อยๆปีแล้ว ด้วยการเพาะตามรากต้นโสน ที่มีอายุแค่ 2-3 เดือนเท่านั้น ขณะที่ต่างประเทศใช้เวลาเป็นสิบๆปี และเป็นกาเพาะแบบเลียนแบบธรรมชาติที่ดีที่สุด แน่นอนที่สุดและถูกต้องที่สุด ที่ย้ำเช่นนี้ ก็เพื่อจะเป็นสติเตือนใจแก่บรรดาที่รู้นิดรู้หน่อยแล้วฟุ้งซ่าน คิดว่าตัวเองรอบรู้ไปหมด ดูอย่าง เห็ดถั่งเช่าสีทองสิ บางคนพอเพาะได้นิดหน่อยหรือไปดูเขาเพาะมา กลายเป็นอาจารย์เห็ดที่โด่งดังกันเต็มบ้านเต็มเมือง พอเพาะออกมาแล้ว ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เอาไปขายให้ใคร แต่การเพาะเห็ดตับเต่าที่บ้านสามเรือนนั้น เขาทำการเพาะกันจากการที่อาศัยการสังเกตจากธรรมชาติ พอเขาเห็นว่า ที่ไหนมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้น ส่วนหนึ่งที่จะเก็บกินหรือเก็บขายได้ก็เก็บไป บางส่วนที่แก่เกินไป เขาก็เอามาขยำกับน้ำ แล้วไปราดใส่ต้นไม้ไม่ว่าจะเป็นโสน ขนุน ยูคา กระถินณรงค์ ชขุมเห็ดเทศ แค ส้มโอ ก็จะมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้น ยิ่ง หากเอาส่วนที่เป็นดินที่ใกล้บริเวณที่มีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้น เอาไปใส่ให้แก่กล้าไม้หรือต้นไม้ที่ไม่เคยมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้น อีกไม่นานก็จะมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้น ซึ่งวิธีนี้ ดีกว่าจะไปใช้เชื้อบริสุทธิ์เสียอีก ทั้งนี้เพราะ ปัจจัยธรรมชาติ ยังมีสิ่งลี้ลับที่เรายังหาไม่เจออีกเยอะ ยกตัวอย่าง เช่น เห็ดเยื่อไผ่ เวลาเราเอาดอกเห้ดหรือสปอร์มาเพาะเลี้ยงในอาหารบริสุทธิ์ กว่า เส้นใยเห้ดจะเจริญทั่ววัสดุเพาะ ใช้เวลาหลายเดือน แต่พอเอาไปใส่วัสดุเพาะ ปรากฏว่า ใช้เวลาแค่ 1-2 สัปดาห์เท่านั้น เส้นใยเห้ดจะเจริญไปทั่ววัสดุเพาะและอีกไม่กี่วันก็จะมีดอกเห็ดให้เห็น ดังนั้น ขอย้ำในที่นี้เลยว่า เชื้อไมโคไรซา รวมทั้งเห็ดที่เกิดร่วมกับต้นไม้นั้น วิธีการขยายเชื้อที่ดีที่สุด คือ การใช้ดินและสปอร์ของเห็ดนั้นๆ เอาไปใส่ต้นไม้เป้าหมายจะดีที่สุด เมื่อไม่นานมานี้ ได้ไปดูเขาผลิตกล้าไม้ยูคา และผลิตเชื้อไมโคไรซาขายที่ฟิลิปปินส์ โดยผลิตกันเป็นความลับทางการค้าที่ยิ่งใหญ่มาก ทีแรกก็คิดว่า เขาคงมีอะไรที่ลับจริงๆ และใช้เครื่องมือที่สุดยอดจริงๆ พอมีโอกาสเข้าไปดู ปรากฏว่า เขาผลิตเชื้อไมโคไรซา เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นยูคาก็ดี หรือต้นไม้อื่นๆก็ดีนั้น เพียงแต่ เขาเอาต้นไม้ที่มันเจริญเติบโตได้ดี รวดเร็ว แล้วนำไปตรวจสอบดูว่า มีเชื้อไมโคไรซาที่รากไหม พอมีแล้ว เขาก็เอาดินรอบๆต้นไม้เล่านั้น มาบดเป็นเชื้อไมโคไรซาขายส่งแทบไม่ทัน ก็เลยวกมาที่รูปของคุณปรีชา ที่กรุณานำเอามาลงในกระทู้นี้ เป็นดอกเห็ดตับเต่าสวยมาก ขึ้นอยู่ตามใต้ต้นทองหลาง แสดงว่า คนกำลังจะรวยแล้วล่ะ เพราะดินตรงนั้น มีเชื้อเห้ดตับเต่าแน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์ คุณสามารถเอาดินและดอกเห็ดตับเต่าที่แก่แล้ว เอาไปใส่ต้นไม้ต้รนอื่นที่เห็ดตับเต่าเจริญเข้าไป หากจะให้ดี ต้นเล็กๆหรือกล้าไม้จะดีมาก เพราะมันจะได้รับเชื้อเห็ดได้ไวและประหยัดเชื้อเห็ดกว่า หรือต่อไป หากจะทำขาย ก็ไม่ยากเลย เอาดินตรงนั้นมาบดให้ละเอียดดูน่าซื้อ ดูน่าเชื่อถือเสียก่อน หากจะให้ดี เอาดอกเห็ดแก่ๆขยำกับน้ำแล้วราดดินนั้น ผึ่งให้แห้ง เก็บได้นานเป็นปี แล้วก็เอาไปโรยใส่ต้นไม้เป้าหมายได้ เช่น ต้นทองหลาง ต้นแค ต้นโสน เป็นต้น

ทีนี้มาตอบคำถามของคุณเสงี่ยม เพราะดูเหมือนว่า กำลังมันกับเรื่องนี้อยู่พอดี
ในอรัมภบท เรื่อง การเทศนานั้น มันก็แค่หยอกเล่นให้ไม่เครียดเท่านั้น เพราะคุณลองคิดดูสิ อยู่ในวงการเห็ดมากว่า 40 ปี แล้วบางทีคำถามซ้ำๆซากๆมันเซ็งมันเบื่อเหมือนกันน๊ะ แล้วก็บางทีบางสิ่ง เราก็ไม่ได้รู้ไปทุกเรื่อง บางเรื่อง กำลังอยู่ระหว่างทดลอง เช่น ต้นแค พอกว่าจะได้ข้อสรุป เสียเวลาไปเป็นปี กว่าจะรู้ว่าพันธุ์ไหนมันเหมาะสมบ้าง ทีนี้บางทีบางท่านใจร้อน เห็นอาจารย์กำลังทำอะไร ก็รีบเอาไปทำทันที โดยไม่ได้สอบถามเสียก่อนว่า มันมีรายละเอียดหรือปัญหาใด เช่น กรณีของคุณ ตอนแคตอแหล หรือแคน่ารัก(เป็นคำแก้เกี้ยวของยายรังสิมา ที่บอกว่า ตอแหล แปลว่า น่ารัก) พอมันเริ่มออกดอก ออกเยอะด้วย แต่มันไม่ยอมโตต่อไปอีกตามที่เราต้องการ นอกจากนี้ ในการตอบกระทู้ บางที ก็ถือโอกาสได้ระบายเสียบ้าง เพราะคุณดูกระทู้ส่วนใหญ่สิว่า สังคมไทย มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก กลายเป็นสังคมแบบตัวใครตัวมัน เป็นสังคมที่เอาแต่ได้ สมัยก่อน เวลาใครอยากจะได้อะไร อยากจะถามอะไร เขาก็มีอรัมภบท มีความอ่อนน้อม อ่อนโยน แต่เดี๋ยวนี้ิ คุณดูสิ ไม่รู้เป็นใครมาจากไหน อยู่ๆพอดูเป็น เปิดเน็ตเป็น เข้ากระทู้เป็น ก็โพร่งๆถามมาด้วนๆเลย แต่กำชับว่า ขอให้ตอบเยอะๆละเอียดมากๆ ซึ่งบางครั้งก็คิดน้อยใจอยู่เหมือนกันว่า เอ๊ะนี่มันอะไรกัน แตจ่สำหรับของคุณนั้น ทางเราไม่ได้ถือเป็นอื่น เพราะคุณเป็นผู้ที่ผ่านการอบรมจากเราไปแล้ว และแน่นอน ดร.อานนท์ ย้ำนักย้ำหนาว่า หากต้องการอะไร หรือไม่เข้าใจตรงไหนให้ถามมา อย่างนี้แล้ว คุณไม่ต้องเกรงใจ ถามมาได้เลย ซึ่งคำถามของคุณก็น่าสนใจมากๆด้วย จึงขอตอบดังนี้
1. ใช่ครับ ต้นแค ไม่ว่า ตอแหลหรือไม่ตอแหล ใช้เพาะเห็ดตับเต่าได้ครับ และใช่อีกเช่นกัน มันอยู่ที่วัตถุประสงค์ของเราครับ หากต้องการที่จะเก็บดอกแคขายด้วย พันธุ์ตอแหลน่าจะเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมที่สุด นอกจากนี้ ทางอานนท์ไบโอเทค ยังมีซูเปอร์ตอแหล ที่อาจจะใช้ว่า แคกระแดะก็ได้ เพราะเป็นแคที่สูงแค่ครึ่งฟุต อายุแค่ 2 เดือนเท่านั้น แกก็ออกดอกแล้ว หากเป็นคนก็อายุประมาณ 8-9 ขวบก็มีลูกแล้วอะไรทำนองนั้น พันธุ์นี้ก็ใช้เพาะเห็ดตับเต่าได้ และเก็บดอกแคขายได้ แต่ไม่เหมาะที่จะเพาะเอาต้นแคไปเพาะเห็ดหูหนูครับ
2. พันธุ์ตอแหลหรือกระแดะนั้น แม้ว่าจะใส่เชื้อเห็ดหรือมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้นใต้ต้นของมันแล้ว นิสัยตอแหลและกระแดะก็เหมือนเดิม ก็ดูจากสภาอันทรงเกียรติสิ ก็เหมือนๆเดิมนั่นแหละ เดี๋ยวกระชากเก้าอี้ เดี๋ยวก็บอกว่าน่ารักอะไรทำนองนั้น มันเปลี่ยนนิสัยเดิมๆไม่ได้เลยครับ มันเป็นกรรมพันธุ์มาหลายชั่วโคตรแล้วครับ หากอยากจะเปลี่ยนก็ตัดทิ้งเท่านั้น หากเป็นที่สภาก็ครั้งต่อไปอย่าเลือกเข้ามาอีกก็เท่านั้นครับ
3. เป็นเทคนิคและวิธีการปลูกพืชแทบทุกชนิดครับ โดเยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่จะปลูกพืชร่วมกับเห้ด ควรจะปลูกระยะชิดให้มากที่สุดเสียก่อนครับ เมื่อทรงพุ่มมันโตขึ้น เราก็ค่อยตัดสางหรือขุดย้ายไปปลูกที่ใหม่ ยิ่งหากปลูกไปแล้ว มีเห็ดเกิดขึ้น เวลาคุณขุดย้ายไปที่อื่น ก็จะได้เชื้อเห็ดติดไปด้วย การปลูกชิด นอกจากจะทำให้ลำต้นเปลาสูงเปราดีแล้ว ยังประหยัดเชื้อเห้ดและการดูรักษาในช่วงที่ต้นไม้ยังเล็กอยู่ ประหยัดน้ำ ประหยัดเวลาในการดูแลด้วยครับ
4. สิ่งนี้เป็นสิ่งจำเป็น การที่จะเพาะไม่ว่าต้นแค หรือเห้ด หากคุณรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมได้ เห้ดก็จะออกมา แม้ว่าจะเป็นนอกฤดู อยากให้คุณไปดูเกษตรกรที่บ้านสามเรือนแถวโรจน์ดู พอเขาเห็นว่า เห็ดตับเต่ากำลังเป็นที่นิยม เดี๋ยวนี้ คุณเชื่อไหม เกษตรกรทุกครัวเรือน เขาบำรุงรักษาต้นโสนเป็นอย่างดี มีการใส่ปุ๋ย เตรียมดินที่ดีก่อนที่ต้นโสนจะงอกหลังน้ำรด แล้วเขาจะให้น้ำแบบสปริงเกอร์เป็นเรื่องเป็นราวเลยทีเดียว แต่เดิม เห็ดตับเต่าจะออกช่วงฤดูร้อนประมาณเดือนพฤษภาคมขมิถุนายนเท่านั้น แต่จากการที่เขาดูแลอย่างดี ปรากฏว่า เห็ดตับเต่าเริ่มออกตั้งแต่ปลายมีนาคม ถึงพฤศจิกายนก่อนหนาว นั่นก็เท่ากับเพิ่มระยะเวลาการเกิดดอกขึ้นอีกหลายเท่าตัว หากคุณดูแลรักาาดี ที่อินเดีย เขาเอาดินก้นคลอง ที่มีขี้โคลน ใบไม้ใบหญ้าที่เน่าเปื่อนสลายแล้ว เอามาคลุกกับเชื้อเห็ด แล้วเอาไปบ่มเชื้อไว้ที่ 32-35 องศาเซลเซียสประมาณ 2-3 สัปดาห์ จากนั้นทำการรดน้ำ ให้อากศและแสงถ่ายเทสะดวก ก็จะมีเห้ดตับเต่าเกิดขึ้นได้เช่นกัน โดยไม่ต้องไปอาศัยรากไม้โดยตรงก็ได้ ในเมืองไทยก็มีการเพาะกันเช่นนี้ รวมทั้งหน่วยงานวิจัยของรัฐที่เรียกว่า วว. เห็นเขาออกข่าวว่าทำได้เช่นกัน และผมได้รู้จักกับคนหนุ่มคนหนึ่งที่มีความสามารถในการเพาะเห็ดกระถินพิมานได้เก่งมาก แล้วแกก็แนะนำให้รู้จักคุณพ่อแกว่า สามารถเพาะเห้ดตับเต่าด้วยวิธีดังกล่าวได้ แกก็ให้เบอร์ของพ่อแกให้ติดต่อ ก็ดูเหมือนว่า แกบอกว่า แกก็เพาะเห้ดตับเต่าได้ โดยทำการเพาะเช่นเดียวกับการเพาะเห็ดฟาง แต่ผมก็ไม่ได้ติดตามต่อ เพราะทางฝ่ายลูกแจ้งมาให้ทราบด้วยความหวังดีว่า เกรงว่า ทางผมจะไปล้วงเอาความลับของเขา ก็เลยเลิกการติดต่อไปอย่างสิ้นเชิง เพราะถือว่า เป็นความชอบธรรมของแต่ละบุคคล ที่เขาอุตส่าห์ค้นพบสิ่งใหม่ๆได้ ก็คงไม่อยากจะให้คนอื่นเขารับรู้เรื่องนี้ของเขาก็เท่านั้น แต่ในส่วนของทางอานนท์ไบโอเทค เรากลับเห็นว่า ความรู้อะไรใดๆในโลกนี้ ต่างก็จะต้องเรียนรู้ตามทันกันหมด สักแต่ว่าจะเร็วจะช้าเท่านั้น ดังนั้น ในเมื่อยังมีคนไทยอีกเยอะที่เปิดกว้าง และต้องการที่จะแบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน เราจึงเลือกทางเดินนี้ ด้วยการเป็นตัวกลางในการเสนอความคิดและข้อคิดเห็นที่พวกเราพึงมี
5. ไม่ทราบว่าคุณฟังผิด หรือ ดร.อานนท์เมาหมัดที่ไปบรรยายว่า ปลูกแค 3 ปี แล้วก็ไม่ให้ผลผลิตเห้ดอีก จริงๆแล้วไม่ใช่น๊ะครับ ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ไม่ว่าต้นไม้อะไร พอมีเห้ดตับเต่าเกิดขึ้นแล้ว มันจะเกิดไปเรื่อยๆจนต้นไม้นั้นตาบครับ ต้นแคบางต้นอาจจะมีอายุขัยนับสิบๆปีครับ แต่ที่บอกว่า 3 ปีนั้น หมายความว่า จะได้ต้นแคที่มีโคนต้นขนาด 6-8 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดที่พอเหมาะที่จะเอาไปเพาะเห้ดหูหนูครับ เพราะเดี๋ยวนี้ การเพาะเห็ดหูหนูในบ้านเรา เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นการเพาะในขี้เลื่อยบรรจุในถุงพลาสติก ซึ่งให้ผลผลิตสูงมาก เช่น ก่อนเชื้อขนาดน้ำหนัก 1 กก. อาจจะให้ผลผลิตเห็ดหูหนูมากถึงครึ่ง กก. ยิ่งราคาเห็ดหูหนูปัจจุบันราคาแพงมาก กก.ละไม่ต่ำกว่า 60 บาท จึงทำให้อาชีพ การเพาะเห็ดหูหนู เป็นอาชีพที่ทำกำไรสูงมาก สูงกว่า การเพาะเห็ดชนิดอื่นๆด้วยกรรมวิธีเดียวกัน แต่ปัญหา ของการเพาะเห็ดหูหนูในถุงนั้น มีปัญหาอยู่อย่างเดียวที่แก้ไม่ตก คือ จะมีไรไข่ปลาเข้าไปทำลายเส้นใย ยิ่งในช่วงที่เรากำลังกรีดให้เห็ดออกดอก พอกรีดก้อนเห้ด ตรงแผลตรงนั้น ก็จะมีไรไข่ปลาเข้าไปกัดกินเส้นใยที่ถูกกรีด ทำให้ไม่มีดอกเห็ดหูหนูเกิดขึ้น ดังนั้น การเพาะเห็ดหูหนู หากเกิดไรไข่ปลาขึ้น ก็จะเสียหายไปทั้งหมด ปัญหาตรงนี้เอง ที่เกษตรกรผู้เพาะเห็ดหูหนู จะไปกล่าวหาว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็อาจจะไม่ถูกนัก เขาได้พยายามแก้ไขไม่ให้ไรไข่ปลาเข้าไปทำลายเชื้อเห็ดหูหนู ด้วยการใช้ยาฆ่าแมลงหรือฆ่าไร ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อไหน หรือแม้แต่เอาหลายๆยี่ห้อมาผสมกันอย่างเข้มข้น ก็ยังไม่สามารถปราบไรไข่ปลาได้ เว้นเสียแต่ใช้ยาฆ่าแมลงที่มีฤทธิ์ร้ายแรง รุนแรงและมีผลตกค้างนาได้แก่ ฟูราดาน หรือในชื่อการค้าในนาม ดูราแทร์ที่ทั่วโลกไม่มีใครอนุญาตให้ใช้กับพืชผักและเห็ดยกเว้นประเทศไทย ด้วยการนำเอาฟูราดานหรือดูราแทร์ผสมเข้าไปในวัสดุเพาะเห็ดหูหนูเลย จริงอยู่ การใช้สารพิษรุนแรงดังกล่าว จะไปทำลายและป้องกันการเข้าทำลายของไร่ไข่ปลาได้ แต่เห็ดหูหนูที่เกิดขึ้น จะมีสารพิษที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งและเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งได้โดยง่าย ตรงนี้เอง ที่ทางอานนท์ไบโอเทค ได้มองเห็นปัญหา ขณะที่คนไทยนิยมทานเห็ดหูหนูเพิ่มขึ้น จึงอยากจะรณรงค์ให้ทำการเพาะเห็ดหูหนูปลอดสารขึ้น ซึ่งกรรมวิธีการเพาะเห็ดหูหนูปลอดสาร ปลอดจากไรไข่ปลาได้นั้น วิธีการเพาะในไม้จะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด และไม้ที่ใช้เพาะเห็ดหูหนูที่ดีที่สุด คือ ไม้แคครับ ไม้แคขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 นิ้ว ยาวประมาณ 1 เมตร เทื่อทำการเพาะเห็ดหูหนูแล้ว อาจจะทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากกว่า 10 กก. และเก็บได้นานเป็นปี วิธีการเพาะก็ง่ายกว่า โดยใส่เชื้อเห็ดเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องเอาไม้ไปต้มหรือเอาไปนึ่ง ตรงนีี้ครับ ที่ ดร.อานนท์ บอกว่า ควรใช้ต้นแคอายุประมาร 3 ปี แต่ไม่ใช่ว่า 3 ปี จะไม่มีเห้ดตับเต่าขึ้น 
ในส่วนการตัดต้นแคนั้น จะตัดทอนเอากิ่งที่มีขนาดเหมาะสมมาใช้ก็ได้ แต่วิธีที่ดีที่สุด ถูกต้อวงที่สุด คือ ตัดถึงโคนเลยครับ โดยให้เหลือส่วนโคนไว้ประมาณ 15 ซม.ก็พอ เพราะจะได้กิ่งใหม่ที่สมบูรณ์เกิดขึ้น จากนั้น ให้คัดเอาแขนงใหม่ที่เกิดขึ้น ให้เหลือไว้เพียง 4-6 แขนงก็พอ ก็จะได้ลำต้นใหม่ ที่โตเร็วกว่า ได้ปริมาณกิ่งเพิ่มขึ้นอีกด้วย หากทำการตัดเอาเฉพาะกิ่ง แขนงใหม่ที่เกิดขึ้น จะไม่ค่อยสมบูรณ์โตช้า เพราะอาหารบางส่วน จะต้องส่งไปเลี้ยงกิ่งเก่าหรือกิ่งเดิม
พอล่ะ วันนี้แค่นี้ก่อน เพราะลุยมาตั้งแต่ตีห้าแล้ว เดี๋ยวจะไปฟาร์มที่ลพบุรี ไปดูต้นแค และกำลังก่อสร้างโรงเพาะเห็ดอยู่ ขอให้ติดตามความก้าวหน้าหรือความเคลื่อนไหวจากเวปไซด์นี้ก็แล้ว กรุณาอย่าเพิ่งตื่นเต้นแล้วตามไป เพราะจะไม่สะดวก ไม่มีใครคอยต้อนรับหรือคุยด้วย ขอเวลาทำงานอย่างอิสระและเป็นตัวของตัวเองเถอะ
ข้อมูลการปลูกต้นแคเพื่อเพาะเห็ด ณ สถานที่ตั้งอุทยานเห็ด ที่ ต.เพนียด อำเภอโคกสำโรงนั้น ก็ได้แวะพูดคุยกับคนดูแลและวัดขนาดของต้นแคโดยเฉลี่ยดู พบว่า ต้นแคตอแหลดอกสีแดง อายุประมาณปีครึ่ง เส้นผ่าศุนย์กลาง วัดจากที่สูงกว่าระดับพื้นดินได้ค่าเฉลี่ย 4-5 นิ้ว ส่วนแคปี หรือแคที่ออกดอกช้าอายุ4-5 เดือน เส้นผ่าศุนย์กลางประมาณ 3.5-4 นิ้ว และถามความรู้สึกของชาวบ้าน ก็บอกว่า แคตอแหลให้ดอกเร็ว ดอกดก เหมาะสำหรับปลูกเพื่อเก็บดอกและเพาะเห็ดตับเต่า แต่แคปี เหมาะสำหรับเพาะเห็ดตับเต่า และเอาต้นไปเพาะเห็ดหูหนู เป็นอันว่า คุณเสงี่ยมก็เลือกเอาก็แล้วกันว่า จะเอาไว้เก็บดอกแคหรือ จะเอาต้นไปเพาะเห้ดหูหนูก็เป็นไปได้ทั้ง 2 พันธุ์ 
ขณะที่ขับรถไป ก็ยังคิดแต่เรื่องว่า ที่ได้ตอบไปนั้น ยังมีอะไรขาดตกบกพร่องอีกบ้าง และคิดได้ว่า ยังไม่ได้กล่าวถึงเรื่อง เชื้อไมโคไรซาว่า ไม่ได้มีเฉพาะแต่เห็ดเท่านั้น ยังมีอีกเป็นร้อยเป็นพันชนิด ที่สามารถเขาไปฝังตัวอยู่กับรากของต้นไม้ชนิดนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นชนิดใด เวลามันเข้าไปยึดหัวหาดหรือยึดพื้นที่ปลายรากได้แล้ว มันก็จะรีบสร้างอาณาจักรและก็จะป้องกันอาณาจักรของมันไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาล่วงล้ำหรือเข้าไปยึดพื้นที่ได้ นี่คือ เหตุผลว่า ทำไม เราจึงเน้นนักหนาว่า ควรเริ่มใส่เชื้อเห็ดเข้าไปในช่วงที่เป็นกล้าพันธุ์หรือต้นยังเล็กอยู่ ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการรีบใส่เข้าไปเสียก่อนใครเพื่อน ก่อนที่เชื้อไมโคไรซาชนิดอื่นจะเข้าไป แหมมันช่างเหมือนบรรดาน้องหมาที่เลี้ยงไว้ที่สถาบันอานนท์ไบโอเทคเหลือเกิน รวมศิริจำนวนแล้วมีมากกว่า 20 ชีวิต นอกจากจะมีหน้าที่ทำเห็ด วิจัยเรื่องเห้ดแล้ว ช่วงเย็นๆก็สรรหาอาหารการกินให้บรรดาน้องหมา นอกเหนือจากรดน้ำต้นไม้ ให้อาหารปลากว่าจะเสร็จก็ 2-3 ทุ่ม ในส่วนของน้องหมานั้นน่าสนใจมาก เพราะน้องหมาทุกตัวล้วนแล้วแต่เป็นพันธุ์ทางแท้ทั้งน้าน เพราะเก็บมาจากข้างทาง หรือบางตัวถูกบางคนแอบเอามาปล่อยก็รับสงเคราะห์ไว้หมด พอเข้ามาอยู่ที่ฟาร์ม มันจะจัดแจงแบ่งหน้าที่กันพร้อม อย่างเป็นระเบียบ วันดีคืนดี ใครอยากแหยมข้ามเขตแล้วจะโดนฟัดเลือดไหลบางตัวเกือบตายเอาเลย ตอนนี้ ตำแหน่งดูเหมือนค่อนข้างลงตัว เจ้าออมสิน มาจากห้องเย็นอนาถาของคนจีนได้แอบเอามาปล่อยไว้ เจ้านี่ ทำหน้าที่เฝ้ารถใหม่ 2 คัน แล้วมันจะอนุญาตให้ขับได้แค่ 2 คน คือ ดร.อานนท์และ อ.เยาวนุชเท่านั้น ส่วนเจ้ากะหล่ำและแป๊ปซี่ เฝ้ารถตู้และรถซูซูกิ 2 ตัวใจดี ใครจะเอารถไปไหนเชิญเลย เจ้าสุดาและเบริด จะดูแลรถส่งของ เจ้ามดดำและกุยเฮง ดูแลความเรียบร้อยดึกด้านหน้าและบริเวณหน้ารั้ว ไม่สนใจว่าอะไรจะเกิดขึ้น ขอให้เคลื่อนไหว เช่น ใบไม้ไหว โดยไม่เคยถามถึงเหตุถึงผล มันจะเห่าข่มนามไว้ก่อน ส่วนเจ้าทองขาวนั้นเฝ้าห้องน้ำ เจ้าทองดำจ้องเผื่อเผลอ หากลืมปิดประตูแพทีไร มันจะเข้าไปรื้อไปกัดเสื่อน้ำมันจะกระจุยแล้วกระจุยอีก ตั้งแต่เชิญมันมาอยู่ มันทำลายพื้นแพไปนับไม่ถ้วน ส่วนกองหลังอีก 4-5 ตัว มีหน้าที่เฝ้าพื้นที่ด้านหลัง ไม่เห่า ไม่ทำอะไรเลย ยกเว้นตอนกลางคืน ใครเผลอเข้าด้านหลัง จะไม่พูดพล่ามทำเพลง กัดลูกเดียว ดังนั้น ด้านหลังจึงไม่สามารถทำรั้วได้ เพราะเจ้า 4-5 ตัวยังมีหน้าที่อยู่ เจ้าตัวเล็ก เป็นหมาอุ้มบุญ ลูกสาวไปซื้อเขามาหลายพันบาททีเดียว เป็นพันธุ์ชิซุ ชื่อ อั่งเปา เกิดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 เป็นหมาอภิสิทธิ์ชน แต่ไม่ได้จบอ๊อกฟอร์ด และไม่เคยเกณฑ์ทหาร พอมันเกิดมา มันก็ได้อยู่บนบ้านเลย โดยไม่ต้องผ่านการทดสอบหรือสัมภาษณ์อะไรเลย เป็นเด็กเส้น สอบผ่านทุกเรื่อง ใหม่ๆมันน่ารักมาก เพราะมันไร้เดียงสา พอโตขึ้นมา มันฟัดทุกอย่างที่ขวางหน้า ตื่นเช้า หรือก่อนนอนมันก็จะทั้งฉี่ทั้งอึให้เป็นหน้าที่ของเราทำความสะอาดให้มัน บางทีมันไปฆ่าจิ้งจก จิ้งหรีดตายเกือบร้อยศพ ก็ต้องยอมมัน เพราะดูหน้าตาแล้ว มันยังตอแหลหรือน่ารักอยู่ พอจะเข้านอน ก็อนุญาตให้มันเข้าไปนอนในห้องนอนด้วย แต่เผลอทีไรมันก็กระโดดขึ้นไปนอนบนเตียงด้วย ที่ร้ายกว่านั้น เดี๋ยวนี้ พอมันเริ่มได้เป็นใหญ่ในบ้าน พอไม่มีใครไปอยู่ มันขึ้นไปอยู่บนเตียง เอาอาหารการกินไปสุขสำราญเต้นรำบนเตียงเอาเสียเลย นี่ก็เป็นอุทาหรณ์เฉกเช่น เชื้อไมโครไรซา ที่เวลามันเข้ายึดรากแล้ว มันจะกันไม่ให้เชื้อชนิดอื่นเข้าไปได้ ดังนั้น การที่เอาเชื้อเห็ดใส่เข้าไปในต้นไม้ที่โตแล้ว มักจะมีโอกาสประสพผลสำเร็จน้อยกว่า การใส่เชื้อเห็ดบนต้นกล้าไม้ฉันนั้น นอกจากนี้ เห็นคุณภาคินเข้ามาแจมในกระทู้นี้ด้วย ก็คิดถึงบรรดาลูกๆชุดใหม่ของคุณภาคินซึ่งล้วนแล้วแต่น่ารัก(ตอแหล)มาก ไม่ทราบว่า ที่บอกว่า ไม่ค่อยมีเวลาทำเห็ด น่าจะเป็นเพราะเอาเวลาส่วนใหญ่ไปเลี้ยงลูกๆสิท่า ว่างๆถ่ายรูปลูกๆมาให้ดูด้วย ต่อไปคาดโทษไว้แล้วว่า ตัวไหนดื้อ จะจับเอาไปอยู่ที่อุทยานเห็ดให้หมด เมื่อวานก็พาอั่งเปาไปดูที่ไว้แล้ว แทนที่แกจะเข็ด กลับอยากอยู่และงอแงไม่อยากกลับเฉยเลย

เรียน ท่านอาจารย์ และสวัสดีคุณไผ่และสมาชิกทุกท่าน
จากที่คุณไผ่กล่าวว่าจะรวยแล้ว สาธุ ขอให้เป็นจริงเถิด
หลังจากที่คุณใผ่ชี้ช่องรวยให้ ผมก็เริ่มทันที โดยการไปเก็บต้นกล้าทองหลางที่งอกอยู่ใต้ต้นทองหลางที่เห็ดตับเตาออกดอก นำมาบรรจุถุง ก็จะได้กล้าทองหลางที่มีเชื้อเห็ดตับเต่าแล้วขายได้ทันที พิเศษสำหรับสมาชิกอานนท์ไบโอเทคที่ต้องการกล้าทองหลางที่มีเชื้อเห็ดตับเต่าแล้ว แจกฟรีคนละ 5 ต้น ไปปลูกเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศของเรา และได้เห็ดตับเต่าเป็นของแถม ใครสนใจติดต่อได้ครับ ของมีจำกัด หมดแล้ว หมดเลย ภายในเดือนมิถุนายน 56 นี้เท่านั้น แต่ท่านต้องมีพื้นที่ว่างมากพอที่จะปลูกนะครับเพราะว่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 10 - 15 เมตรเชียว

ตรงนี้ไง ที่พร่ำสอนและพูดตลอดเวลาว่า เห็ดที่เป็นไมโคไรซ่า หากจะทำการเพาะให้ได้ผลดี ต้องเริ่มตั้งแต่ต้นกล้าเล็กๆเสียก่อน เพราะยังไม่มีคู่แข่งเข้าไปจับที่ราก หากโตแล้ว และมีคู่แข่งแล้ว เชื้อเห็ดจะกลายเป็นพระลองทันที การที่จะเข้าไปยังรากจะยาก เช่นเดียวกับเชื้อเห็ด ให้ใช้เชื้อธรรมชาติ โดยเลือกเอาดอกที่แก่เต็มที่แล้ว เอามาบี้และขยำในน้าแล้วรดที่ต้นกล้าต้นไม้ งานทดลองของคณะป่าไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้ยืนยันในเรื่องของการใส่เชื้อเห็ดเผาะลงในกล้าไม้ยางนา ปรากฏว่า ใช้เวลาแค่ 7 เดือนเท่านั้น ที่ต้นยางนาบางต้น มีเห็ดเผาะเกิดขึ้น และนี่เอง ที่ต่างประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลก เขาเพาะกล้าไม้ที่มีไมโคไรซาขาย เพราะกล้าที่มีไมโคไรซาจะโตเร็ว ยิ่งไมโคไรซาเป็นเห็ดแล้ว ได้ 2 เด้งในคราวเดียวกัน จึงอยากจะให้สมาชิกทุกท่านรณรงค์ช่วยกัน เอาต้นไม้ที่มีเชื้อเห็ดที่เป็นไมโคไรซ่า ช่วยกันปลูก ช่วยกันกระจายความรู้ สักวันหนึ่ง เราจะเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ในเรื่อง ป่ากับเห็ดอย่างแน่นอน ขออนุโมทนา น้ำใจของคุณปรีชา ที่อุตส่าห์เก็บเม,้ดทองหลางแล้วเอาเชื้อเห็ดตับเต่าใส่ เพื่อต้องการที่จะแจกจ่ายให้สมาชิกฟรีๆ สาธๆๆๆๆๆๆ ขอให้เจริญๆๆๆเถอะ พ่อคุณ ตอนนี้ ดร.อานนท์ และครอบครัว ก็ได้ไปส่งเสริมป่าชุมชนหลายจังหวัด ทำการพิทักษ์รักษาป่า แล้วได้เห็ดเป็นผลพลอยได้ ได้ทั้งป่าและเห็ด แต่ดูเหมือนว่า รายได้จากเห็ดเริ่มมีสูงขึ้นทุกปี อีกไม่นาน จะเอาข่าวดีมาบอก โดยจะมีการเปิดกรุตำนานเห็ดของครอบครัวเอื้อตระกูล ที่เก็บสะสมเห็ดเป็นยาไว้ค่อนข้างมาก มีเห็ดบางอย่าง ที่มีขนาดใหญ่มาก อาจจะใหญ่หรือโตที่สุดในโลก เส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 เมตร น้ำหนักกว่า 300 กก. เอาไว้ว่างๆ จะเปิดกรุให้ดู

เรียนอาจารย์
วันที่อาจารย์อธิบายข้างต้นแค ผมจำได้ว่าอาจารย์บอกว่าต้นแคพออายุ 3 ปีก็นำไม้แคไปใช้เพาะเห็ดได้ อาจารย์พูดไม่ผิดหรอกครับ แต่ผมเขียนย่อเกินไปอักษรตัวเล็กเลยเห็นจากไม้เป็นไม่ไป ส่วนตอนที่ปลูกไม้ยางใส่เชื้อเห็ดอยู่ผมก็ถามอาจารย์ว่าเพราะเมล็ดแคพร้อมกับใส่เชื่อเห็ดลงไปเลยโดยเพาะด้วยหินเพอไรได้หรือเปล่าอาจารย์ก็บอกว่าถ้าทำแบบนั้นได้จะดีที่สุดและดีมากๆ ด้วยเพราะเชื้อเห็ดจะเข้ายึดพื้นที่รากได้ทันที ก่อนเชื้ออื่นๆ ผมก็ไม่ได้เฉลียวใจอะไร แต่ก็ทำตามที่ปรึกษากับอาจารย์ครับคือเพาะกับหินเพอไรพร้อมกับเชื้อเห็ดเลย โดยโรยหินก่อนแล้วโรยเชื้อเห็ด แล้ววางเม็ลดแคบนเชื้อเห็ด จึงกลบด้วยหินอีกทีครับ 
--------------
ต้องกราบขอบพระคุณข้อมูลที่อาจารย์ให้ข้อมูลมาครับ ยืนยันในสิ่งที่ผมคิดและกำลังลงมือทำอยู่ครับ ทั้งการเพาะเมล็ด การปลูกแค รวมทั้งการสร้างระบบนิเวศน์ตรงนี้ผมเคยลังเลที่จะใช้ต้นโสน แต่ตอนนี้คิดว่าใช้ต้นโสนปลูกร่วมด้วยโดยปลูกหลังต้นแคโตแล้วซึ่งยังไม่รู้ว่าจะใช้เวลาตรงนี้เท่าไรครับเพราะปกติทรงพุ่มต้นแคมันโปร่งมากๆ เกรงว่ามันจะร้อนไปเลยกะว่าจะใช้ต้นโสนมาสร้างร่มเงาครับและรักษาความชื้นหน้าดินทั้งนี้เพราะบริเวณที่ดินเป็นไร่ข้าวโพดเก่าครับที่ได้มา และก็จะใช้ทั้งแคน่ารักและแคโบราณครับจะได้มีรายได้จากแคด้วยครับ แต่ที่น่าเซ็งคือเจ้าของขอปลูกข้าวโพดอีกปี ครับกว่าจะได้ลงมือในแปลงจริงๆ ก็เริ่มปีหน้าเพาะเมล็ดใหม่อีกรอบ พอต้นโต ก็ลงช่วงฝน แต่ผมใจร้อนอยากลงมือทำเร็ว ตอนนี้ก็ไปทดลองที่ดินของเพื่อนก่อน

---------------

ขอบคุณพี่ปรีชากับข้อมูลและพันธ์ทองหลางครับ ต้องการครับ
ขอบคุณพี่ภาคินครับกับข้อมูล อันนี้ก็เคยได้ดูหลายรอบแล้วครับ ก็ดูซ้ำอีกก็ได้ขอมูลมากขึ้นครับ ผมก็มีครอบครัวตัวเล็กๆ ตระกูลก๊วยเตียวครับ ตั้ง 7 ตัว พ่อหมาหมี่เก๊ยว(มินิเจอร์) แม่หมาหนูเล็ก(ชิวาวา) ลูกๆ ก็ต้มยำ หมูแดง อุ้งอิง(ลูกสาวจอมซ่าครับ) เล็กแห้ง(ตอนหลังเปลี่ยนเป็นเฮง เฮง เพราะเกือบตายไปเพราะไปกินม้วนเทปพี่เบิร์ด) สุดท้าย เจี้ยมอี้ ครับ
-------------



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น