วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เรื่องของส้วม ราดไม่ลง การติดตั้ง

ชักโครกกดไม่ลง ส้วมตัน เพราะน้ำท่วมมีทางแก้ครับ.

สวัสดีครับ ปีนี้น้ำมาเยอะเหลือเกินบ้านใครถูกน้ำท่วมบ้างครับ หมู่บ้านที่ผมอยู่น้ำท่วมเกือบครึ่งเอวแล้วครับ กะว่าจะยังไม่อพยพไปไหน จะรอดูสถานการณ์น้องน้ำอีกสัก 4-5 วัน เพราะคิดว่าถ้ายังไม่ถูกตัดน้ำตัดไฟก็ยังพอทนอยู่ได้นะ เพราะขึ้นไปอยู่ชั้นสองแทน ถ้าไปอยู่ที่อื่นมันก็คงไม่สะดวกเหมือนอยู่บ้านเราจริงไหม อีกอย่างก็ห่วงบ้านด้วย ห่วงหมาห่วงแมวด้วยฯลฯ (ยังไม่ยอมปล่อยวางอีกเนอะ) แต่อยู่ได้วันเดียวก็เกือบจะถอดใจแล้วล่ะครับ ก็จะอะไรเสียอีกล่ะ ! หัองน้ำมันพ่นพิษครับ พอเข้าไปทำธุระในห้องน้ำชั้นสอง เสร็จแล้วกดชักโครกเท่านั้นแหละครับ กระจายเลยครับ ขอบอก! คงไม่ต้องบรรยาย น้ำมันดันออกมาหมดเลยครับ คิดว่าคนที่บ้านถูกน้ำท่วม คงจะระทมทุกข์ หัวอกเดียวกันแน่ ตายล่ะสิ! อย่างงี้จะอยู่ได้อย่างไง

คิดไม่ออก คิด..คิด นั่งsearchเน็ตหาความรู้เรื่อง ส้วม..ส้วม ส้วม ทำไม ..ทำไม สรุปเลยแล้วกัน สาเหตที่เรากดชักโครกไม่ลง เพราะว่ามันมี pressure หรือแรงดันอากาศอยู่ภายในครับ เมื่อเรารู้แล้วเราก็ต้องหาวิธีระบายอากาศออกมาให้ได้ หลังจากศึกษาเรื่องส้วมมา พบว่าที่ฐานของโถชักโครก เขาจะออกแบบมา ให้มันมีรูระบายอากาศอยู่ 2 รู ซ้ายและขวา แต่ช่างเขาจะเอาปูนขาวปิดทับไว้อยู่ ลองไปสังเกตดูจะเห็นครับส

ทีนี้ก็เปิดกล่องเครื่องมือ หยิบเอาไขควงสี่แฉกกับฆ้อนออกมาเครื่องมือที่ใช้มีแค่นี้แหละครับ แล้วเดินไปที่โถชักโครกเลยครับ เอาไขควงตอกลงไปที่รูระบายอากาศ ค่อยๆกระเทาะเอาปูนขาวออกมาทีละนิด ตอกลงไปให้ลึกประมาณความหนาของฐานโถชักโครกครับ หลังจากนั้นท่านก็จะได้ยินเสียงลมมันดันออกมาดังฟี้..พร้อมกลิ่น. จากนั้นก็ลองกดชักโครกดู น้ำก็จะไม่ล้นออกมาแล้วครับ.เมื่อน้ำเลิกท่วมแล้วเราก็หาปูนขาวมาอุดรูตามเดิม ลองดูครับเป็นทางเลือกอีกวิธีหนึ่ง ที่จะทำให้เราอยู่กับน้องน้ำไปได้อีกหลายวันเลยทีเดียวาต



ปล. ถ้าลองทำแล้วไม่ได้ผล อาจเป็นสาเหตจากท่อระบายอากาศอุดตันหรือแตกหักก็คงจะใช้วิธีนี้ไม่ได้ แต่เท่าที่ลองสังเกตดู หมู่บ้านที่ผมอยู่ได้ลองแนะนำให้เขาใช้วิธีนี้ส่วนใหญ่ใช้ได้ผลครับ 90% ใช้ได้แต่ถ้าใช้ไม่ได้จริงๆ ก็คงต้องหันไปพึ่งส้วมแบบฉุกเฉินแล้วล่ะครับ

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เห็ดไมคอร์ไรซา (เห็ดตับเต่า,เห็ดเผาะ และเห็ดทรัฟเฟิล)

เห็ดตับเต่า  (คัดลอกจาก  http://anonbiotec.gratis-foros.com/t1382-topic )




เห็ดตับเต่า เป็นเห็ดที่อาศัยอยู่บริเวณปลายรากของต้นไม้หลายชนิด โดยการอยู่ร่วมกันแบบอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน ซึ่งเห็ดตับเต่าเอง มีมากมายหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์ชอบอากาศหนาวเย็น บางสายพันธุ์ชอบอากาศร้อนชื้น แต่ละสายพันธุ์ สามารถอาศัยอยู่กับต้นไม้ที่แตกต่างกันไป เช่น เห็ดตับเต่าเหลือง หรือตับเต่าทอง(Boletus edulis) ที่ชอบขึ้นบนที่สูง อาศัยพืชตระกูลไม้ก่อ ไม้โอ๊คและไม้สน แต่เห็ดตับเต่าที่เกิดที่บ้านเรา เป็นคนละสายพันธุ์ คือ Thaeogyroporus porentosus (berk. ET. Broome ) ซึ่งบางแห่งเรียก เห็ดผึ้ง เห็ดห้า เห็ดผึ้งยูคา เป็นเห็ดที่อาศัยอยู่กับปลายรากพืชได้หลายชนิด เช่น มะกอกน้ำ ทองหลาง แค ลำใย มะม่วง ยี่โถ กระถินณรงค์ ขนุน ส้มโิอ เป็นต้น โดยรากของพืชส่วนใหญ่ ไม่สามารถย่อยเอาสารอาหารบางชนิด เช่น ธาตุฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในดินหรือในปุ๋ยเอาไปใช้ได้โดยตรง มันจำเป็นต้องอาศัยเชื้อเห้ดตับเต่าหรือเชื้อจุลินทรีย์ ทำการย่อยอาหารต่างๆเหล่าให้อยู่ในรูปที่รากพืชสามารถดูดเอาไปใช้ได้เสียก่อน ขณะเดียวกัน เชื้อเห็ดตับเต่า ก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ หากไม่มีอาหารบางชนิด โดยเฉพาะพลังงาน ซึ่งตัวเห็ดเองไม่สามารถที่จะสร้างหรือสังเคราะห์ขึ้นเองได้ มันจำเป็นต้องอาศัยแหล่งพลังงานจากพืชนั่นเอง มันจึงอยู่อาศัยร่วมกันแบ่งพึ่งพา โดยปกติ ในดินจะมีเชื้อจุลินทรีย์หรือเชื้อเห็ดอยู่แล้ว เมื่อรากพืชเจริญออกมาจากเมล็ดแล้ว พอมันใช้อาหารจากเมล็ดที่สะสมอาหารไว้ให้มันใช้ในช่วงที่เป็นต้นกล้า พออาหารจากเนื้อเมล็ดหมด รากของพืชก็จะต้องหาอาหารเอง ซึ่งรากพืชจะเปิดรับเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติที่มีประโยชน์ ให้เข้าไปอาศัยอยู่บริเวณปลายรากฝอยของมัน ต้นที่มีเชื้อจุลินทรีย์หรือเชื้อเห็ดเข้าไปอาศัยอยู่แล้ว การเจริญเติบโตจะเห็นได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ ต้นไม้ที่มีรากที่มีเชื้อจุลินทรีย์หรือเชื้อเห็ดที่มีประโยชน์เข้าไปอาศัยอยู่ที่ปลายราก การเจริญเติบโตของต้นกล้าจะแข็งแรง และรวดเร็วกว่า ต้นกล้าที่รากยังไม่มีเชื้อดังกล่าวเข้าไปอาศัย ด้วยหลักการนี้เอง เราจึงนิยม เอาเชื้อเห็ดใส่เข้าไปในต้นกล้าอ่อนมากกว่า เพราะเชื้อเห็ดจะเข้าไปได้ง่าย และประหยัดเชื้อเห็ดอีกด้วย จากนั้น ให้สังเกตดูว่า มีต้นไหนที่เจริญเด่น และรวดเร็วกว่าปกติ ส่วนใหญ่จะเป็นต้นที่มีเห็ดเจริญเข้าไปในระบบรากแล้ว จึงทำการย้ายต้นกล้านั้นไปปลูกลงแปลงถาวรต่อไป สา่วนการที่จะมีดอกเห็ดตับเต่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่นั้น อยู่ที่จำนวนเชื้อ หรือความหนาแน่นของเส้นใยเห็ด หากมีจำนวนเชื้อมาก และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มันอาจจะออกดอกมาให้เห็นภายในไม่กี่เดือน เช่น 5-6 เดือน ต้นไม้บางชนิด อาจะใช้เวลาแค่ 2-3 เดือน เช่น ต้นยี่โถ ต้นโสน เป็นต้น ต้นไม้บางชนิด อาจใช้เวลาเป็นปีหรือมากกว่า 1 ปี เช่น ส้มโอ มะกอกน้ำ จริงๆแล้ว การกำหนดเวลาการออกดอกเห็ดตับเต่าชุดแรกนั้น อาจจะมีความแตกต่างกันค่อนข้างสูง คาดคะเนยาก แต่ที่น่าสนใจมากๆก็ตรงที่ อาจจะต้องรอคอยสักระยะหนึ่ง แต่พอมีเห็ดเกิดขึ้นแล้ว ทีนี้แหละ เราก็จะมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้นตรงบริเวณรากของพืชชนิดนั้นตลอดไป จนกว่าต้นไม้นั้นๆจะตายไป ต้นไม้บางชนิด อาจจะมีชีวิตอยู่ได้นานนับสิบๆปี อย่างไรก็ตาม จากผลการทดลองของ ดร.อานนท์ พบว่า ในการเพาะเห็ดตับเต่านั้น สามารถทำได้เช่นเดียวกับเห็ดอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยรากต้นไม้สดๆก็ได้ เพียงแต่เอาเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ เข้าไปเพาะเลี้ยงในวัสดุหมัก ที่หมักกับขี้โคลนที่มีอินทรีย์วัตถุสูง เอาโคลนติดมาด้วย ใส่เชื้อเห้ดเข้าไป แล้วนำไปเพาะเลี้ยงเส้นใยที่อุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส ใช้ผ้าพลาสติกคลุมกองหรือตะกร้าเอาไว้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ แล้วนำมาเปิดดอก ให้อากศแล้วรดน้ำ ก็จะมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้นได้ ซึ่ง ดร.อานนท์ มีเป้าหมายที่จะทำการเพาะเห็ดตับเต่าทั้ง 2 วิธี ณ ที่ตั้งของอุทยานเห็ดนานชาติในเร็วๆนี้
ที่ถามว่า วันที่ 15 มีนาคมนั้น เปิดโอกาสให้เฉพาะสมาชิกผู้ผ่านการอบรมเห็ดจากอานนท์ไบโอเทคเท่านั้นเหรอ คำตอบว่าใช่ เพราะเป็นการสมนาคุณต่อสมาชิก ที่อุตส่าห์เสียเงินเสียทอง และสนับสนุนกิจกรรมของอานนท์ไบโอเทคมาด้วยดีตลอด งานคราวนี้ที่จัดขึ้น จะจัดเป็นงานปาร์ตี้อาหารเห็ด โดยจะนำเอาเห็ดมากมายหลายชนิด ทั้งที่เป็นเห็ดที่เพาะในบ้านเรา และเห็ดที่เพาะในต่างประเทศ รวมทั้งเห็ดธรรมชาติที่ใช้เป็นยา หรือเป็นอาหารของชนชั้นสูงหรือเศรษฐีมีเงินในต่างประเทศ เช่น เห็ดทรัฟเฟิล เห็ดมัสสุตาเกะ เห็ดเทียนหม่า ซึ่งเป็นเห็ดที่หายาก ราคาแพงมาก หาทานได้ยากมาก โดยงานคราวนี้ ดร.อานนท์ ได้สั่งเห็ดต่างๆพวกนี้ เข้ามาทำเป็นอาหารเลี้ยงแก่สมาชิก พรรคพวก เพื่อนฝูง ครูบาอาจารย์ ตลอดจนผู้มีอุปการคุณ เช่น ลูกค้าประจำ แม้ว่าจะไม่ได้ผ่านการอบรมไป แต่ใช้ผลิตภัณฑ์ของเราเป็นประจำ ในกรณีของคุณรัชญา ถือว่า เป็นคนที่มีความสนใจเรื่องเห็ดเป็นกรณีพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เห็ดตับเต่า และได้ลงมือทำอยู่แล้ว ซึ่งตรงกับความตั้งใจของ ดร.อานนท์ ที่จะเน้นเรื่องเพาะเห็ดตับเต่าและเห็ดกับต้นไม้อยู่แล้ว หากคุณสนใจที่จะเข้าร่วมในงานดังกล่าว สามารถแจ้งความจำนงไปยัง029083308 และ 0860830202 โดยทางเราขอมอบสิทธิพิเศษให้แก่คุณ แม้ว่า ยังไม่ได้ผ่านการอบรมเห็ดจากทางอานนท์ไบโอเทค และวันที่ 16 มีนาคม จะมีการจัดแรลลี่เห้ดไปยังสถานที่ตั้งใหม่ของอุทยานเห็ดนานาชาติอานนท์เวิลด์ เพื่อไปร่วมกันปลูกต้นไม้ พร้อมทั้งในวันนั้น จะสาธิตการเพาะเห็ดตับเต่าไปด้วย โดยต่างคนต่างไป ทางสถาบันไม่ได้จัดเตรียมพาหนะเดินทางให้ ผู้ที่สนใจ จะต้องไปกันเอง โดยรถจะออกจากทางสถาบันไปพร้อมกันในเวลาประมาณ 8.30 น.ใครที่ไม่มีรถ อาจจะขออาศัยไปกับคนที่มีรถ แล้วช่วยกันออกค่าใช้จ่ายกันตามสมควร จะไปถึงที่ตั้งอุทยานเวลาประมาณ 11.00 น. แล้วก็จะดำเนินการปลูกต้นไม้ร่วมกันในสถานที่ที่จัดไว้ให้




สำหรับการเพาะเห็ดตับเต่าแบบเห็ดฟางนั้น ที่อินเดียเขาเพาะกันได้แล้ว และที่ไทย ก็ดูเหมือนทาง วว.เขาก็เพาะกันได้ โดยไม่ต้องไปอาศัยต้นไม้ เพียงแต่ เอาเศษวัตถุดิบจากต้นไม้ เช่น ใบไม้ ฟาง นำไปหมักกับขี้โคลนไว้สักระยะหนึ่ง เช่น ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แล้ว เอาใส่ตะกร้าหรือกระบะ ใส่เชื้อเห็ดตับเต่าเข้าไปเช่นเดียวกับเห็ดฟาง นำไปบ่มในห้องที่มีอุณหภูมิ 30-32 องศาเซลเซียสประมาณ 3-4 สัปดาห์ เส้นใยเห็ดตับเต่าก็จะกินอาหารกระจายไปทั่ว ให้ดีเอาดินร่วนคลุมอีกครั้งหนาประมาณ 1-2 ซม. แล้วทำการรดน้ำ ให้อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่กี่วัน ก็จะมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้น
ส่วนที่คุณบอกว่า เชื้อเห็ดตับเต่าที่เพาะในวุ้นและข้าวฟ่างเจริญเติบโตช้านั้น มักจะพบในบางสายพันธุ์ แต่บางสายพันธุ์ก็เดินเร็วมาก เช่น ของสถาบันอานนท์ไบโอเทค ใช้เวลาเจริญทั่วขวดประมาณ 3-4 สัปดาห์เท่านั้น ดังนั้น จะต้อวงทำการคัดเลือกเอาสายพันธุ์ที่โตเร็ว ออกดอกและให้ผลผลิตสูง คุณสามารถหาได้จากสถานที่ใกล้บ้านคุณ ที่สถาบันวิจัยพืชสวน เชียงราย เขาทำขายขวดละ 30 บาท แต่ต้องสั่งเขาก่อนล่วงหน้า และเขาไม่มีบริการอย่างอื่น เช่น ไม่บริการส่งให้ เพราะเป็นหน่วยราชการ หากบริการมากกว่านั้น ความดีความชอบและเงินเดือนก็เท่าเดิม อยู่เฉยๆอาจจะดีกว่า

อยากทราบว่าเราสามารถใส่เชื้อเห็ดตับเต่าให้กับต้นไม้ที่เคยใส่ปุ๋ยเคมีได้ไหมครับ มันจะทำลายเชื้อเห็ดที่เราใส่ไปไหมครับ และพื้นที่ที่เคยพ่นยาฆ่าหญ้ามาแล้ว แต่ไม่ได้พ่นมาแล้ว 1 ปีครึ่ง ยังจะมีสารเคมีตกค้างพอที่จะทำลายเชื้อเห็ดไหมครับ หรือว่าสลายไปหมดแล้ว ขอบคุณครับ
อุตส่าห์ตื่นมาแต่เช้า เพื่อทำการตอบข้อซักถามนี้ ซึ่งต้องการอรัมภบทยืดยาวพอสมควร ทำให้ตอบไปได้ระดับหนึ่ง ก็เบรคเพื่อเตรียมตัวส่งหลานรักไปโรงเรียน แล้วก็มาซักผ้า ถูกบ้าน ทานอาหารเช้า ดูงานให้เรียบร้อย แล้วกะว่า จะกลับมาตอบต่ออีก ปรากฏว่า โปรแกรมมันแฮงค์เอาดื้อๆ มันอาจจะโดนไอ้พวกหน้ากากขาวอาลวาดเข้าอีกแล้วกระมัง ข้อความข้างล่างเป็นคำตอบที่ค้างเอาไว้ แล้วก็ทำการ cut screen เอามาให้ดู เพื่อไม่ต้องเสียเวลาย้อนไปอีก ขอให้ทำความเข้าใจไปถึงตอนนี้แล้วเดี๋ยวจะว่าต่อ หลังจากที่อาบน้ำแต่งตัวและใส่เสื้อผ้าแล้ว 

เอาเป็นว่า ก่อนที่จะบรรเลงต่อ อตบเรื่องของคุณให้ตรงประเด็นก่อนว่า คำถามที่ว่า สามารถใส่เชื้อเห็ดตับเต่าเข้าไปในต้นไม้ที่ใช้ปุ๋ยเคมีได้หรือไม่นั้น ตอบว่า ได้ แล้วถามต่อว่า แล้วต้นที่เคยใช้ยาฆ่าหญ้าไปแล้วปีกว่านั้น เป็นอันตรายต่อเห้ดไหม ไม่เป็นไรหรอก ก็ยังใช้ได้ ตัวที่ต้องระวังที่สุด คือ ยาฆ่าเชื้อราสิ ตัวนี้ มีผลกับเห็ดโดยตรง

เอาล่ะ จากนี้ไปก็โม้ต่อ หากว่า มันแฮงส์อีกที ก็ถือว่า ตอบถึงไหนก็เอาแค่นั่นแหละ เพราะจะได้ไปทำงานหาเลี้ยงชีพต่อ 
ต่อจากที่ตอบไว้ว่า เชื้อเห้ดที่อาศัยอยู่ในรากไม้ หากมีมากพอ แก่พอ หากสภาพแวดล้อม ดินฟ้าอากาศเหมาะสม ก็จะมีเห็ดเกิดขึ้น แล้วก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งต้นไม้โตมากขึ้น ทรงพุ่มโตขึ้น ระบบรากแข็งแรง ก็จะมีเห็ดเกิดขึ้นทุกปีบริเวณเดิมนั่นเอง จนกระทั่งต้นไม้ตายไป ทีนี้เอามาเจาะลึก เพื่อขยายความว่า ทำไมตอบว่า ใช้ปุ๋ยเคมีก็ได้นั้น ก็เพราะว่า ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือเชื้อเห็ด หากจะให้มันเจริญได้อย่างสมบูรณ์ มันก็จะต้องมีอาหารสมบูรณ์ด้วย ทั้งตัวต้นไม้และเชื้อเห็ด ต่างฝ่ายต่างไม่สามารถที่จะเนรมิตอาหารขึ้นมาเองได้ แม้ว่าต้นไม้ จะสามารถใช้น้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สังเคราะห์อาหารประเภทน้ำตาลได้จากอากาศและน้ำก็ตาม แต่ต้นไม้ทุกชนิด รวมทั้งเห็ดด้วยต้องการอาหารมากกว่า 16 ชนิด ชนิดที่พืชสร้างได้ มันได้เพียงพลังงานเท่านั้น แล้วธาตุอาหารอย่างอื่นล้วนแล้วจะต้องมาจากดิน แล้วทีนี้ดินที่เราปลูกพืชไปนานๆ อาหารที่มีประโยชน์ต่อทั้งพืชทั้งเห็ดบางตัวก็อาจจะหร่อยหรอลดน้อยถอยลง ส่วนนี้เอง ที่ธาตุอาหารที่ขาด จะเป็นปัจจัยในการควบคุมผลผลิต ตรงกับหลัก Law of minimum ของกฏ Liebig นั่นเอง ดังนั้น การปลูกพืชแล้วใส่ปุ๋ย ไม่มีผลเสียอะไรกับเห็ด ยกเว้นปุ๋ยนั้น อยู่ในรูปหรือสภาพที่เป็นพิษต่อเห็ด ส่วนใหญ่มีน้อยมาก แต่อย่าลืมว่า ธาตุอาหารบางอย่างที่พืชต้องการ มักจะอยู่ในรูปที่พืชเอาไปใช้ไม่ได้ ยกตัวอย่าง เช่น ธาตุฟอสฟอรัส หากอยู่ในรูปเกลือฟอสเฟต มันจะจับกันแน่นมาก เช่น กระดูกหรือหินฟอสเฟต พืชจะเอาไปใช้ได้เลย เว้นเสียแต่ว่า มันถูกย่อยด้วยกรดรุนแรงหรือเอ็นไซม์จากเห้ดให้อยู่ในรูปที่พืชเอาไปใช้ได้เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น กระดูก หรือหินฟอสเฟต แม้ว่าจะมีจำนวนฟอสฟอรัสสูง เช่น ปริมาณฟอสเฟตสูง 18-30% แต่ปริมาณที่พืชเอาไปแใช้ได้แค่ 3 ๔ ทางกฏหมายเขาจึงบังคับให้ระบุว่า หินฟอสเฟต มีปริมาณกรดฟอสฟอริก หรือฟอสฟอรัสที่พืชเอาไปใช้ได้แค่ 3 % ดังนั้น สูตรของหินฟอสเฟตจึงเป็น 0-3-0 แต่ทำไมล่ะ เราจึงแนะนำให้ใช้หินฟอสเฟตใส่เข้าไปในการปลูกพืชใหม่ๆ โดยใส่วางก้นหลุม หรือในการเพาะเห็ดให้ได้ผลผลิตสูง ดอกเห็ดทนทานไม่เน่าเละหรือช้ำง่ายนั้น มักจะถูกแนะนำให้ใช้หินฟอสเฟตใส่เข้าไป แม้ว่า ปริมาณฟอสฟอรัสที่พืชเอาไปใช้ได้น้อยนั้น มันเป็นคนละกรณีกัน ทั้งนี้เนื่องจาก กฏหมายเขาให้ระบุที่ 3% นั้น ถือเอาเรื่องพืชเป็นเกณฑ์ แต่สำหรับเห็ดแล้ว มันมีความสามารถในการย่อยสลายเกลือฟอสเฟตจากกระดูกหรือจากหินฟอสเฟตได้เอ็นไซม์ของมัน ด้วยเหตุนี้ หากรากพืชมีเชื้อเห็ดพวกนี้อยู่ เส้นใยของเห็ด มันสามารถไปย่อยเกลือฟอสเฟตที่จับกันแน่น ให้ออกมาอยู่ในรูปที่พืชเอาไปใช้ได้ ดังนั้น การที่เราใส่ปุ๋ยเคมีเข้าไปในต้นไม้นั้น และที่รากของต้นไม้นั้นมีเชื้อเห็ดอยู่ จะทำให้ต้นไม้นั้นเจริญเติบโต ออกดอกออกผลดีขึ้น ที่สำคัญก็จะได้เห็ดมากยิ่งขึ้นด้วย สำหรับยาฆ่าหญ้านั้น หากใช้ประเภทดูดซึม อาจจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดที่อาศัยที่รากต้นไม้นั้นได้ และอาจจะส่งผลถึงผลผลิตเห็ดในฤดูกาลนั้นๆ แต่พอฤทธิ์ของยาฆ่ายาลดลงหรือหมดไป เชื้อเห็ดก็จะปรับตัวและเพิ่มจำนวนขึ้ตามการเจริญเติบโตหรือเพิ่มจำนวนของรากพืช แล้วจะทำให้ผลผลิตของเห็ดต่อๆไปค่อยๆดีขึ้น ดังนั้น ช่วยกันเถอะ ช่วยกันรณรงค์ปลูกต้นไม้ โดยอย่าลืมเอาเชื้อเห็ดใส่เข้าไปด้วย โดยการใส่เชื้อเห็ดนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เชื้อบริสุทธิ์ ใช้เชื้อจากสปอร์ กล่าวคือ ใช้ดอกเห็ดที่แก่เต็มที่ เอามาขยำกับน้ำแล้วราดบริเวณรากของต้นไม้ กรรมวิธีที่ดีที่สุดที่จะรู้ว่า ต้นไม้อะไร ใช้ได้ดับเห็ดอะไร ให้สังเกตจากธรรมชาติดู เช่น เห็ดถอบหรือเห็ดเพาะ มักจะเกิดใต้ต้นยางนา ต้นเต็ง หรือต้นจิกหรือต้นเค็ง ในฤดูที่มีเห็ดเกิดขึ้น เมื่อเจอดอกเห็ดในบริเวณโคนต้น ควรจะปล่อยให้บางดอกโตเต็มที่จนสร้างสปอร์ แล้วเอามาขยำกับน้ำแล้วไปราดใส่โคนต้นไม้ต้นที่ไม่มีเห็ดเกิดขึ้น ทำการราดหลายๆครั้ง จนกระทั่งเห็นเห็ดเกิดขึ้นแล้ว ต่อไปก็ไม่จำเป็นจะต้องราดสปอร์อีกต่อไป เช่นเดียวกับเห็ดตับเต่า ที่เกิดตามใต้ต้นแค ต้นขนุน ส้มโอ ทองหลาง หากเจอ ควรปล่อยให้แก่ แล้วก็เอามาทำน้ำสปอร์แล้วเอาไปราดต้นที่ยังไม่มีเห็ด ยิ่งเป็นต้นกล้าได้จะดีมาก หากทำเช่นนี้ได้ แล้วหลายคน หลายหมู่บ้าน หลายชุมชนช่วยกันทำ วิธีนี้เท่านั้น ที่จะทำให้ประเทศไทยเรามีป่าอุดมสมบูรณ์ ที่สำคัญจะมีเห็ดที่เป็นทั้งอาหารและยาที่มีราคาแพงตลอดไป อยากวิงวอนให้คนทุกภาค โดยเฉพาะภาคเหนือ ให้ช่วยกันเพาะเห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ เห้ดห้าหรือเห้ดตับเต่า ทางอิสานก็เช่นกัน ส่วงนทางภาคใต้ที่นิยมทานเห็ดเสม็ดนั้น ก็ควรทำแบบเดียวกัน โดยเห้ดเสม็ดนั้น ไม่ได้ขึ้นเฉพาะต้นเสม็ดเท่านั้น แม้กระทั่งต้นยูคาก็ขึ้นได้ ดังนั้น หากเจอเห็ดเสม็ดแก่ๆ ก็ควรเอาไปรดหรือราดในป่ายูคา ก็จะได้เห็ดเสม็ดเกิดขึ้นได้ ต้นยูคาก็จะโตไวด้วย ทั้งหมดนี้เป็นเกร็ดเล็กๆน้อยๆที่ผมพอมี และมีความสนุกที่อยากจะตอบในเรื่อง เห็ดกับพืชมากๆ
และก็มีอีกเรื่องที่อยากตอบมากที่สุด และโดนฝรั่งที่เป็นเพื่อนสนิท ที่เป็นผู้เพาะเห็ดรายใหญ่ของยุโรปรายหนึ่ง ได้ตำหนิว่า ในฐานะที่สถาบันอานนท์ไบโอเทค เป็นผู้นำเรื่องเห็ดมากว่า 40 ปี ตั้งแต่เมืองไทย ยังไม่ประสีประสาเรื่องการเพาะเห็ดเลย จนกระทั่งบัดนี้ การเพาะเห้ดของประเทศไทยก้าวหน้าไม่แพ้ใครในโลก แต่ทำไม ประเทศไทย จึงไม่มีใครสนใจ หรือมีเห็ดที่คนทั้งโลกเขาเพาะกัน คือ เห็ดกระดุม หรือเห็ดฝรั่ง หรือเห็ดแชมปิญอง ที่ทั่วโลกเขาทำกันเป็นร่ำเป็นสัน แล้วเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาสูงสุดแล้วในบรรดาเห็ดที่เพาะกันได้ในโลก เขาตำหนิว่า ทำไม ดร.อานนท์ สามารถสนับสนุนให้คนไทยเพาะเห็ดอะไรต่ออะไรที่ยากๆได้อย่างน่าทึ่งและเหลือเชื่อมาก แล้ว ดร.อานนท์คนนี้เอง ที่ทางองค์การสหประชาชาติ ได้จ้างไปเป็นผู้เชี่ยวชาญเห็ดในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไปสอนให้เขาเพาะเห้ดกระดุมกัน แต่ทำไม บ้านเกิดของตัวเองถึงไม่ส่งเสริม ทำไมต้องซื้อมาจากต่างประเทศล่ะ นี่ไง โดนเข้าแล้วไง แล้ว ทำไมไม่มีคนถามเรื่องนี้เลย รอคำถามที่จะตอบอยู่ครับ


ตอนนี้ผมทำไปแล้วประมาณ 70 ต้น จากเมล็ดแคของอาจารย์ตอนที่ไปแรลี่เห็ดที่ลพบุรี เดือนมีนาที่ผ่านมาครับ ปลูกไปแล้วที่สวนของเพื่อน ผมกำลังทำเพิ่มเติม โดยหาเมล็ดแคมาปลูกใหม่กับตับเต่าที่ไปซื้อที่ตลาดไท จะไปลงที่วังน้ำเขียวกะว่าจะทำไร่ต้นแค เพื่อเอาไม้มาเพาะเห็ดโดยเฉพาะเห็ดหูหนูครับ แต่มีปัญหาว่า อาจารย์ยังไม่เคยพูดถึงการจัดการ เกี่ยวกับปลูกป่าเลยครับ ผมยังคิดไม่ออกว่า เมื่อผมตัดไม้แคที่มีอายุ 3 ปี มาเพาะเห็ดแล้วควรจะทำอย่างไร
1. ตัดต้นแค ตัดชิดโคนต้นหรือตัดให้สูงขี้นมา เพื่อ
2. ให้ต้นแค แตกลำขึ้นมาใหม่ดี หรือ ขุดตอทิ้งปลูกใหม่
3. ผมพยายามหาข้อมูลมูลค่าซื้อขายไม้สำหรับเพาะเห็ด ยังไม่มีเลยครับ

ก็เป็นโครงการที่เปลี่ยนชีวิตจากข้าราชการไปเป็นเกษตรกรใน4-5 ปีข้างหน้านี้อะครับ จึงค่อยเป็นค่อยไปครับไม่มีทุนไปทุ่มอะครับาหมายสุดท้ายของผลการทดลอง ผลการวิจัย ก็ย่อมที่จะนำเอาออกมาคุย ออกมาเผยแพร่ให้สมาชิกของอานนท์ไบโอเทคให้ทราบเป็นระยะๆอยู่ดี มีหลายต่อหลายคน พอไปเห็นอะไรต่ออะไรที่ทางอานนท์ปลูกไว้ บางทีไม่ได้ไถ่ไม่ได้ถาม พอเห็นมีผล มีเมล็ด ก็ทั้งดึง ทั้งทึ้งเอาไปเพื่อทำการขยายพันธุ์ต่อ เผื่อจะได้ให้เหมือนอาจารย์ ต้องบอกก่อนว่า อาจารย์ไม่ใช่เทวดา รู้ไปทุกเรื่อง เก่งไปทุกเรื่อง เอาเรื่อง เฉพาะต้นแคสิ ตอนทดลองอยู่ที่ศูนย์ใหญ่ที่ซอยไอยรา 38 ทดลองนำเอาแคพันธุ์ต่างๆมาเพาะในวงคอนกรีตขนาด 90 ซม. พบว่า แคพันธุ์สีแดง โตไวมาก นอกจากนี้ให้ดอกเยอะมากเมื่ออายุแค่ 3 เดือนเท่านั้น ส่วนแคอื่นๆ ไม่น่าสนใจเท่าไหร่ จากข้อมูลที่เราทำในส่วนที่มีการกำหนด คือ เพาะในถัง ข้างล่างเป็นคอนกรีต ผลจึงเป็นเช่นนี้ แต่พอเอาไปขยายผลเป็นเรื่องเป็นราว ปรากฏว่า ผลออกมาเช่นเดิมใน 2-3 เดือนแรก กล่าวคือ แคพันธุ์ดอกแดง โตไย ออกดอกไว แคพันธุ์อื่น โตไว ต้นสูง ออกดอกช้า พอเวลาผ่านไป 1 ปี ปรากฏว่า พันธุ์ดอกแดง โตช้ามากมัวแต่ออกดอก เช่นเดียวกับแคขาวบางพันธุ์ทำท่าว่าจะโตไว ออกดอกเร็ว พอครบปี ก็ชงักงันเหมือนกัน ซื่งแคพวกนี้ ชาวบ้านนิยมปลูกกันมาก เพื่อจะทำการเก็บดอกขาย ซึ่งแคพันธุ์นี้ มักจะเรียกว่า แคตอแหล(คงไม่เหมือนกับรังสิมาน๊ะ) ผิดกับแคพื้นบ้านบางสายพันธุ์ ออกดอกช้ามาก แต่ต้นโตไว มีพุ่มสวย พันธุ์นี้แหละครับ เหมาะนักสำหรับที่ใช้ทำการปลูก เพื่อใช้ต้นมาเพาะเห็ดหูหนู และการตัดเอาไปใช้ ให้ตัดชิดโคน เพื่อให้มีกิ่งใหม่เกิดขึ้นจะดีกว่า สำคัญว่า ต้นใหม่ที่เกิดขึ้นนั้น มันจะเกิดขึ้นเยอะมาก ต้นรุ่นต่อไปจะมีขนาดเล็ก ตรงนี้ เราต้องทำการสางกิ่ง ให้เหลือกิ่งที่สวยๆไว้สัก 3-4 กิ่ง ก็จะได้ลำต้นรุ่นต่อไปสวยและเร็วกว่าปลูกใหม่ครับ เอาไว้อีกไม่นาน หากทางอานนท์ไบโอเทคสะสมเมล็ดพันธุ์แคพันธุ์โตเร็วได้มากพอ จะแจ้งให้ทราบ มาแบ่งปันเอาไปปลูกกันได้ วันหลัง อยากได้อะไร ขอให้ถามก่อนน๊ะครับ จะได้ไม่เสียเวลา แล้วจะได้ไม่ต้องให้เพื่อนเอาแคตอแหลไปปลูก เดี๋ยวรังสิมาจะตามไปกระชากเก้าอี้อีก


ที่จริงตั้งใจจะโพส์ตมานานแล้วแต่หวันว่าจะโดนเทศนา      ได้ยินอาจารย์บอกหลายครั้งตอนอบรมว่าต้องการอะไรให้บอก ให้ขอ ให้ถามก่อน ตอนเก็บเมล็ดไปพี่ติ๋ม(ไม่รู้จำชื่อผิดหรือเปล่า)ทีอยู่ตลาดไท แก่บอกให้เอาจากต้นนี้ไป แกบอกว่าโตเร็วออกดอกไว้กว่าไม่เกินปีก็นะได้ดอกแล้ว น่าจะเป็นแคตอแหลจริงๆ แหละครับ ไม่เป็นไรครับ อาจารย์เทศนามาก็เป็นเรื่องธรรมดาแสดงถึงความรักที่มีต่อศิษย์ ขณะเดียวกันศิษย์ก็เกเรเป็นปกติ............

1. อาจารย์ครับแสดงว่าการปลูกแคเพื่อเอาไม้ กับเพื่อเอาเห็ดตับเต่าและเก็บดอกขาย ก็ต้องเลือกวัตถุประสงค์ว่าต้องการอะไรมากกว่ากัน การที่โตเร็วก็เป็นประโยชน์กับเห็ดเก็บเห็ดได้เร็วขึ้น(หรือเปล่า) แคออกดอกเร็วก็แปลว่ารายได้จากดอกเก็บได้เร็วกว่า
2. ต้นแคพันธ์ที่โตเร็วแล้วชะงักไปในปีถัดไป(แคตอแหล)เมื่อทำให้ติดเชื้อเห็ดแล้วสามารถแก้ปัญหานี้ได้หรือเปล่าครับ
3. แต่เดิมผมคิดว่าจะปลูกแคในระยะชิด ซัก 50-70 เซ็นต์ต่อต้นต่อแถวเพื่อให้ลำต้นมันยึดสูงขึ้นลดการแตกพุ่มใช้ได้หรือเปล่าครับผมคิดว่ามันน่าจะมีร่มเงามากด้วยน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเห็ด แต่เห็นอาจารย์ว่าพันธ์ที่มีดอกช้าโตไว้พุ่มสวยเหมาะสำหรับปลูกเอาไม้ เหมือนกับต้องมีระยะให้แตกพุ่มต้นเพื่อจะใช้ประโยชน์จากกิ่งด้วยเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
4. อาจารย์ครับถ้าเราไม่ปล่อยให้เป็นไปตามฤดูกาล โดยเราพยามรักษาความชื้นหน้าดิน จากการปลูกระยะชิดก็ดี การห่มดินก็ดี การใช้สปริงเกอร์ช่วย จะทำให้เราเก็บเห็ดได้ตลอดทั้งปีหรือเปล่าครับ
5. ตอนที่ยืนฟังอาจารย์บรรยายที่ลพบุรีข้างต้นแค ผมฟังจบแล้วเขาใจว่าการทำให้ต้นแคติดเชื้อเห็ตตับเต่าจะช่วยทำให้แคโตเร็วกว่าปกติ และถ้าเราสามารถควบคุ้มระบบนเวศใต้ต้นแคได้ก็ช่วยให้เก็บเห็ดได้โดยไม่ต้องรอฤดูกาล พอแคอายุ 3 ปีก็ใช้ไม้ได้ เลยเกิดโครงการนี้ขึ้นมา ก็เลยรีบลงมือปฏิบัติทดลองเลยครับ 


ต้องขอบคุณๆปรีชามาก ที่ได้เอาเห็ดตับเต่าที่เกิดขึ้นใต้ต้นทองหลางมาให้ดู ช่วงนี้ ทั้งเห็ดตับเต่า เห็ดเผาะ เห็ดโคน เห็ดเสม็ด เห็ดระโงก เห็ดมันปู และอีกมากต่อมาก ที่เป็นไมโคไรซ่า ต่างพรั่งพรูกันออกมาเยอะมากๆ และได้มีคำถามเกี่ยวกับการเพาะเห็ดที่เป็นไมโคไรซากับต้นไม้มากขึ้นและถี่ขึ้น น่าจะเป็นสัญญานที่ดี เพราะตั้งแต่ปี 2525 ที่ไปอยู่ฝรั่งเศส ไปเห็นเขาเพาะเห็ดตับเต่ากันอย่างแพร่หลายและจริงจัง ด้วยการปลูกต้นโอ๊ค กว่าจะผลิตกล้าต้นเล็กๆได้ ก็ปาไป 2 ปีแล้ว ได้ต้นกล้าสูงแค่ฟุตเดียวก็ดีใจกันแล้ว(ที่ว่าสูง 1 ฟุต หมายถึงต้นกล้าที่มีเชื้อเห็ดตับเต่าเจริญเข้าไปที่รากแล้ว ส่วนที่ยังไม่มีเชื้อเห็ดเข้าไป ก็แค่ 4-5 นิ้วงันอยู่อย่างนั่นแหละ) จากนั้น เขาก็เอาต้นที่มีลักษณะเด่น ที่มีเชื้อเห็ดเข้าไปอาศัยอยู่ที่ปลายรากแล้ว จะสังเกตเห็นที่ปลายรากหนา คล้ายกับปมในรากถั่ว แต่จะเล็กและแนบแน่นกว่า ที่แน่ๆ ต้นจะโตเร็วกว่าอย่างเห็นได้ชัด แล้วนำไปปลูกเป็นสวนป่า รักษาสวนป่าให้ดี ประมาณ 12-15 ปี ก็จะมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้น และก็จะเก็บเห็ดตับเต่าเพิ่มขึ้นทุกปีตามขนาดของต้นไม้ที่ใหญ่โตขึ้น ถามเขาว่า มันจะคุ้มเหรอที่กว่าจะเพาะเห้ดได้ต้องใช้เวลาเป็นสิบๆปี เขาบอกว่าคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม เพราะอย่างน้อย การปลูกต้นไม้ ก็เท่ากับเป็นการปลูกป่าให้มีต้นไม้คอยดูดซับอากาศเสียและทำให้ฟ้าฝนตกตามฤดูกาล และเป็นการอนุรักษ์ดินให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติที่สุด ในระยะแรกๆ เขาจะปลูกกันถี่มาก เพราะจะได้มีรากต้นโอ๊คกระจายทั่วพื้นที่ได้เร็ว ทำให้เชื้อเห็ดตับเต่ากระจายทั่วได้เร็วเช่นกัน จากนั้น เมื่อต้นไม้เริ่มโตขึ้นมากแลบ้ว เขาจะตัดสางให้ห่างขึ้น นั่นก็หมายความว่า เขาก็จะได้ไม้เอาไปในการก่อสร้างหรือใช้เป็นเชื้อเพลิงสีเขียวอีก แต่พอได้เห็ด ทำการเก็บเกี่ยวเห้ดได้แล้ว จากนั้นไป ก็จะได้ไปทุกปี จนกระทั่งหมดอายุขัยของต้นไม้ พูดง่ายๆ ก็คือ คนปลูกอาจจะตายไปหลายรอบกว่าที่ต้นไม้จะตาย นั่นก็หมายความว่า แม้ว่า ระยะเริ่มแรกอาจจะช้า แต่มันจะมีเห็ดกินไปตลอดชั่วลูกชั่วหลาน ฝรั่ง เวลาเขาศึกษาอะไรเขาศึกษากันแบบกัดไม่ปล่อย พอศึกษาแล้ว เขาก็คิดกันต่อว่า จะนำเอาความรู้ที่ได้ไปต่อยอด ไปทำเป็นธุรกิจได้อย่างไร ก็ไปเจอสมัยที่ ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ได้ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุโส เกี่ยวกับเห็ด ให้แก่ องค์การค้าโลก แห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศสวาซิแลนด์และประเทศเลโซโถ ถึงจะถึงบางอ้อว่า นี่ไง สิ่งที่คนผิวขาวเขาทำการต่อยอดธุรกิจที่เขาได้จากการศึกษาค้นคว้าวิจัยชนิดที่กัดไม่ปล่อยและก็ทำกันจริงๆจังๆ ซึ่งครั้งหนึงในประเทศไทยเคยเกิดขึ้น สมัยอาจารย์ ดร.ก่าน ชลวิจารณ์และ อ.พันธุ์ทวี ภักดีดินแดน ทำการวิจัยเรื่อวงเห็ดกันอย่างจริงจังในช่วงปี 2515-2520 มาเสีย มาแย่ มาเละตุ้มเปะ ก็สมัยไอ้ห้อย เข้ามายึดกรมวิชาการเกษตรนี่แหละ เละจนไม่มีอะไรเหลือที่เป็นงานเด่นทางวิชาการอะไรเลย เอาก็ช่างมัน มันกู้คืนไม่ได้แล้ว เอาเรื่อง เห็ดเราต่อก็แล้วกัน พวกผิวขาว เขาก็เห็นว่า ที่แอฟริกานั้น คนยังโง่อยู่ คนถูกล้างสมองให้เรียนสูงๆ จบ ด๊อกเตอร์กันเต็มบ้านเต็มเมือง ผูกไท้ ใส่สูทกันขวักไขว่ แล้วก็ต่างแย่งกันเข้าทำงานเป็นข้าราชการหรือทำงานในห้างร้านกันหมด ขณะที่ชาวบ้าน ก็ถูกล้างสมองผิดๆ ด้วยการเอาสิ่งยั่วยุสมัยใหม่เข้าไปล่อ ชาวบ้าน ชาวช่องก็ตัดไม้ทำลายป่า ประเทศอย่างสวาซิแลนด์ ที่เป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากทะเลติดกับประเทศโมซัมบิก ที่มีอากาศร้อน นายกไทยกำลังจะไปเยือน และอีกด้านหนึ่งของประเทศสวาซิแลนด์ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ ที่เป็รนที่ราบสูง อากาศหนาวเย็น ดังนั้น บรรยากาศของสวาซิแลนด์จึงกึ่งร้อนกึ่งเย็น มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์มาก แต่ด้วยความที่ถูกล้างสมองโดยประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ พื้นที่ของประเทศที่เคยเป็นป่า ก็ถูกตัดจะเกือบจะกลายเป็นทะเลทราย พอมารู้ตัวอีกที ก็ภูเขาหัวโล้นหมดแล้ว ผลสุดท้ายก็แก้ปัญหาเองไม่ได้ เพราะคนทั้งประเทศมัวไปเป็นข้าราชการและทำงานห้างร้านบริษัทเสียส่วนใหญ่ ก็เลยไม่รู้ว่าจะไปแก้ไขปัญหาได้เช่นไร ผลสุดท้ายก้ไปเชิญชวน ขอร้องให้ต่างประเทศมาช่วยเหลือ ก็ได้รับความช่วยเหลือแบบชนิดที่เป็นบุญเป็นคุณเหลือเกิน จากครอบครัวคนอิตาลีที่มีอาชีพเก็บเห็ดตับเต่าป่าจากอิตาลีขายไปทั่วโลกแต่ไม่พอ คนอิตาลีครอบครัวนี้ ก็เลยเสนอโครงการให้แก่กษัตริย์สวาซิแลนด์ว่า จะขอทำหน้าที่ช่วยปลูกป่าให้ แต่รัฐบาลสวาซิแลนด์จะต้องเป็นฝ่ายไปกู้เงินมาให้ และมอบพื้นที่ให้เขาบริหาร แล้วจะเอาผลประโยชน์เรื่องไม้แบ่งปันกันในอนาคตอีก 20-50 ปีภายภาคหน้า ส่วนผลผลิตอะไรที่เกิดขึ้น ระหว่างที่เป็นป่าหรือต้นไม้เจริญเติบโตนั้น เป็นผลพลอยได้ที่ผู้บริหารพึงได้ รัฐบาลสวาซิแลนด์ไม่เกี่ยว ก็ปรากฏว่า ขณะนี้ ครอบครัวอิตาลีนี้ สามรารถเนรมิตผืนป่าเขียวชอุ่มให้แก่ประเทศสวาซิแลนด์ได้ ทำให้คนสวาซิแลนด์ต่างภูมิใจ ดีอกดีใจในควาสำเร็จดังกล่าว แล้วมอบความเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ที่สามารถชี้นิ้วสั่งการและจะเอาที่ไหนก็ได้ในประเทศ โดยการเอาโครงการปลูกป่าบังหน้าได้ทุกที่ และด้วยความด้อยปัญญาของเจ้าของและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ หารู้ไม่ว่า ประเทศสวาซิแลนด์ แม้ว่า เป็นประเทศที่เล็กนิดเดียว เท่าจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น แต่กลับเป็นประเทศที่ผลิตเห็ดตับเต่ามากที่สุดในโลก โดยคนสวาซิแลนด์ไม่ทราบกันเลย สมัยแรกๆตอนที่ ดร.อานนท์ทำงานอยู่ที่นั่น พยายามที่จะส่งข้อมูลมายังฝ่ายราชการของไทยว่า มีหลายประเทศของแอฟริกาที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะที่มาดากัสการ์ โมซัมบิก แอฟริกาใต้ สวาซิแลนด์ กานา เซียราลีโอน ปรากฏว่า ไม่มีหน่วยงานใดสนใจเลย ดร.อานนท์ จึงเขียน จดหมายยาวถึง 34 หน้า ไปถึงคนหนุ่มไฟแรง ที่ยังไม่มีชื่อเสียงอะไร เป็นติวเตอร์อยู่แถวมหาวิทยาลัยรามคำแหง ชื่อ รตอ.นิติภูมิ นวรัตน์ (ไม่ทราบว่า ตอนนี้ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่) เชิญชวนแกไปที่แอฟริกา ตอนแรกแกก็เล่นตัวไม่ไป เพราะแกกลัวความป่าเถื่อนที่แอฟริกา เพราะแกไม่เคยไป แกมีแต่อ่าน แต่จินตนาการ แต่พูดเก่ง เขียนเก่ง ตอนหลังแกตัดสินใจไป ไปอยู่ที่บ้าน ดร.อานนท์ ที่เมือง Randfontein กรุงโจฮันเนสเบริก ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งแกตกใจและไม่เคยคิดมาก่อนว่า บางประเทศในแอฟริกาเจริญกว่าประเทศไทยเสียอีก จากนั้นแกก็เริ่มเขียนในไทยรัฐ และ ดร.อานนท์ ก็ได้รับเชิญให้มาพูดเรื่อง ของแอฟริกา อย่างถี่ยิบ พอให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์จะหมดไส้หมดพุง จนอีตานิติภูมิกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญแอฟริกาโด่งดังไปทั่วและมีคนไทยหลั่งไหลกันไปอยู่แอฟริกากันอย่างไร้ทิศทาง แล้วเราก็กลายเป็นแค่สะพานคนข้ามเท่านั้น แต่ก็ไม่เป็นไร กรรมถูกกำหนดให้เป็นเช่นนั้น แต่สิ่งที่ได้มาจากการไปทำงานที่นั่นมามันคุ้มมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง การเพาะเห็ดกับต้นไม้ ที่ตราตรึงอยู่ในหัวจิตหัวใจก็เรื่อง เห็ดตับเต่านี่แหละ เพราะเป็นเห็ดที่คนไทยรู้จักและนิยมบริโภคกันมาตั้งนานแล้ว แต่ก็ทานกันอย่างกล้าๆกลัว ยิ่งดูรูปร่าง หน้าตาดำๆเหลืองๆแล้ว ยังชวนให้สงสัยว่าทานได้หรือไม่ ดังนั้น คนที่เคยทานเห็ดตับเต่า ก็จะเป็นระดับชาวบ้านที่อยู่กลางไร่กลางนา อยู่บ้านนอก หรืออาศัยของป่า ที่คนกรุงเขาเรียกว่า บ้านนอก ทำให้เห็ดตับเต่าบ้านเรา จัดอันดับเป็นสินค้าบ้านนอกไป จะเห็นได้ว่า เห็ดตับเต่า แม้ว่าจะมีให้เห็นทุกปี มีขายตามข้างทาง ทั้งภาคกลาง ทางเหนือ อิสาน ก็จำกัดขายกันบริเวณริมทางเท่านั้น แทบจะไม่เคยมีปรากฏให้เห็นว่า เห็ดตับเต่ามีขายตามห้างตามเหลาเลย ผิดกันกับต่างประเทศ เห็ดตับเต่าถือว่า เป็นอาหารที่มีราคาแพง เป็นอาหารของคนชั้นสูง บางประเทศ เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส ทำการค้าขายเห็ดตับเต่ากันเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นธุรกิจข้ามชาติไป และตอนนี้ จีน กลายเป็นปีระเทศที่ทำการเพาะและผลิตเห็ดตับเต่าที่ใหญ่ที่สุดของโลกที่น่าจับตาที่สุด เอาล่ะ ขอละบายสิ่งที่อัดอั้นตันใจมาหลายสิบปีแล้วพอแก่กาลเวลาแล้ว วกกลับมาไทยเสียที ต้องขอยืนยันนั่งยันเลยว่า ไม่มีที่ไหนในโลก สามารถเพาะเห้ดตับเต่าได้ดี และเร็วเท่ากับประเทศไทย และประเทศไทย น่าจะเป็นประเทศที่มีการเพาะเห็ดตับเต่าที่ถูกวิธีมาก่อนประเทศอื่นใดในโลกเสียอีก หากไม่เชื่่อ ให้ไปดูที่หมู่บ้านสามเรือน ถนนโรจน บางประอิน ใกล้ๆกับอานนท์ไบโอเทคดูสิ ที่นี้เขาเพาะเห็ดตับเต่าสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นร้อยๆปีแล้ว ด้วยการเพาะตามรากต้นโสน ที่มีอายุแค่ 2-3 เดือนเท่านั้น ขณะที่ต่างประเทศใช้เวลาเป็นสิบๆปี และเป็นกาเพาะแบบเลียนแบบธรรมชาติที่ดีที่สุด แน่นอนที่สุดและถูกต้องที่สุด ที่ย้ำเช่นนี้ ก็เพื่อจะเป็นสติเตือนใจแก่บรรดาที่รู้นิดรู้หน่อยแล้วฟุ้งซ่าน คิดว่าตัวเองรอบรู้ไปหมด ดูอย่าง เห็ดถั่งเช่าสีทองสิ บางคนพอเพาะได้นิดหน่อยหรือไปดูเขาเพาะมา กลายเป็นอาจารย์เห็ดที่โด่งดังกันเต็มบ้านเต็มเมือง พอเพาะออกมาแล้ว ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เอาไปขายให้ใคร แต่การเพาะเห็ดตับเต่าที่บ้านสามเรือนนั้น เขาทำการเพาะกันจากการที่อาศัยการสังเกตจากธรรมชาติ พอเขาเห็นว่า ที่ไหนมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้น ส่วนหนึ่งที่จะเก็บกินหรือเก็บขายได้ก็เก็บไป บางส่วนที่แก่เกินไป เขาก็เอามาขยำกับน้ำ แล้วไปราดใส่ต้นไม้ไม่ว่าจะเป็นโสน ขนุน ยูคา กระถินณรงค์ ชขุมเห็ดเทศ แค ส้มโอ ก็จะมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้น ยิ่ง หากเอาส่วนที่เป็นดินที่ใกล้บริเวณที่มีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้น เอาไปใส่ให้แก่กล้าไม้หรือต้นไม้ที่ไม่เคยมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้น อีกไม่นานก็จะมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้น ซึ่งวิธีนี้ ดีกว่าจะไปใช้เชื้อบริสุทธิ์เสียอีก ทั้งนี้เพราะ ปัจจัยธรรมชาติ ยังมีสิ่งลี้ลับที่เรายังหาไม่เจออีกเยอะ ยกตัวอย่าง เช่น เห็ดเยื่อไผ่ เวลาเราเอาดอกเห้ดหรือสปอร์มาเพาะเลี้ยงในอาหารบริสุทธิ์ กว่า เส้นใยเห้ดจะเจริญทั่ววัสดุเพาะ ใช้เวลาหลายเดือน แต่พอเอาไปใส่วัสดุเพาะ ปรากฏว่า ใช้เวลาแค่ 1-2 สัปดาห์เท่านั้น เส้นใยเห้ดจะเจริญไปทั่ววัสดุเพาะและอีกไม่กี่วันก็จะมีดอกเห็ดให้เห็น ดังนั้น ขอย้ำในที่นี้เลยว่า เชื้อไมโคไรซา รวมทั้งเห็ดที่เกิดร่วมกับต้นไม้นั้น วิธีการขยายเชื้อที่ดีที่สุด คือ การใช้ดินและสปอร์ของเห็ดนั้นๆ เอาไปใส่ต้นไม้เป้าหมายจะดีที่สุด เมื่อไม่นานมานี้ ได้ไปดูเขาผลิตกล้าไม้ยูคา และผลิตเชื้อไมโคไรซาขายที่ฟิลิปปินส์ โดยผลิตกันเป็นความลับทางการค้าที่ยิ่งใหญ่มาก ทีแรกก็คิดว่า เขาคงมีอะไรที่ลับจริงๆ และใช้เครื่องมือที่สุดยอดจริงๆ พอมีโอกาสเข้าไปดู ปรากฏว่า เขาผลิตเชื้อไมโคไรซา เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นยูคาก็ดี หรือต้นไม้อื่นๆก็ดีนั้น เพียงแต่ เขาเอาต้นไม้ที่มันเจริญเติบโตได้ดี รวดเร็ว แล้วนำไปตรวจสอบดูว่า มีเชื้อไมโคไรซาที่รากไหม พอมีแล้ว เขาก็เอาดินรอบๆต้นไม้เล่านั้น มาบดเป็นเชื้อไมโคไรซาขายส่งแทบไม่ทัน ก็เลยวกมาที่รูปของคุณปรีชา ที่กรุณานำเอามาลงในกระทู้นี้ เป็นดอกเห็ดตับเต่าสวยมาก ขึ้นอยู่ตามใต้ต้นทองหลาง แสดงว่า คนกำลังจะรวยแล้วล่ะ เพราะดินตรงนั้น มีเชื้อเห้ดตับเต่าแน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์ คุณสามารถเอาดินและดอกเห็ดตับเต่าที่แก่แล้ว เอาไปใส่ต้นไม้ต้รนอื่นที่เห็ดตับเต่าเจริญเข้าไป หากจะให้ดี ต้นเล็กๆหรือกล้าไม้จะดีมาก เพราะมันจะได้รับเชื้อเห็ดได้ไวและประหยัดเชื้อเห็ดกว่า หรือต่อไป หากจะทำขาย ก็ไม่ยากเลย เอาดินตรงนั้นมาบดให้ละเอียดดูน่าซื้อ ดูน่าเชื่อถือเสียก่อน หากจะให้ดี เอาดอกเห็ดแก่ๆขยำกับน้ำแล้วราดดินนั้น ผึ่งให้แห้ง เก็บได้นานเป็นปี แล้วก็เอาไปโรยใส่ต้นไม้เป้าหมายได้ เช่น ต้นทองหลาง ต้นแค ต้นโสน เป็นต้น

ทีนี้มาตอบคำถามของคุณเสงี่ยม เพราะดูเหมือนว่า กำลังมันกับเรื่องนี้อยู่พอดี
ในอรัมภบท เรื่อง การเทศนานั้น มันก็แค่หยอกเล่นให้ไม่เครียดเท่านั้น เพราะคุณลองคิดดูสิ อยู่ในวงการเห็ดมากว่า 40 ปี แล้วบางทีคำถามซ้ำๆซากๆมันเซ็งมันเบื่อเหมือนกันน๊ะ แล้วก็บางทีบางสิ่ง เราก็ไม่ได้รู้ไปทุกเรื่อง บางเรื่อง กำลังอยู่ระหว่างทดลอง เช่น ต้นแค พอกว่าจะได้ข้อสรุป เสียเวลาไปเป็นปี กว่าจะรู้ว่าพันธุ์ไหนมันเหมาะสมบ้าง ทีนี้บางทีบางท่านใจร้อน เห็นอาจารย์กำลังทำอะไร ก็รีบเอาไปทำทันที โดยไม่ได้สอบถามเสียก่อนว่า มันมีรายละเอียดหรือปัญหาใด เช่น กรณีของคุณ ตอนแคตอแหล หรือแคน่ารัก(เป็นคำแก้เกี้ยวของยายรังสิมา ที่บอกว่า ตอแหล แปลว่า น่ารัก) พอมันเริ่มออกดอก ออกเยอะด้วย แต่มันไม่ยอมโตต่อไปอีกตามที่เราต้องการ นอกจากนี้ ในการตอบกระทู้ บางที ก็ถือโอกาสได้ระบายเสียบ้าง เพราะคุณดูกระทู้ส่วนใหญ่สิว่า สังคมไทย มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก กลายเป็นสังคมแบบตัวใครตัวมัน เป็นสังคมที่เอาแต่ได้ สมัยก่อน เวลาใครอยากจะได้อะไร อยากจะถามอะไร เขาก็มีอรัมภบท มีความอ่อนน้อม อ่อนโยน แต่เดี๋ยวนี้ิ คุณดูสิ ไม่รู้เป็นใครมาจากไหน อยู่ๆพอดูเป็น เปิดเน็ตเป็น เข้ากระทู้เป็น ก็โพร่งๆถามมาด้วนๆเลย แต่กำชับว่า ขอให้ตอบเยอะๆละเอียดมากๆ ซึ่งบางครั้งก็คิดน้อยใจอยู่เหมือนกันว่า เอ๊ะนี่มันอะไรกัน แตจ่สำหรับของคุณนั้น ทางเราไม่ได้ถือเป็นอื่น เพราะคุณเป็นผู้ที่ผ่านการอบรมจากเราไปแล้ว และแน่นอน ดร.อานนท์ ย้ำนักย้ำหนาว่า หากต้องการอะไร หรือไม่เข้าใจตรงไหนให้ถามมา อย่างนี้แล้ว คุณไม่ต้องเกรงใจ ถามมาได้เลย ซึ่งคำถามของคุณก็น่าสนใจมากๆด้วย จึงขอตอบดังนี้
1. ใช่ครับ ต้นแค ไม่ว่า ตอแหลหรือไม่ตอแหล ใช้เพาะเห็ดตับเต่าได้ครับ และใช่อีกเช่นกัน มันอยู่ที่วัตถุประสงค์ของเราครับ หากต้องการที่จะเก็บดอกแคขายด้วย พันธุ์ตอแหลน่าจะเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมที่สุด นอกจากนี้ ทางอานนท์ไบโอเทค ยังมีซูเปอร์ตอแหล ที่อาจจะใช้ว่า แคกระแดะก็ได้ เพราะเป็นแคที่สูงแค่ครึ่งฟุต อายุแค่ 2 เดือนเท่านั้น แกก็ออกดอกแล้ว หากเป็นคนก็อายุประมาณ 8-9 ขวบก็มีลูกแล้วอะไรทำนองนั้น พันธุ์นี้ก็ใช้เพาะเห็ดตับเต่าได้ และเก็บดอกแคขายได้ แต่ไม่เหมาะที่จะเพาะเอาต้นแคไปเพาะเห็ดหูหนูครับ
2. พันธุ์ตอแหลหรือกระแดะนั้น แม้ว่าจะใส่เชื้อเห็ดหรือมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้นใต้ต้นของมันแล้ว นิสัยตอแหลและกระแดะก็เหมือนเดิม ก็ดูจากสภาอันทรงเกียรติสิ ก็เหมือนๆเดิมนั่นแหละ เดี๋ยวกระชากเก้าอี้ เดี๋ยวก็บอกว่าน่ารักอะไรทำนองนั้น มันเปลี่ยนนิสัยเดิมๆไม่ได้เลยครับ มันเป็นกรรมพันธุ์มาหลายชั่วโคตรแล้วครับ หากอยากจะเปลี่ยนก็ตัดทิ้งเท่านั้น หากเป็นที่สภาก็ครั้งต่อไปอย่าเลือกเข้ามาอีกก็เท่านั้นครับ
3. เป็นเทคนิคและวิธีการปลูกพืชแทบทุกชนิดครับ โดเยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่จะปลูกพืชร่วมกับเห้ด ควรจะปลูกระยะชิดให้มากที่สุดเสียก่อนครับ เมื่อทรงพุ่มมันโตขึ้น เราก็ค่อยตัดสางหรือขุดย้ายไปปลูกที่ใหม่ ยิ่งหากปลูกไปแล้ว มีเห็ดเกิดขึ้น เวลาคุณขุดย้ายไปที่อื่น ก็จะได้เชื้อเห็ดติดไปด้วย การปลูกชิด นอกจากจะทำให้ลำต้นเปลาสูงเปราดีแล้ว ยังประหยัดเชื้อเห้ดและการดูรักษาในช่วงที่ต้นไม้ยังเล็กอยู่ ประหยัดน้ำ ประหยัดเวลาในการดูแลด้วยครับ
4. สิ่งนี้เป็นสิ่งจำเป็น การที่จะเพาะไม่ว่าต้นแค หรือเห้ด หากคุณรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมได้ เห้ดก็จะออกมา แม้ว่าจะเป็นนอกฤดู อยากให้คุณไปดูเกษตรกรที่บ้านสามเรือนแถวโรจน์ดู พอเขาเห็นว่า เห็ดตับเต่ากำลังเป็นที่นิยม เดี๋ยวนี้ คุณเชื่อไหม เกษตรกรทุกครัวเรือน เขาบำรุงรักษาต้นโสนเป็นอย่างดี มีการใส่ปุ๋ย เตรียมดินที่ดีก่อนที่ต้นโสนจะงอกหลังน้ำรด แล้วเขาจะให้น้ำแบบสปริงเกอร์เป็นเรื่องเป็นราวเลยทีเดียว แต่เดิม เห็ดตับเต่าจะออกช่วงฤดูร้อนประมาณเดือนพฤษภาคมขมิถุนายนเท่านั้น แต่จากการที่เขาดูแลอย่างดี ปรากฏว่า เห็ดตับเต่าเริ่มออกตั้งแต่ปลายมีนาคม ถึงพฤศจิกายนก่อนหนาว นั่นก็เท่ากับเพิ่มระยะเวลาการเกิดดอกขึ้นอีกหลายเท่าตัว หากคุณดูแลรักาาดี ที่อินเดีย เขาเอาดินก้นคลอง ที่มีขี้โคลน ใบไม้ใบหญ้าที่เน่าเปื่อนสลายแล้ว เอามาคลุกกับเชื้อเห็ด แล้วเอาไปบ่มเชื้อไว้ที่ 32-35 องศาเซลเซียสประมาณ 2-3 สัปดาห์ จากนั้นทำการรดน้ำ ให้อากศและแสงถ่ายเทสะดวก ก็จะมีเห้ดตับเต่าเกิดขึ้นได้เช่นกัน โดยไม่ต้องไปอาศัยรากไม้โดยตรงก็ได้ ในเมืองไทยก็มีการเพาะกันเช่นนี้ รวมทั้งหน่วยงานวิจัยของรัฐที่เรียกว่า วว. เห็นเขาออกข่าวว่าทำได้เช่นกัน และผมได้รู้จักกับคนหนุ่มคนหนึ่งที่มีความสามารถในการเพาะเห็ดกระถินพิมานได้เก่งมาก แล้วแกก็แนะนำให้รู้จักคุณพ่อแกว่า สามารถเพาะเห้ดตับเต่าด้วยวิธีดังกล่าวได้ แกก็ให้เบอร์ของพ่อแกให้ติดต่อ ก็ดูเหมือนว่า แกบอกว่า แกก็เพาะเห้ดตับเต่าได้ โดยทำการเพาะเช่นเดียวกับการเพาะเห็ดฟาง แต่ผมก็ไม่ได้ติดตามต่อ เพราะทางฝ่ายลูกแจ้งมาให้ทราบด้วยความหวังดีว่า เกรงว่า ทางผมจะไปล้วงเอาความลับของเขา ก็เลยเลิกการติดต่อไปอย่างสิ้นเชิง เพราะถือว่า เป็นความชอบธรรมของแต่ละบุคคล ที่เขาอุตส่าห์ค้นพบสิ่งใหม่ๆได้ ก็คงไม่อยากจะให้คนอื่นเขารับรู้เรื่องนี้ของเขาก็เท่านั้น แต่ในส่วนของทางอานนท์ไบโอเทค เรากลับเห็นว่า ความรู้อะไรใดๆในโลกนี้ ต่างก็จะต้องเรียนรู้ตามทันกันหมด สักแต่ว่าจะเร็วจะช้าเท่านั้น ดังนั้น ในเมื่อยังมีคนไทยอีกเยอะที่เปิดกว้าง และต้องการที่จะแบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน เราจึงเลือกทางเดินนี้ ด้วยการเป็นตัวกลางในการเสนอความคิดและข้อคิดเห็นที่พวกเราพึงมี
5. ไม่ทราบว่าคุณฟังผิด หรือ ดร.อานนท์เมาหมัดที่ไปบรรยายว่า ปลูกแค 3 ปี แล้วก็ไม่ให้ผลผลิตเห้ดอีก จริงๆแล้วไม่ใช่น๊ะครับ ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ไม่ว่าต้นไม้อะไร พอมีเห้ดตับเต่าเกิดขึ้นแล้ว มันจะเกิดไปเรื่อยๆจนต้นไม้นั้นตาบครับ ต้นแคบางต้นอาจจะมีอายุขัยนับสิบๆปีครับ แต่ที่บอกว่า 3 ปีนั้น หมายความว่า จะได้ต้นแคที่มีโคนต้นขนาด 6-8 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดที่พอเหมาะที่จะเอาไปเพาะเห้ดหูหนูครับ เพราะเดี๋ยวนี้ การเพาะเห็ดหูหนูในบ้านเรา เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นการเพาะในขี้เลื่อยบรรจุในถุงพลาสติก ซึ่งให้ผลผลิตสูงมาก เช่น ก่อนเชื้อขนาดน้ำหนัก 1 กก. อาจจะให้ผลผลิตเห็ดหูหนูมากถึงครึ่ง กก. ยิ่งราคาเห็ดหูหนูปัจจุบันราคาแพงมาก กก.ละไม่ต่ำกว่า 60 บาท จึงทำให้อาชีพ การเพาะเห็ดหูหนู เป็นอาชีพที่ทำกำไรสูงมาก สูงกว่า การเพาะเห็ดชนิดอื่นๆด้วยกรรมวิธีเดียวกัน แต่ปัญหา ของการเพาะเห็ดหูหนูในถุงนั้น มีปัญหาอยู่อย่างเดียวที่แก้ไม่ตก คือ จะมีไรไข่ปลาเข้าไปทำลายเส้นใย ยิ่งในช่วงที่เรากำลังกรีดให้เห็ดออกดอก พอกรีดก้อนเห้ด ตรงแผลตรงนั้น ก็จะมีไรไข่ปลาเข้าไปกัดกินเส้นใยที่ถูกกรีด ทำให้ไม่มีดอกเห็ดหูหนูเกิดขึ้น ดังนั้น การเพาะเห็ดหูหนู หากเกิดไรไข่ปลาขึ้น ก็จะเสียหายไปทั้งหมด ปัญหาตรงนี้เอง ที่เกษตรกรผู้เพาะเห็ดหูหนู จะไปกล่าวหาว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็อาจจะไม่ถูกนัก เขาได้พยายามแก้ไขไม่ให้ไรไข่ปลาเข้าไปทำลายเชื้อเห็ดหูหนู ด้วยการใช้ยาฆ่าแมลงหรือฆ่าไร ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อไหน หรือแม้แต่เอาหลายๆยี่ห้อมาผสมกันอย่างเข้มข้น ก็ยังไม่สามารถปราบไรไข่ปลาได้ เว้นเสียแต่ใช้ยาฆ่าแมลงที่มีฤทธิ์ร้ายแรง รุนแรงและมีผลตกค้างนาได้แก่ ฟูราดาน หรือในชื่อการค้าในนาม ดูราแทร์ที่ทั่วโลกไม่มีใครอนุญาตให้ใช้กับพืชผักและเห็ดยกเว้นประเทศไทย ด้วยการนำเอาฟูราดานหรือดูราแทร์ผสมเข้าไปในวัสดุเพาะเห็ดหูหนูเลย จริงอยู่ การใช้สารพิษรุนแรงดังกล่าว จะไปทำลายและป้องกันการเข้าทำลายของไร่ไข่ปลาได้ แต่เห็ดหูหนูที่เกิดขึ้น จะมีสารพิษที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งและเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งได้โดยง่าย ตรงนี้เอง ที่ทางอานนท์ไบโอเทค ได้มองเห็นปัญหา ขณะที่คนไทยนิยมทานเห็ดหูหนูเพิ่มขึ้น จึงอยากจะรณรงค์ให้ทำการเพาะเห็ดหูหนูปลอดสารขึ้น ซึ่งกรรมวิธีการเพาะเห็ดหูหนูปลอดสาร ปลอดจากไรไข่ปลาได้นั้น วิธีการเพาะในไม้จะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด และไม้ที่ใช้เพาะเห็ดหูหนูที่ดีที่สุด คือ ไม้แคครับ ไม้แคขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 นิ้ว ยาวประมาณ 1 เมตร เทื่อทำการเพาะเห็ดหูหนูแล้ว อาจจะทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากกว่า 10 กก. และเก็บได้นานเป็นปี วิธีการเพาะก็ง่ายกว่า โดยใส่เชื้อเห็ดเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องเอาไม้ไปต้มหรือเอาไปนึ่ง ตรงนีี้ครับ ที่ ดร.อานนท์ บอกว่า ควรใช้ต้นแคอายุประมาร 3 ปี แต่ไม่ใช่ว่า 3 ปี จะไม่มีเห้ดตับเต่าขึ้น 
ในส่วนการตัดต้นแคนั้น จะตัดทอนเอากิ่งที่มีขนาดเหมาะสมมาใช้ก็ได้ แต่วิธีที่ดีที่สุด ถูกต้อวงที่สุด คือ ตัดถึงโคนเลยครับ โดยให้เหลือส่วนโคนไว้ประมาณ 15 ซม.ก็พอ เพราะจะได้กิ่งใหม่ที่สมบูรณ์เกิดขึ้น จากนั้น ให้คัดเอาแขนงใหม่ที่เกิดขึ้น ให้เหลือไว้เพียง 4-6 แขนงก็พอ ก็จะได้ลำต้นใหม่ ที่โตเร็วกว่า ได้ปริมาณกิ่งเพิ่มขึ้นอีกด้วย หากทำการตัดเอาเฉพาะกิ่ง แขนงใหม่ที่เกิดขึ้น จะไม่ค่อยสมบูรณ์โตช้า เพราะอาหารบางส่วน จะต้องส่งไปเลี้ยงกิ่งเก่าหรือกิ่งเดิม
พอล่ะ วันนี้แค่นี้ก่อน เพราะลุยมาตั้งแต่ตีห้าแล้ว เดี๋ยวจะไปฟาร์มที่ลพบุรี ไปดูต้นแค และกำลังก่อสร้างโรงเพาะเห็ดอยู่ ขอให้ติดตามความก้าวหน้าหรือความเคลื่อนไหวจากเวปไซด์นี้ก็แล้ว กรุณาอย่าเพิ่งตื่นเต้นแล้วตามไป เพราะจะไม่สะดวก ไม่มีใครคอยต้อนรับหรือคุยด้วย ขอเวลาทำงานอย่างอิสระและเป็นตัวของตัวเองเถอะ
ข้อมูลการปลูกต้นแคเพื่อเพาะเห็ด ณ สถานที่ตั้งอุทยานเห็ด ที่ ต.เพนียด อำเภอโคกสำโรงนั้น ก็ได้แวะพูดคุยกับคนดูแลและวัดขนาดของต้นแคโดยเฉลี่ยดู พบว่า ต้นแคตอแหลดอกสีแดง อายุประมาณปีครึ่ง เส้นผ่าศุนย์กลาง วัดจากที่สูงกว่าระดับพื้นดินได้ค่าเฉลี่ย 4-5 นิ้ว ส่วนแคปี หรือแคที่ออกดอกช้าอายุ4-5 เดือน เส้นผ่าศุนย์กลางประมาณ 3.5-4 นิ้ว และถามความรู้สึกของชาวบ้าน ก็บอกว่า แคตอแหลให้ดอกเร็ว ดอกดก เหมาะสำหรับปลูกเพื่อเก็บดอกและเพาะเห็ดตับเต่า แต่แคปี เหมาะสำหรับเพาะเห็ดตับเต่า และเอาต้นไปเพาะเห็ดหูหนู เป็นอันว่า คุณเสงี่ยมก็เลือกเอาก็แล้วกันว่า จะเอาไว้เก็บดอกแคหรือ จะเอาต้นไปเพาะเห้ดหูหนูก็เป็นไปได้ทั้ง 2 พันธุ์ 
ขณะที่ขับรถไป ก็ยังคิดแต่เรื่องว่า ที่ได้ตอบไปนั้น ยังมีอะไรขาดตกบกพร่องอีกบ้าง และคิดได้ว่า ยังไม่ได้กล่าวถึงเรื่อง เชื้อไมโคไรซาว่า ไม่ได้มีเฉพาะแต่เห็ดเท่านั้น ยังมีอีกเป็นร้อยเป็นพันชนิด ที่สามารถเขาไปฝังตัวอยู่กับรากของต้นไม้ชนิดนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นชนิดใด เวลามันเข้าไปยึดหัวหาดหรือยึดพื้นที่ปลายรากได้แล้ว มันก็จะรีบสร้างอาณาจักรและก็จะป้องกันอาณาจักรของมันไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาล่วงล้ำหรือเข้าไปยึดพื้นที่ได้ นี่คือ เหตุผลว่า ทำไม เราจึงเน้นนักหนาว่า ควรเริ่มใส่เชื้อเห็ดเข้าไปในช่วงที่เป็นกล้าพันธุ์หรือต้นยังเล็กอยู่ ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการรีบใส่เข้าไปเสียก่อนใครเพื่อน ก่อนที่เชื้อไมโคไรซาชนิดอื่นจะเข้าไป แหมมันช่างเหมือนบรรดาน้องหมาที่เลี้ยงไว้ที่สถาบันอานนท์ไบโอเทคเหลือเกิน รวมศิริจำนวนแล้วมีมากกว่า 20 ชีวิต นอกจากจะมีหน้าที่ทำเห็ด วิจัยเรื่องเห้ดแล้ว ช่วงเย็นๆก็สรรหาอาหารการกินให้บรรดาน้องหมา นอกเหนือจากรดน้ำต้นไม้ ให้อาหารปลากว่าจะเสร็จก็ 2-3 ทุ่ม ในส่วนของน้องหมานั้นน่าสนใจมาก เพราะน้องหมาทุกตัวล้วนแล้วแต่เป็นพันธุ์ทางแท้ทั้งน้าน เพราะเก็บมาจากข้างทาง หรือบางตัวถูกบางคนแอบเอามาปล่อยก็รับสงเคราะห์ไว้หมด พอเข้ามาอยู่ที่ฟาร์ม มันจะจัดแจงแบ่งหน้าที่กันพร้อม อย่างเป็นระเบียบ วันดีคืนดี ใครอยากแหยมข้ามเขตแล้วจะโดนฟัดเลือดไหลบางตัวเกือบตายเอาเลย ตอนนี้ ตำแหน่งดูเหมือนค่อนข้างลงตัว เจ้าออมสิน มาจากห้องเย็นอนาถาของคนจีนได้แอบเอามาปล่อยไว้ เจ้านี่ ทำหน้าที่เฝ้ารถใหม่ 2 คัน แล้วมันจะอนุญาตให้ขับได้แค่ 2 คน คือ ดร.อานนท์และ อ.เยาวนุชเท่านั้น ส่วนเจ้ากะหล่ำและแป๊ปซี่ เฝ้ารถตู้และรถซูซูกิ 2 ตัวใจดี ใครจะเอารถไปไหนเชิญเลย เจ้าสุดาและเบริด จะดูแลรถส่งของ เจ้ามดดำและกุยเฮง ดูแลความเรียบร้อยดึกด้านหน้าและบริเวณหน้ารั้ว ไม่สนใจว่าอะไรจะเกิดขึ้น ขอให้เคลื่อนไหว เช่น ใบไม้ไหว โดยไม่เคยถามถึงเหตุถึงผล มันจะเห่าข่มนามไว้ก่อน ส่วนเจ้าทองขาวนั้นเฝ้าห้องน้ำ เจ้าทองดำจ้องเผื่อเผลอ หากลืมปิดประตูแพทีไร มันจะเข้าไปรื้อไปกัดเสื่อน้ำมันจะกระจุยแล้วกระจุยอีก ตั้งแต่เชิญมันมาอยู่ มันทำลายพื้นแพไปนับไม่ถ้วน ส่วนกองหลังอีก 4-5 ตัว มีหน้าที่เฝ้าพื้นที่ด้านหลัง ไม่เห่า ไม่ทำอะไรเลย ยกเว้นตอนกลางคืน ใครเผลอเข้าด้านหลัง จะไม่พูดพล่ามทำเพลง กัดลูกเดียว ดังนั้น ด้านหลังจึงไม่สามารถทำรั้วได้ เพราะเจ้า 4-5 ตัวยังมีหน้าที่อยู่ เจ้าตัวเล็ก เป็นหมาอุ้มบุญ ลูกสาวไปซื้อเขามาหลายพันบาททีเดียว เป็นพันธุ์ชิซุ ชื่อ อั่งเปา เกิดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 เป็นหมาอภิสิทธิ์ชน แต่ไม่ได้จบอ๊อกฟอร์ด และไม่เคยเกณฑ์ทหาร พอมันเกิดมา มันก็ได้อยู่บนบ้านเลย โดยไม่ต้องผ่านการทดสอบหรือสัมภาษณ์อะไรเลย เป็นเด็กเส้น สอบผ่านทุกเรื่อง ใหม่ๆมันน่ารักมาก เพราะมันไร้เดียงสา พอโตขึ้นมา มันฟัดทุกอย่างที่ขวางหน้า ตื่นเช้า หรือก่อนนอนมันก็จะทั้งฉี่ทั้งอึให้เป็นหน้าที่ของเราทำความสะอาดให้มัน บางทีมันไปฆ่าจิ้งจก จิ้งหรีดตายเกือบร้อยศพ ก็ต้องยอมมัน เพราะดูหน้าตาแล้ว มันยังตอแหลหรือน่ารักอยู่ พอจะเข้านอน ก็อนุญาตให้มันเข้าไปนอนในห้องนอนด้วย แต่เผลอทีไรมันก็กระโดดขึ้นไปนอนบนเตียงด้วย ที่ร้ายกว่านั้น เดี๋ยวนี้ พอมันเริ่มได้เป็นใหญ่ในบ้าน พอไม่มีใครไปอยู่ มันขึ้นไปอยู่บนเตียง เอาอาหารการกินไปสุขสำราญเต้นรำบนเตียงเอาเสียเลย นี่ก็เป็นอุทาหรณ์เฉกเช่น เชื้อไมโครไรซา ที่เวลามันเข้ายึดรากแล้ว มันจะกันไม่ให้เชื้อชนิดอื่นเข้าไปได้ ดังนั้น การที่เอาเชื้อเห็ดใส่เข้าไปในต้นไม้ที่โตแล้ว มักจะมีโอกาสประสพผลสำเร็จน้อยกว่า การใส่เชื้อเห็ดบนต้นกล้าไม้ฉันนั้น นอกจากนี้ เห็นคุณภาคินเข้ามาแจมในกระทู้นี้ด้วย ก็คิดถึงบรรดาลูกๆชุดใหม่ของคุณภาคินซึ่งล้วนแล้วแต่น่ารัก(ตอแหล)มาก ไม่ทราบว่า ที่บอกว่า ไม่ค่อยมีเวลาทำเห็ด น่าจะเป็นเพราะเอาเวลาส่วนใหญ่ไปเลี้ยงลูกๆสิท่า ว่างๆถ่ายรูปลูกๆมาให้ดูด้วย ต่อไปคาดโทษไว้แล้วว่า ตัวไหนดื้อ จะจับเอาไปอยู่ที่อุทยานเห็ดให้หมด เมื่อวานก็พาอั่งเปาไปดูที่ไว้แล้ว แทนที่แกจะเข็ด กลับอยากอยู่และงอแงไม่อยากกลับเฉยเลย

เรียน ท่านอาจารย์ และสวัสดีคุณไผ่และสมาชิกทุกท่าน
จากที่คุณไผ่กล่าวว่าจะรวยแล้ว สาธุ ขอให้เป็นจริงเถิด
หลังจากที่คุณใผ่ชี้ช่องรวยให้ ผมก็เริ่มทันที โดยการไปเก็บต้นกล้าทองหลางที่งอกอยู่ใต้ต้นทองหลางที่เห็ดตับเตาออกดอก นำมาบรรจุถุง ก็จะได้กล้าทองหลางที่มีเชื้อเห็ดตับเต่าแล้วขายได้ทันที พิเศษสำหรับสมาชิกอานนท์ไบโอเทคที่ต้องการกล้าทองหลางที่มีเชื้อเห็ดตับเต่าแล้ว แจกฟรีคนละ 5 ต้น ไปปลูกเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศของเรา และได้เห็ดตับเต่าเป็นของแถม ใครสนใจติดต่อได้ครับ ของมีจำกัด หมดแล้ว หมดเลย ภายในเดือนมิถุนายน 56 นี้เท่านั้น แต่ท่านต้องมีพื้นที่ว่างมากพอที่จะปลูกนะครับเพราะว่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 10 - 15 เมตรเชียว

ตรงนี้ไง ที่พร่ำสอนและพูดตลอดเวลาว่า เห็ดที่เป็นไมโคไรซ่า หากจะทำการเพาะให้ได้ผลดี ต้องเริ่มตั้งแต่ต้นกล้าเล็กๆเสียก่อน เพราะยังไม่มีคู่แข่งเข้าไปจับที่ราก หากโตแล้ว และมีคู่แข่งแล้ว เชื้อเห็ดจะกลายเป็นพระลองทันที การที่จะเข้าไปยังรากจะยาก เช่นเดียวกับเชื้อเห็ด ให้ใช้เชื้อธรรมชาติ โดยเลือกเอาดอกที่แก่เต็มที่แล้ว เอามาบี้และขยำในน้าแล้วรดที่ต้นกล้าต้นไม้ งานทดลองของคณะป่าไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้ยืนยันในเรื่องของการใส่เชื้อเห็ดเผาะลงในกล้าไม้ยางนา ปรากฏว่า ใช้เวลาแค่ 7 เดือนเท่านั้น ที่ต้นยางนาบางต้น มีเห็ดเผาะเกิดขึ้น และนี่เอง ที่ต่างประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลก เขาเพาะกล้าไม้ที่มีไมโคไรซาขาย เพราะกล้าที่มีไมโคไรซาจะโตเร็ว ยิ่งไมโคไรซาเป็นเห็ดแล้ว ได้ 2 เด้งในคราวเดียวกัน จึงอยากจะให้สมาชิกทุกท่านรณรงค์ช่วยกัน เอาต้นไม้ที่มีเชื้อเห็ดที่เป็นไมโคไรซ่า ช่วยกันปลูก ช่วยกันกระจายความรู้ สักวันหนึ่ง เราจะเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ในเรื่อง ป่ากับเห็ดอย่างแน่นอน ขออนุโมทนา น้ำใจของคุณปรีชา ที่อุตส่าห์เก็บเม,้ดทองหลางแล้วเอาเชื้อเห็ดตับเต่าใส่ เพื่อต้องการที่จะแจกจ่ายให้สมาชิกฟรีๆ สาธๆๆๆๆๆๆ ขอให้เจริญๆๆๆเถอะ พ่อคุณ ตอนนี้ ดร.อานนท์ และครอบครัว ก็ได้ไปส่งเสริมป่าชุมชนหลายจังหวัด ทำการพิทักษ์รักษาป่า แล้วได้เห็ดเป็นผลพลอยได้ ได้ทั้งป่าและเห็ด แต่ดูเหมือนว่า รายได้จากเห็ดเริ่มมีสูงขึ้นทุกปี อีกไม่นาน จะเอาข่าวดีมาบอก โดยจะมีการเปิดกรุตำนานเห็ดของครอบครัวเอื้อตระกูล ที่เก็บสะสมเห็ดเป็นยาไว้ค่อนข้างมาก มีเห็ดบางอย่าง ที่มีขนาดใหญ่มาก อาจจะใหญ่หรือโตที่สุดในโลก เส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 เมตร น้ำหนักกว่า 300 กก. เอาไว้ว่างๆ จะเปิดกรุให้ดู

เรียนอาจารย์
วันที่อาจารย์อธิบายข้างต้นแค ผมจำได้ว่าอาจารย์บอกว่าต้นแคพออายุ 3 ปีก็นำไม้แคไปใช้เพาะเห็ดได้ อาจารย์พูดไม่ผิดหรอกครับ แต่ผมเขียนย่อเกินไปอักษรตัวเล็กเลยเห็นจากไม้เป็นไม่ไป ส่วนตอนที่ปลูกไม้ยางใส่เชื้อเห็ดอยู่ผมก็ถามอาจารย์ว่าเพราะเมล็ดแคพร้อมกับใส่เชื่อเห็ดลงไปเลยโดยเพาะด้วยหินเพอไรได้หรือเปล่าอาจารย์ก็บอกว่าถ้าทำแบบนั้นได้จะดีที่สุดและดีมากๆ ด้วยเพราะเชื้อเห็ดจะเข้ายึดพื้นที่รากได้ทันที ก่อนเชื้ออื่นๆ ผมก็ไม่ได้เฉลียวใจอะไร แต่ก็ทำตามที่ปรึกษากับอาจารย์ครับคือเพาะกับหินเพอไรพร้อมกับเชื้อเห็ดเลย โดยโรยหินก่อนแล้วโรยเชื้อเห็ด แล้ววางเม็ลดแคบนเชื้อเห็ด จึงกลบด้วยหินอีกทีครับ 
--------------
ต้องกราบขอบพระคุณข้อมูลที่อาจารย์ให้ข้อมูลมาครับ ยืนยันในสิ่งที่ผมคิดและกำลังลงมือทำอยู่ครับ ทั้งการเพาะเมล็ด การปลูกแค รวมทั้งการสร้างระบบนิเวศน์ตรงนี้ผมเคยลังเลที่จะใช้ต้นโสน แต่ตอนนี้คิดว่าใช้ต้นโสนปลูกร่วมด้วยโดยปลูกหลังต้นแคโตแล้วซึ่งยังไม่รู้ว่าจะใช้เวลาตรงนี้เท่าไรครับเพราะปกติทรงพุ่มต้นแคมันโปร่งมากๆ เกรงว่ามันจะร้อนไปเลยกะว่าจะใช้ต้นโสนมาสร้างร่มเงาครับและรักษาความชื้นหน้าดินทั้งนี้เพราะบริเวณที่ดินเป็นไร่ข้าวโพดเก่าครับที่ได้มา และก็จะใช้ทั้งแคน่ารักและแคโบราณครับจะได้มีรายได้จากแคด้วยครับ แต่ที่น่าเซ็งคือเจ้าของขอปลูกข้าวโพดอีกปี ครับกว่าจะได้ลงมือในแปลงจริงๆ ก็เริ่มปีหน้าเพาะเมล็ดใหม่อีกรอบ พอต้นโต ก็ลงช่วงฝน แต่ผมใจร้อนอยากลงมือทำเร็ว ตอนนี้ก็ไปทดลองที่ดินของเพื่อนก่อน

---------------

ขอบคุณพี่ปรีชากับข้อมูลและพันธ์ทองหลางครับ ต้องการครับ
ขอบคุณพี่ภาคินครับกับข้อมูล อันนี้ก็เคยได้ดูหลายรอบแล้วครับ ก็ดูซ้ำอีกก็ได้ขอมูลมากขึ้นครับ ผมก็มีครอบครัวตัวเล็กๆ ตระกูลก๊วยเตียวครับ ตั้ง 7 ตัว พ่อหมาหมี่เก๊ยว(มินิเจอร์) แม่หมาหนูเล็ก(ชิวาวา) ลูกๆ ก็ต้มยำ หมูแดง อุ้งอิง(ลูกสาวจอมซ่าครับ) เล็กแห้ง(ตอนหลังเปลี่ยนเป็นเฮง เฮง เพราะเกือบตายไปเพราะไปกินม้วนเทปพี่เบิร์ด) สุดท้าย เจี้ยมอี้ ครับ
-------------



วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Slab Roof Repair : ใกล้หมดฝนถึงคราวต้องซ่อมหลังคา Slab บ้างแล้ว

ใกล้หมดฤดูฝน ท่านลองสำรวจดูบ้านของท่านว่ามีรอยแตกร้าว และดูกำแพงว่ามีรอยแตกกันบ้างไหม
ถ้ามีให้สำรวจหลังคา Slab ด้วยท่านอาจพบว่าน้ำที่ซึมนั้นอาจจะมาจากการร้าวที่หลังคา
เมื่อหมดฝนก็ได้เวลาซ่อมแล้วนะครับ

มาดูวิธีการซ่อมทั้งสองวิธี
อันแรกถ้าพบว่าฝ้าเพดานมีรอยคราบน้ำซึมดูวิธีนี้ครับ

ถ้าปัญหาอยู่ที่หลังคา Slab ต้องใช้วิธีนี้ก่อน
 

น้ำที่ซึมมาจากด้านบนจะมาตามรอยแตกก็ต้องซ่อมด้วยวิธีนี้

ดาดฟ้า เนื้อที่ 52 ตารางเมตร เป็นรอยแตกลายงา 1 มม.ส่วนมาก. มีหลุม เล็ก ๆ กว้าง 0.5 - 1 ซม. ประมาณ 15 หลุม รอยแตกลายงาความกว้าง 2 มม. ประมาณ 5 เส้น อยากทราบว่าต้องใช้ของอะไรบ้าง แต่ละชนิดราคาเท่าไร จำนวนเท่าไร ต่อ เนื้อที่ดังกล่าวช่วยบอกให้ทราบด้วย (ช่างทาสีทำเป็นเกี่ยวกับสีอย่างเดียวทำได้ไหม ไม่ทำปูน)
Answeron 2011-11-25 07:39:12
ในกรณีรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นมี ขนาดประมาณ 1 มม. ถึง 2 มม. ทีมงาน TOA Expert ขอแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ TOA 302 Acrylic Sealant เพื่ออุดโป๊วรอยแตกร้าวต่าง ๆ และตามแนวขอบ ซึ่งตัวผลิตภัณฑ์เป็นอะครีลิคสำเร็จรูป เหมาะสำหรับการอุดโป๊วรอยแตกร้าว และมีคุณสมบัติยึดเกาะบนพื้นผิวปูนได้ดีเยี่ยม หลังจากนั้นควรทาด้วยอะคริลิคชนิดกันการรั่วซึม 100% 
 
กรณีที่พื้นผิวเป็นหลุมขนาด 0.5 - 1 เซนติเมตร ทีมงานแนะนำให้ทำการ ฉาบด้วยปูนซีเมนต์
 
สำหรับการทำระบบกันซึมบนดาดฟ้าหรือหลังคา สามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ TOA RoofSeal หรือTOA RoofSeal SUN BLOCK ก็ได้ ซึ่งทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูงถึง 5 เท่า ทั้งยังช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหารอยแตกร้าวของคอนกรีตที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ดี
 
ขั้นตอนและวิธีการใช้งานผลิตภัณฑ์ มีดังนี้ครับ

ขั้นตอนที่  1  การเตรียมพื้นผิว
-  ควรทำความสะอาด และเตรียมพื้นผิวให้แห้งสะอาด โดยปราศจากฝุ่นผง เศษซีเมนต์ และคราบไข

ขั้นตอนที่  2  การอุดโป๊วรอยแตกร้าว
-  ใช้ผลิตภัณฑ์ TOA 302 Acrylic Sealant อุดโป๊วรอยแตกร้าวให้ทั่ว แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
-  จากนั้นขัดแต่งพื้นผิวให้เรียบด้วย กระดาษทราย TOA DSC และทำความสะอาดอีกครั้งก่อนการทาสี

ขั้นตอนที่  3  การทารองพื้น
-  ผสมผลิตภัณฑ์ TOA RoofSeal หรือ TOA RoofSeal SUN BLOCK กับ น้ำ ในอัตราส่วน 3:1 คนให้เข้ากันแล้วทาบนพื้นผิวที่ต้องการจำนวน 1 เที่ยว และทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 1 ? 2 ชั่วโมง
-  จากนั้นทาผลิตภัณฑ์ TOA RoofSeal หรือ TOA RoofSeal SUN BLOCK ที่ผสมกับน้ำไว้แล้ว เพิ่มอีกจำนวน 2 เที่ยว และในแต่ละเที่ยวให้ทิ้งระยะเวลาให้ห่างกันประมาณ 2 ? 4 ชั่วโมง
 
สำหรับในส่วนของปริมาณการใช้และราคา มีดังนี้ครับ

1.  TOA 302 Acrylic Sealant ขนาด 1 กิโลกรัม  จำนวน 1 แกลลอน ราคาประมาณ 250 - 350 บาท
 
2.  TOA RoofSeal หรือ TOA RoofSeal SUN BLOCK มีด้วยกัน  2  ขนาด คือ
- ขนาด 20 กิโลกรัม จำนวน 2 แกลลอน  ราคาประมาณ 3500 -4500 บาท
- ขนาด 4  กิโลกรัม  จำนวน  3 แกลลอน  ราคาประมาณ 800-1000 บาท
 
*หมายเหตุ* สำหรับผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ TOA RoofSeal หรือ TOA RoofSeal SUN BLOCK หนัก 1 กิโลกรัม สามารถครอบคุลมพื้นที่ 1 ตารางเมตร ต่อการทาระบบกันซึม 3 เที่ยว ทั้งนี้ ราคาที่ทางทีมงานแจ้งไปเป็นราคาโดยประมาณนะครับ คุณลูกค้าสามารถสอบถามราคาที่แน่นอนได้จากทางร้านตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์สี TOA ครับ

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้ที่ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์สี TOA ทุกแห่งทั่วประเทศครับ 
 
ขอบพระคุณสำหรับคำถามที่ส่งมานะครับ
ทีมงาน TOA 
กลับหน้าหลัก

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

มะนาวราคาแพง...มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า "มติชน"


วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 25 ฉบับที่ 551

เทคโนฯ เสวนาสัญจร 

จิรวรรณ โรจนพรทิพย์ 

"มะนาวราคาแพง...มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า" (ตอนที่ 2) 

บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) โดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (มติชนอคาเดมี) ได้จัดสัมมนาวาระพิเศษ 25 ปี เทคโนโลยีชาวบ้าน ในหัวข้อ "เมื่อ มะนาว ราคาแพง มาปลูกและขาย...ด้วยตนเองดีกว่า" ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการปลูกมะนาวแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป

ในฉบับนี้ ขอถ่ายทอดบรรยากาศสัมมนา ในหัวข้อ "แนวทางการปลูกมะนาวให้ได้ผลดี" ซึ่ง คุณวิสุทธิ์ สุวรรณมณี ทำหน้าที่เป็นพิธีกรพูดคุยเรื่องการปลูกมะนาวกับ รศ.ดร. รวี เสรฐภักดี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ดังต่อไปนี้ 

พิธีกร : ผู้เริ่มต้นปลูกมะนาว ควรเลือกพันธุ์มะนาวอย่างไร?

รศ.ดร. รวี
 : ควรเลือกพันธุ์มะนาว โดยใช้ตลาดเป็นตัวนำ สำหรับภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวบ้านนิยมใช้มะนาวตาฮิติค่อนข้างเยอะ โดยจังหวัดน่านเป็นแหล่งสำคัญที่ปลูกมะนาวตาฮิติ ช่วงฤดูปกติ จะขายมะนาวได้กิโลกรัมละ 3 บาท แต่ช่วงหน้าแล้งขายได้กิโลกรัมละ 60 บาท จะซื้อได้ประมาณ 7-8 ลูก/กิโลกรัม 

พิธีกร : เทคนิคการเลือกซื้อกิ่งพันธุ์มะนาว? 

รศ.ดร. รวี
 : ควรเลือกซื้อกิ่งพันธุ์ที่ปลอดโรค 2 ชนิด คือ 

1. โรคทริสเตซ่าไวรัส (CTV) เนื่องจากมะนาวไทยอ่อนแอต่อโรคนี้มากที่สุด หากติดโรคนี้ ต้นมะนาวมีอาการใบเหลือง หลุดร่วงง่าย หรือเกิดอาการยางไหลออกมาจากเปลือกของลำต้น ต้นมะนาวจะโทรมและแห้งตายในที่สุด ส่วนใหญ่โรคนี้มักจะติดมากับกิ่งตอนหรือต้นตอที่เคยมีโรคเกิดมาก่อน หรือเกิดจากแมลงและเพลี้ยอ่อนบางชนิดเข้ามากัดกินหรือดูดอาหารจากต้นมะนาว 

2. โรคแคงเกอร์ ลักษณะอาการเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วน ทั้งใบ กิ่ง ก้าน และผล มีอาการเป็นแผลกลมๆ และขยายใหญ่ขึ้นๆ และจะแตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล เมื่อโรคลามขึ้น ต้นจะแคระแกร็น ใบร่วง และแห้งตายในที่สุด 

หากโรคแคงเกอร์เข้าสวนมะนาวเมื่อไหร่ คนปลูกตายไปแล้ว แต่โรคแคงเกอร์จะมีชีวิตอยู่ไปอีกนาน เพราะแคงเกอร์เป็นเชื้อแบคทีเรีย ไม่ใช่เชื้อรา ยาที่มีอยู่ทั้งหมดไม่สามารถรักษาแคงเกอร์ได้ แม้แต่คอปเปอร์ ก็ปราบโรคแคงเกอร์ไม่ได้ เมื่อนำไปโรยจะทำให้รอยแผลไม่ขยายกว้างขึ้นเท่านั้น ส่วนใบที่เป็นโรค ติดเชื้อแบคทีเรียก็หลุดร่วงลงดิน ตามทฤษฎีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะมีชีวิตฝังตัวอยู่ในดินประมาณ 3 เดือน แต่ในความเป็นจริง เชื้อแบคทีเรียจะฝังตัวอยู่ในดินตลอดชีวิต เพราะมีผลและใบใหม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์หลุดร่วงลงดินตลอดเวลา 

พิธีกร : กิ่งพันธุ์เป็นโรค มีข้อสังเกตอย่างไร?

รศ.ดร. รวี 
: สำหรับกิ่งพันธุ์ที่ติดเชื้อไวรัส หากอาการไม่รุนแรงจะมองไม่เห็น ส่วนต้นมะนาวที่ติดเชื้อแคงเกอร์จะสังเกตอาการได้ง่าย การรักษาที่พอช่วยได้คือ การตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคไม่ให้ขยายพันธุ์ พยายามอย่าให้ผลเกิดบาดแผล และป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ และแมลงกลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน ซึ่งกำจัดได้ด้วยการฉีดพ่นยาฆ่า

ขณะนี้ ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ต้นตอสำหรับมะนาว เพราะฉะนั้น การโฆษณาขายกิ่งพันธุ์ที่ใช้ต้นตอพันธุ์ดี ขายในราคาแพงขึ้น อย่าเพิ่งเชื่อคนขายร้อยเปอร์เซ็นต์ เรื่องต้นตอ กรณีที่เราผลิตได้ ไม่ได้หมายความว่า มันจะอยู่ได้ดี เพียงแค่มันไม่ตาย ส่วนจะดีหรือไม่ดีก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง 

พิธีกร : การเลือกดินสำหรับการปลูกมะนาว?

รศ.ดร. รวี 
: ในตำราทั่วไป มักแนะนำว่า ผู้ปลูกมะนาว ควรใช้ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่ปัจจุบันผมแนะนำให้ ควรเลือกใช้ดินที่ระบายน้ำดีที่สุดคือ ดินทราย หากใครต้องการผลิตมะนาวนอกฤดู เรื่องการระบายน้ำ ถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่ง 

สมัยก่อน ยังไม่มีเทคโนโลยีเรื่องธาตุอาหารและปุ๋ย พืชเติบโตโดยอาศัยธรรมชาติ ปัจจุบัน หากปลูกมะนาวในดินทราย เราสามารถควบคุมวินัยของต้นไม้ได้เช่นเดียวกับการฝึกทหารเกณฑ์ สามารถบังคับให้ต้นไม้กินหรือหยุดกินธาตุอาหารชนิดใด ก็ทำได้หมด แต่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เราบังคับต้นไม้ได้ยาก เหมือนลูกคนรวยมีเงินเต็มกระเป๋า ซื้ออาหารกินตลอดเวลา แต่ลูกคนจนมีกินตามที่เรากำหนดไว้ เพราะต้องเลี้ยงต้นไม้ทุกต้นให้มีวินัย มะนาวนอกฤดูที่ปลูกในดินทราย สามารถบังคับให้มีผลผลิตนอกฤดูได้ผลดีมากกว่าวิธีอื่น หากบังคับให้ต้นไม้อดน้ำในภาวะแล้ง ประมาณเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีฝนตกหนักที่สุด 

พิธีกร : มะนาวต้องการน้ำมากแค่ไหน?

รศ.ดร. รวี
 : ต้นมะนาวต้องการน้ำมากในช่วงที่ผลิใบ และช่วงขยายลูก เซลล์พืชทุกชนิดขยายได้โดยแรงดันของน้ำภายในเซลล์ ขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผนังเซลล์พืชจะบาง เมื่อต้นไม้ดูดน้ำเข้าไป แรงดันของน้ำภายในเซลล์จะไปดันให้ผนังเซลล์ยืดออก จึงควรให้น้ำอย่างถูกจังหวะ หากต้นมะนาวขาดน้ำ จะไม่โอกาสได้มะนาวลูกโต เจ้าของสวนมะนาว อย่าหวังพึ่งเทวดา ควรใส่ใจบำรุงดูแลตามระยะการเติบโตของต้นไม้ 

พิธีกร : ขยายพันธุ์มะนาวอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ? 

รศ.ดร. รวี
 : ที่ผ่านมาเกษตรกรจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิด คิดว่า กิ่งปักชำไม่ดี สู้กิ่งตอนไม่ได้ ความจริงเรื่องนี้มีเหตุผลบังภูเขาแค่นิดเดียว เวลาปักชำกิ่ง เกษตรกรนิยมใช้กรรไกรตัดกิ่ง ซึ่งด้านหนึ่งของกรรไกรมักมีส่วนคมมีดที่มีขางัดอยู่อีกด้านหนึ่ง เมื่อนำกรรไกรไปใช้งาน มักทำให้เปลือกกิ่งฉีกและบอบช้ำ ทำให้กิ่งชำออกรากเพียงแค่ซีกเดียว แถมเชื้อโรคเข้าได้ง่าย จึงมีเปอร์เซ็นต์การรอดต่ำ 

ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หันมาส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนากิ่งพันธุ์มะนาว ด้วยวิธีการปักชำ โดยแนะนำว่า หลังจากใช้กรรไกรตัดกิ่งเสร็จ ให้นำมีดคัตเตอร์ปาดส่วนโคนที่บอบช้ำทิ้ง และใช้ฮอร์โมนเข้าไปช่วย ประมาณ 2,000 พีพีเอ็ม เพียงเท่านี้ กิ่งชำจะมีเปอร์เซ็นต์อัตรารอดที่สูงมาก เกษตรกรที่นำแนวคิดไปลองใช้ ต่างยืนยันว่า ต้นมะนาวที่ปลูกด้วยกิ่งชำได้ผลดีกว่าการปลูกด้วยกิ่งตอน สำหรับเทคนิคนี้ เกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำกิ่งชำพืชได้ทุกชนิด 

ต่อมา พิธีกร หันไปขอความรู้เรื่องการปลูกมะนาว จาก คุณทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตร ซึ่งสะสมความรู้เรื่องการปลูกมะนาวกว่า 10 ปี แถมจังหวัดพิจิตร ยังเป็นแหล่งปลูกมะนาวที่ใหญ่สุดในประเทศไทย 

คุณทวีศักดิ์กล่าวว่า ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสนำพันธุ์พืชหลายชนิดมาปลูกทดสอบเพื่อค้นหาต้นตอสำหรับขยายพันธุ์มะนาวที่ได้ผลดีที่สุด เช่น ทดลองใช้ต้นตอมะกรูดเพื่อเสียบยอดมะนาว ปรากฏว่า ไม่โต พันธุ์มะนาวพันธุ์แป้นรำไพที่เสียบยอดบนต้นตอส้มทรอยเยอร์ (Troyer) มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตมากที่สุด 

สาเหตุที่ผมสนใจค้นหาต้นตอสำหรับปลูกมะนาว เนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหามหาอุทกภัยในปี 2554 เกษตรกรที่ปลูกมะนาวในพื้นที่อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ที่ปลูกโดยใช้กิ่งตอน เจอน้ำท่วมขังเพียงไม่กี่วัน ต้นมะนาวยืนต้นตายเกือบทั้งหมด แต่เกษตรกรที่ปลูกต้นมะนาวโดยใช้กิ่งเสียบยอดบนต้นตอส้มต่างประเทศรอดตายหลายราย เนื่องจากมีระบบรากที่แข็งแรง (กรุณาติดตามอ่าน "มะนาวราคาแพง...มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า" ตอนที่ 3 ได้ในฉบับหน้า) 


วันที่ 01 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ปีที่ 25 ฉบับที่ 552

เทคโนฯ เสวนาสัญจร 

จิรวรรณ โรจนพรทิพย์ 

"มะนาวราคาแพง... มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า" ตอนที่ 3 

บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) โดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (มติชนอคาเดมี) ได้จัดสัมมนาวาระพิเศษ 25 ปี เทคโนโลยีชาวบ้าน ในหัวข้อ "เมื่อ มะนาว ราคาแพง มาปลูกและขาย...ด้วยตนเองดีกว่า" ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการปลูกมะนาวแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป

ในฉบับนี้ เป็นบรรยากาศการพูดคุยบนเวทีสัมมนา ในหัวข้อ "แนวทางการปลูกมะนาวให้ได้ผลดี" ซึ่ง คุณวิสุทธิ์ สุวรรณมณี ทำหน้าที่เป็นพิธีกรพูดคุย เรื่องการปลูกมะนาวกับวิทยากรรับเชิญ จำนวน 4 ท่าน ได้แก่ รศ.ดร. รวี เสรฐภักดี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน คุณทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตร คุณทวิน แจ้งจันทร์" และ คุณช่อทิพย์ ศิริพันธุ์ หรือ "เจ๊เล็ก" ผู้ค้ามะนาวรายใหญ่จากตลาดไท โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

คุณทวีศักดิ์ : ตอนนี้ คนไทยโดยทั่วไป นิยมปลูกมะนาว กลุ่มตระกูลแป้นมากที่สุด เพราะมีน้ำเยอะ เปลือกบาง น้ำหอม เช่น แป้นรำไพ แป้นเอี่ยมเซ้ง แป้นดกพิเศษ ฯลฯ แต่หารู้ไม่ว่าคุณสมบัติเด่นเหล่านี้กลับเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคเช่นเดียวกัน 

ผมมีพื้นที่ปลูก 80 ไร่ ที่พิจิตร ใช้เป็นสถานที่ศึกษาให้ความรู้เรื่องสายพันธุ์ไม้ มะนาวก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราปลูกและจำหน่ายด้วย ที่ผ่านมา ผมไปซื้อกิ่งส้มพันธุ์ดีมาปลูกในพื้นที่ภาคกลาง ปรากฏว่า รสเปรี้ยวมาก จึงตัดสินใจตัดทิ้งและเอามะนาวแป้นมาเสียบแทน จำนวน 200 ต้น ช่วงที่ไม่มีน้ำท่วม ตอเก่าผุ ก็มีรากที่เกิดขึ้นมาใหม่ เสริมเป็นขาเต็มไปหมดเลย วันที่ 22 กันยายน 2554 ที่พิจิตรเจอปัญหาน้ำท่วมเป็นเดือน ต้นมะม่วง มะละกอ ตายหมด แต่มะนาวรอด เพราะเสริมขาเข้าไป ตอนนี้ทางชมรมใช้กิ่งพันธุ์มะนาวเสียบยอดบนต้นตอส้มต่างประเทศ เช่น เสียบยอดบนต้นตอส้มโวคาเมอเรียน่า ต้นตอทรอยเยอร์ และต้นตอสวิงเกิล 

เทคนิคในการเสียบยอดให้ใช้ต้นตอส้มทรอยเยอร์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร ตัดยอดต้นตอส้มให้สูงจากพื้นดิน ประมาณ 15 เซนติเมตร จากนั้นนำกิ่งมะนาวพันธุ์แป้นรำไพหรือแป้นดกพิเศษเสียบยอด ด้วยวิธีการผ่าลิ่มให้แผล มีความยาว ประมาณ 1 นิ้ว ใช้เวลาประมาณ 45 วัน ยอดที่เสียบจะแตกยอดใหม่ออกมา

การปลูกมะนาวเชิงพาณิชย์ในปัจจุบันนี้ ตลาดมีความต้องการมะนาวพันธุ์แป้นรำไพและพันธุ์แป้นดกพิเศษมากที่สุด และการเลือกใช้กิ่งพันธุ์มะนาวได้เปลี่ยนจากการใช้กิ่งตอนมาใช้กิ่งเสียบยอดบนต้นตอส้มต่างประเทศได้ผลดีมาก เพราะช่วยให้ต้นมะนาวมีความแข็งแรง สมบูรณ์ ให้ผลดก และมีอายุยืนยาวกว่าปลูกด้วยกิ่งตอน 

ส่วนกรณีที่หลายคนแสดงความเป็นห่วงว่า ผลผลิตมะนาวที่ปลูกบนต้นตอส้มต่างประเทศจะมีรสชาติและคุณภาพเปลี่ยนไปนั้น ผมยืนยันว่า ไม่มีความแตกต่างแต่ประการใด เพราะผมเคยทดลองปลูกมะนาวพันธุ์แป้นดกพิเศษด้วยวิธีการเสียบยอดบนต้นตอส้มทรอยเยอร์ ปรากฏว่า ได้ผลมะนาวที่มีคุณภาพเหมือนกับมะนาวแป้นรำไพทุกประการ เช่น ผลใหญ่เปลือกบาง น้ำมาก และมีกลิ่นหอม และพบว่า ต้นมะนาวที่ปลูกบนต้นตอส้มต่างประเทศสามารถบังคับให้ออกดอกติดผลได้เร็ว ตั้งแต่ต้นมะนาวมีอายุเพียง 8 เดือน ถึง 1 ปี เท่านั้น 

พิธีกร : ในทางวิชาการ การปลูกมะนาวในต่างประเทศนิยมใช้ต้นตอชนิดใดบ้าง

รศ.ดร. รวี : เมืองไทย ใช้ต้นตอส้มโวคาเมอเรียน่า กับการปลูกส้มโอ ส้มเขียวหวาน และส้มโชกุน ปรากฏว่า ได้ผลผลิตประเภท ส้มไหว้เจ้าทั้งนั้นเลย สำหรับต้นตอส้มโวคาเมอเรียน่าในต่างประเทศ นิยมใช้กับกลุ่มเลมอน ที่มีรสเปรี้ยว เมื่อนำมาใช้กับส้มเพื่อการบริโภคคือ ส้มเกลี้ยง ปรากฏว่า ทำให้คุณภาพของส้มลดต่ำลง เพราะมีเปลือกหนาและได้น้ำน้อย สีของน้ำซีดลง 

คุณทวีศักดิ์ : ผมขอเสริม ดร. รวี สักหน่อย การนำต้นตอส้มต่างประเทศมาใช้กับมะนาว เนื่องจากต้องการให้ต้นมะนาวมีอายุยืนขึ้น ระยะแรกที่ใช้ต้นตอส้มโวคาเมอเรียน่า ปรากฏว่ามะนาวแป้นได้รับอิทธิพลจากต้นตอชนิดนี้พอสมควร โดยมีลักษณะผลบวม ใหญ่ ไม่แป้น มีผิวขุระ แต่เมื่อปลูกทดลองไปเรื่อยๆ ก็พบว่า ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น สำหรับแป้นดกพิเศษ ความจริงก็คือ แป้นที่กลายพันธุ์มา 

คนในวงการมะนาวก็รู้ว่าตลาดซื้อ-ขาย มะนาว เป็นไซซ์ สำหรับมะนาวแป้นดกพิเศษ จะคัดได้ไซซ์ใหญ่เยอะ ผมยืนยันได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นต้นตอส้มโวคาเมอเรียน่า หรือต้นตอทรอยเยอร์ ที่ปลูกมาได้ 5 ปี ผลผลิตยังอยู่ดี แต่การเสียบมะนาวบนตอมะขวิด มีปัญหาแน่ เพราะได้ต้นเตี้ยๆ เหมือนกับไม่สอดรับกัน 

รศ.ดร. รวี : เคยมีรายงานผลการใช้ต้นตอโวคาเมอเรียน่ากับส้ม พบว่า ในช่วงที่กักน้ำนาน เมื่อขึ้นน้ำ ต้นจะเกิดอาการยางไหลออกมา ส่วนการใช้ตอต้นมะขวิดในส้มเช้ง ส้มโชกุน พบว่า สภาพต้นอายุ 14-16 ปี ยังอยู่ได้ คุณภาพผลผลิตดี ทรงพุ่มประมาณเมตรเศษๆ สามารถปลูกระยะประชิดได้ แต่การใช้ต้นตอส้มโวคาเมอเรียน่ากับมะนาว ผมยังไม่มีข้อมูล

คุณทวีศักดิ์ : สาเหตุที่เรานำต้นตอส้มโวคาเมอเรียน่ามาใช้ เนื่องจากเคยมีการทดลองใช้ตอโวคาเมอเรียน่ากับส้มเขียวหวานปลอดโรค ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของศูนย์วิจัยพืชน่าน ในสังกัดกรมวิชาการเกษตร นักวิชาการเจ้าของโครงงานทดลองดังกล่าวเคยมาเยี่ยมชมแปลงปลูกมะนาวของผม ก็รู้สึกแปลกใจ เพราะเคยใช้ตอเลมอน แต่ไม่เคยใช้เป็นต้นตอทดสอบทางวิชาการกับมะนาวเลย 

รศ.ดร. รวี : ผมเคยแนะนำนักวิชาการของกรมวิชาการเกษตร ให้ลองนำต้นตอส้มโวคาเมอเรียน่ามาทดสอบกับต้นมะนาวเช่นกัน ที่ผ่านมาเคยมีสวนส้มแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอโพนพิสัย เป็นแปลงปลูกส้มเขียวหวานปลอดโรค ใช้ต้นตอส้มโวคาเมอเรียน่า ปรากฏว่า งดให้น้ำไป 4 เดือน ต้นส้มยังไม่ยอมเหี่ยว ในที่สุดได้ผลผลิตเป็นส้มไหว้เจ้าทั้งหมดเลย จึงต้องรื้อสวนทิ้งไปทั้งหมด

พิธีกร แนะนำวิทยากรอีก 2 ท่าน คือ "คุณทวิน แจ้งจันทร์" และ คุณช่อทิพย์ ศิริพันธุ์ หรือ "เจ๊เล็ก" สองสามีภรรยา ซึ่งเป็นตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกมะนาว จากอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และเป็นผู้ค้ามะนาวรายใหญ่ในตลาดไท พิธีกรขอให้คุณทวินและเจ๊เล็กช่วยเล่าประสบการณ์การปลูกและค้ามะนาว ในช่วงที่ผ่านมา 

คุณทวิน : ผมทำสวนมะนาวควบคู่กับขายมะนาว เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ ร้านเล็กแว่นมะนาว ผมเริ่มต้นขายมะนาวที่ปากคลองตลาด เมื่อประมาณ 30 ปีก่อน และผมเคยขายมะนาวที่ตลาดสี่มุมเมือง บางใหญ่ซิตี้ แต่ทุกวันนี้ ผมมีแผงขายมะนาวอยู่ที่ตลาดไท เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ ขณะที่ปากคลองตลาด รถใหญ่วิ่งเข้าตลาดได้ยาก 

ตั้งแต่ผมทำกิจการค้ามะนาวมา ผมไม่เคยนึกเสียใจ เพราะแต่ละปี มะนาวมีปัญหาผลผลิตล้นตลาด และราคามะนาวตกต่ำไม่เกิน 2 เดือน มะนาวนับเป็นไม้เงินไม้ทองของเกษตรกร ไม่มีต้นไม้ชนิดใดสู้ราคามะนาวได้เลย ผมยืนยันได้ ราคามะนาวกินขาด 100% 

มะนาวแป้น ไม่มีคำว่า ล้นตลาด เพราะมะนาวแป้นสามารถแปรรูปได้หลายชนิด และเก็บใส่ห้องเย็นได้ หากใครปลูกมะนาว ผมบอกได้เลยว่า ท่านมาถูกทางแล้ว มะนาวเป็นพืชชนิดเดียวที่ไม่เคยทำให้เกษตรกรผู้ปลูกเสียใจ หากเปรียบพระดี ต้องเป็นรุ่นเบญจภาคี มะนาว ก็ถือเป็นพืชในตระกูลพืชเบญจภาคีเช่นเดียวกับ พริก หอม กระเทียม ตะไคร้ ที่มียอดขายดีติดตลาดตลอดเวลา คนที่มาซื้อของในตลาด 90% จะต้องมีผลมะนาวอยู่ในถุง เพราะเป็นวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ในทุกครัวเรือน

คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้มะนาวพันธุ์แป้น เพราะติดใจในรสชาติความหอม เกษตรกรจึงเลือกปลูกพันธุ์มะนาวแป้นเป็นหลัก สมัยก่อนแหล่งปลูกมะนาวอยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว สามพราน ตลิ่งชัน บางมด ส่วนรังสิตปลูกมะนาวกลมพันธุ์บางมด แต่การปลูกมะนาว เมื่อปลูกซ้ำๆ ที่เดิม มักเกิดปัญหาเชื้อรา ต้นมะนาวเป็นโรคใบแก้ว จึงต้องย้ายพื้นที่ปลูกไปต่างจังหวัด เมื่อผมไปส่งเสริมปลูกมะนาว ปรากฏว่าเกษตรกรบางรายกลัวว่า ปลูกมะนาวแล้วจะขายไม่ได้ ผมก็ต้องปลูกเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรทำตาม ว่าการปลูกมะนาวแล้ว มีรายได้ดีกว่าการทำนา ปลูกอ้อย และลำไย 

ทุกวันนี้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรและตาก ก็หันมาปลูกมะนาวกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งแหล่งดังกล่าวนิยมปลูกมะนาวในลักษณะแปลงยกร่องเพื่อให้สะดวกต่อการบริหารจัดการน้ำ เนื่องจากต้นมะนาวขาดน้ำไม่ได้ การรักษาคุณภาพมะนาวที่ดีที่สุด ต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก ใช้เวลาปลูกและดูแลมะนาวให้เติบโตสมบูรณ์ก่อน อย่างน้อย 2 ปี จึงค่อยเก็บผลผลิตที่มีคุณภาพดีออกขาย

ปัจจุบัน ผมมีลูกไร่ที่ปลูกมะนาว ประมาณ 4,000-5,000 ไร่ ร้านของเราบริหารจัดการมะนาวอย่างครบวงจร ตอนนี้ผมทำงานอยู่เบื้องหลัง กระจายหน้าที่ให้ทีมงานคอยดูแลเป็นแผนกต่างๆ เช่น ฝ่ายสวน ฝ่ายตลาด ฝ่ายจัดซื้อสินค้า ฝ่ายขนส่งสินค้า ทำงานกันตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เคยปิดร้านเลย 

พิธีกร : อยากให้เจ๊เล็กช่วยเล่าว่า ตลาดการค้ามะนาวที่ตลาดไทว่ายิ่งใหญ่ขนาดไหน

เจ๊เล็ก : ดิฉันมีประสบการณ์ในการขายมะนาว ที่ตลาดไทและปากคลองตลาดมานานถึง 30 ปี คนปลูกมะนาวต้องถามแม่ค้าว่า รับซื้อมะนาวพันธุ์อะไร คุณอย่าซี้ซั้วปลูกมะนาวเด็ดขาด เพราะปลูกผิดไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ก็เสียทั้งเวลาและขายไม่ได้เงินแน่นอน พันธุ์มะนาวที่แม่ค้าไม่รับซื้อคือ มะนาวเนื้อสีส้ม ทางตลาดไม่ยินดีต้อนรับ หากต้องการปลูกมะนาวขาย ต้องใช้พันธุ์มะนาวที่ตลาดต้องการ คือมะนาวแป้นธรรมดา แป้นรำไพ และมะนาวไร้เมล็ด 

(ติดตามอ่าน "มะนาวราคาแพง...มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า" ตอนที่ 4 ได้ในฉบับหน้า) 



หน้า 92


วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ปีที่ 25 ฉบับที่ 553

เทคโนฯ เสวนาสัญจร

จิรวรรณ โรจนพรทิพย์ 

"มะนาวราคาแพง...มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า" (ตอนที่ 4) 

บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) โดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (มติชนอคาเดมี) ได้จัดสัมมนาวาระพิเศษ 25 ปี เทคโนโลยีชาวบ้าน ในหัวข้อ "เมื่อ มะนาว ราคาแพง มาปลูกและขาย...ด้วยตนเองดีกว่า" ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการปลูกมะนาวแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป

สำหรับฉบับนี้ ยังคงนำเสนอบรรยากาศการเสวนาในหัวข้อ "แนวทางการปลูกมะนาวให้ได้ผลดี" ซึ่ง คุณวิสุทธิ์ สุวรรณมณี ทำหน้าที่เป็นพิธีกรพูดคุยเรื่องตลาดการค้ามะนาวกับ คุณช่อทิพย์ ศิริพันธุ์ หรือ "เจ๊เล็ก" ผู้ค้ามะนาวรายใหญ่จากตลาดไท และซักถามเกี่ยวกับเทคนิคการปลูกมะนาวนอกฤดูกับ รศ.ดร. รวี เสรฐภักดี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ดังต่อไปนี้

เจ๊เล็ก : หากเกษตรกรอยากขายมะนาวได้ราคาดี ควรถามคนขายว่า อยากได้พันธุ์อะไร เพราะทุกวันนี้มีมะนาวไม่กี่พันธุ์ที่ขายได้ ดิฉันขายมะนาวมา 30 ปี แต่รู้เรื่องเทคนิคการปลูกดีกว่าคนปลูกมะนาวบางราย เพราะแต่ละวันมีเกษตรกรมาปรับทุกข์เรื่องเจอโรคแคงเกอร์จำนวนมาก เกษตรกรบางรายก็บอกเล่า เทคนิคกำจัดโรคแคงเกอร์ที่น่าสนใจ ดิฉันก็บอกต่อข้อมูลดีๆ เหล่านี้ให้เกษตรกรรายอื่นทดลองนำไปใช้ สามารถแก้ไขปัญหาแคงเกอร์ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

ในช่วงฤดูฝน แผงมะนาวของดิฉันที่ตลาดไทสามารถขายมะนาวได้วันละ 1,200 กระสอบ โดยทั่วไป มะนาวที่ขายแบ่งเป็น 6 เบอร์ คือ เบอร์ 3-4-5-6-7 และเบอร์พัน ส่วนมะนาวหลง ไม่คิดเป็นเบอร์ จะเอามะนาวหลงมารวมกันและชั่งกิโลขาย คุณคิดเองแล้วกันว่า ดิฉันขายมะนาววันละ 700-800 กระสอบ อะไรก็ได้ที่เป็นลูกมะนาว ดิฉันขายได้หมด ฤดูแล้ง มะนาวแป้นมีจำนวนน้อยก็ต้องซื้อมะนาวตาฮิติมาขาย 

สำหรับมะนาวแป้นพิจิตร ที่เพิ่งเปิดตลาดได้แค่ 2-3 ปีที่ผ่านมา ขายไม่ได้ เพราะมันเหม็นเขียว เนื่องจากมีผิวหนา หากใครอยากขายมะนาวได้ดีทุกวัน ขอแนะนำให้ปลูกแป้นธรรมดา แป้นรำไพ และพันธุ์แป้นดั้งเดิม หากใครปลูกมะนาวที่มีคุณภาพ ส่งมาขายที่ดิฉันได้เลย รับซื้อไม่อั้น สำหรับธุรกิจการค้ามะนาวที่ตลาดไทในขณะนี้ มีแผงค้ามะนาวขนาดใหญ่ 23 แผง แผงเล็ก 20 แผง ซึ่งรับซื้อมะนาวจากแผงใหญ่ เพื่อนำมาขายปลีก สำหรับดิฉันเป็นผู้ค้าแผงใหญ่ และใหญ่กว่าใครทั้งหมด

พิธีกร : มะนาวที่ขายในตลาดไท มาจากไหนครับ 

เจ๊เล็ก : ส่วนใหญ่เป็นมะนาวจากจังหวัดพิจิตร สำหรับมะนาวจากจังหวัดเพชรบุรี อำเภอสามพราน อำเภอบ้านแพ้ว มีไม่เยอะ เพราะราคาที่ดินแพง เมื่อเกษตรกรขายที่ดินย่านสามพรานได้ 10 ไร่ ก็จะไปซื้อที่ดินผืนใหม่ ที่จังหวัดพิจิตรเพื่อปลูกมะนาวได้ถึง 100 ไร่ ทุกวันนี้สวนมะนาวส่วนใหญ่ของพิจิตร เจ้าของเป็นคนต่างถิ่นทั้งนั้น 

พิธีกร : ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ราคามะนาวเป็นอย่างไรบ้างครับ

เจ๊เล็ก : มีช่วงมะนาวราคาถูก แค่ 3 เดือนเท่านั้น มีช่วงราคาปานกลางอีก 4 เดือน และช่วงมะนาวราคาแพงสุดประมาณ 3 เดือน ราคามะนาวปีนี้ถือว่าไม่ถูก เพราะมีราคาต่อผลอยู่ที่ 1 บาทขึ้นไป ราคาไม่อ่อนตัวอยู่ที่ระดับ 20-30 สตางค์ ถือว่าราคามะนาวในปีนี้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจสำหรับชาวสวน

ดิฉันบอกได้เลยว่า ชาวสวนมะนาวรวย แต่ไม่แสดงตน เพราะแต่ละเดือน ชาวสวนเก็บมะนาวออกขาย 2 รอบ ครอบครัวดิฉันมีพี่น้องปลูกมะนาว 600 ไร่ ที่ผ่านมา พี่น้องบางคนทำนาข้าวอย่างเดียวมีรายได้ปีละ 30,000-40,000 บาทเท่านั้น แถมบางปีไม่มีรายได้เลย ดิฉันถามว่า ทำไมไม่ปลูกมะนาว เขาก็บอกว่า กลัวไม่มีคนซื้อ ดิฉันให้พี่สาว 2 คน หันมาปลูกมะนาวขาย ปรากฏว่า มีรายได้ดี มีทั้งบ้าน ทั้งรถ ในที่สุดก็เลิกทำนาหันมาปลูกมะนาวขายอย่างเดียว

มะนาว ถือเป็นธนาคารอย่างดีของคุณ หากคุณไม่มีเงิน ก็เดินไปในสวนมะนาว เก็บมะนาวมา 10 กระสอบ ขายได้เงินเป็นหมื่นแล้ว มะนาวที่ร่วงใต้ต้น กวาดเก็บมาขายได้ในราคากิโลกรัมละ 10 บาท ทุกอย่างขายได้หมด หากเป็นช่วงหน้าแล้ง สามารถขายได้ถึงกิโลกรัมละ 80 บาท ช่วงมะนาวราคาถูก 20-30-80 บาท ยังมีรายได้หลักหมื่น แต่ในช่วงมะนาวราคาแพง มีรายได้เป็นหลักล้าน สวนมะนาวของน้องชายดิฉันเก็บขายในช่วงหน้าแล้งประมาณ 300 กระสอบ ขายกระสอบละ 1,500 บาท เก็บขาย 3 วัน รายได้เท่าไหร่ ลองคำนวณดู 

หากเกษตรกรรายใดมั่นใจว่าผลผลิตของตัวเองมีคุณภาพพอ ขนมาขายที่แผงดิฉันได้เลย สัญญาว่าจะรับซื้อหมด แต่ถ้าไม่มีคุณภาพไม่ต้องมาให้เสียเวลา เกษตรกรไม่ควรปลูกมั่วๆ เพราะตลาดจะเป็นผู้เลือกเอง หมายความว่าถ้าอยากจะปลูกอะไรให้เดินไปดูที่ตลาดก่อนว่าส่วนใหญ่ผู้บริโภคต้องการอะไร ไม่เช่นนั้นหากปลูกผิดไปแล้วขายไม่ได้ ต้องตัดทิ้งแล้วจะเสียใจ 

ในฐานะที่ดิฉันเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ขาย ขอสรุปว่า หัวใจหลักสำหรับคนสนใจปลูกมะนาวคือ ต้องอดทนในการดูแลรักษาผลผลิตของตัวเอง อย่าลืมพูดคุยกับแม่ค้าว่าตลาดที่แท้จริงเป็นอย่างไร และที่สำคัญที่สุดคือต้องซื่อสัตย์ต่อกันและกัน เป็นต้นว่า มะนาวไม่มีน้ำไม่ควรเก็บมาขาย เพราะสินค้าตลาดจะมีคุณภาพหรือไม่ก็อยู่ตรงนี้

พิธีกร : สูตรสำเร็จในการปลูกมะนาวนอกฤดู 

รศ.ดร. รวี : การผลิตมะนาวนอกฤดูให้ประสบผลสำเร็จนั้น ไม่มีสูตรสำเร็จรูป เกษตรกรควรเข้าใจถึงหลักธรรมชาติของต้นมะนาวเป็นอย่างดีเสียก่อน รวมทั้งมีการจัดการด้านเขตกรรมต่างๆ อย่างถูกต้อง เมื่อเกษตรกรเข้าใจหลักการ และผสมผสานร่วมกันระหว่างการจัดการน้ำ การใช้สารกลุ่มชะลอการเจริญเติบโตพืช การปฏิบัติการจัดการทรงพุ่ม การจัดการด้านธาตุอาหาร ฯลฯ การจัดการสวนมะนาวให้มีผลผลิตนอกฤดู ก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงตามไปด้วย ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน มีหลักสูตรอบรมการผลิตมะนาวนอกฤดู ที่จัดอบรมติดต่อกันมากว่า 20 รุ่นแล้ว หากใครสนใจก็ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทร. (034) 351-934 

การดูแลจัดการสวนมะนาวให้มีผลผลิตนอกฤดูนั้น ปัจจัยสำคัญที่ต้องดูแลเอาใส่ใจ ได้แก่ 

1. ยอดหรือกิ่งมะนาวที่จะสร้างตาดอกได้ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 90 วันขึ้นไป 

2. มะนาวจะไม่มีการออกดอกในกิ่งที่มีการติดผลอยู่ ดังนั้น หากต้องการให้กิ่งมีการออกดอกในช่วงที่ต้องการตามที่กำหนดไว้ ก็จำเป็นจะต้องกำจัดดอกหรือผลอ่อนในกิ่งเหล่านั้นออกไปให้หมดเสียก่อน 

โดยทั่วไป แต่ละปี ต้นมะนาวจะมีผลผลิตออกตามฤดูกาลได้ถึง 2 ครั้ง ระยะแรก (วงจรที่ 2) ต้นมะนาวมีการออกดอกในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน ผลมะนาวที่นำมาใช้ประโยชน์จากน้ำคั้นได้นับตั้งแต่ออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่าง 4 เดือนครึ่ง จนถึง 5 เดือนครึ่ง ต้นมะนาวมีดอกชุดสุดท้ายประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม ซึ่งผลชุดนี้จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป อันเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูกาลปกติ

ต้นมะนาวจะมีดอกที่เป็นชุดใหญ่อีกครั้ง (วงจรที่ 1) ประมาณปลายเดือนมีนาคมและเมษายน เมื่อผ่านช่วงของฤดูแล้งและได้รับฝนติดตามมา การเก็บเกี่ยวของผลมะนาวในรุ่นนี้จะตรงกับช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมและมีการออกดอกมากอีกครั้งในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน และเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนธันวาคมและมกราคม อันเป็นช่วงปลายฤดูกาลของมะนาวและราคาของผลมะนาวจึงเริ่มเขยิบตัวสูงขึ้นตั้งแต่ในช่วงนี้เป็นต้นไป ดังนั้น หากชาวสวนต้องการผลิตมะนาวออกนอกฤดู จำเป็นต้องใช้วิธีการยับยั้งช่วงวงจรของการออกดอกครั้งใหญ่ทั้ง 2 นี้ให้ได้

เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดูแบบต่างๆ จำเป็นที่จะต้องใช้หลายๆ ลักษณะเข้ามาร่วมกัน ได้แก่ 

1. การปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาว มะนาวมีการออกดอกในฤดูกาลใหญ่ 2 ระยะ รวมทั้งกิ่งที่มีผลผลิตติดอยู่ก็ไม่สามารถออกดอกได้อีกด้วย ดังนั้น การที่จะให้ต้นมะนาวออกดอกได้ดีตามต้องการจึงจำเป็นต้องกำจัดดอกและผลอ่อนที่ไม่ต้องการในฤดูกาลนั้นออกทิ้งไปเสียก่อน 

การตัดแต่งกิ่งนอกจากจะเป็นการกำจัดดอกและผลอ่อนออกไปได้บางส่วนแล้ว ยังเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้มีการผลิยอดอ่อนใหม่ที่ค่อนข้างสม่ำเสมออีกด้วย ซึ่งไม่ควรตัดลึกมาก ควรจำกัดอยู่ที่ปลายกิ่ง ระดับ 5-10 เซนติเมตร สามารถกำจัดดอกและผลอ่อนที่เหลือโดยใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต เช่น NAA เข้มข้น 2,000 ppm พ่นในระยะกลีบดอกโรย และ ethephon 300 ppm ใช้พ่นในระยะดอกบาน รวมถึงผลอ่อนในระยะกลีบดอกโรย การปลิดดอกและผลอ่อนใน วงจรที่ 2 ทำให้ต้นมีการยืดช่วงเวลาออกดอกไปในระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนแทน ซึ่งจะมีผลมะนาวแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงนอกฤดูเดือนมีนาคม-เมษายน 

2. การยับยั้งการออกดอกของต้นมะนาวในฤดู สารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีชื่อว่า จิบเบอเรลลิกแอซิด (GA3) มีคุณสมบัติช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางกิ่งใบในไม้ยืนต้น ใช้พ่นเพื่อยับยั้งการออกดอก 

3. การกำจัดใบ ต้นมะนาวที่สมบูรณ์มาก มีพุ่มต้นแน่นทึบ หรือมีลักษณะที่เรียกว่า บ้าใบ การปลิดใบออกบ้างบางส่วน อาจมีผลในด้านการลดระดับไนโตรเจนในต้นให้ลดต่ำลง อันเป็นการช่วยปรับระดับของคาร์บอน (Carbon) ต่อระดับของไนโตรเจน (Nitrogen) หรือที่เรียกว่า ซี/เอ็น เรโช (C/N ratio) ให้สูงขึ้น อาจช่วยให้มีการออกดอกดีขึ้นได้ 

4. การใช้สารเคมี สารในกลุ่มชะลอการเจริญเติบโต เช่น สารแพคโคลบิวทราโซล มีบทบาทในการยับยั้งการสังเคราะห์ GA ในธรรมชาติของต้นพืช ดังนั้น พืชจึงมีการเจริญทางกิ่งใบลดลง ส่งผลให้มีโอกาสในการออกดอกมากขึ้น 



(กรุณาติดตามอ่าน "มะนาวราคาแพง...มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า" ตอนที่ 5 ได้ในฉบับหน้า)

หน้า 80

วันที่ 01 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 25 ฉบับที่ 554

เทคโนฯ เสวนาสัญจร 

จิรวรรณ โรจนพรทิพย์ 

"มะนาวราคาแพง...มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า" ตอนที่ 5 

บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) โดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (มติชนอคาเดมี) ได้จัดสัมมนาวาระพิเศษ 25 ปี เทคโนโลยีชาวบ้าน ในหัวข้อ "เมื่อ มะนาว ราคาแพง มาปลูกและขาย...ด้วยตนเองดีกว่า" ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการปลูกมะนาวแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป

ในฉบับนี้ เป็นการเก็บตกบรรยากาศการพูดคุยบนเวทีสัมมนา ในหัวข้อ "แนวทางการปลูกมะนาวให้ได้ผลดี" ซึ่ง คุณวิสุทธิ์ สุวรรณมณี ทำหน้าที่เป็นพิธีกร ซักถามเรื่องเทคนิคการปลูกมะนาวนอกฤดู จาก รศ.ดร. รวี เสรฐภักดี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ดังต่อไปนี้

พิธีกร : มีเคล็ดลับการใช้สารแพคโคลบิวทราโซลในสวนมะนาวนอกฤดู ??? 

รศ.ดร. รวี : สารแพคโคลบิวทราโซล (Paclobutrazol : PBZ) เป็นสารชะลอการเจริญเติบโตของยอด ใช้ได้ผลดีกับต้นมะนาว และนิยมใช้ในกลุ่มไม้ผล เช่น มะม่วงฟ้าลั่น มะม่วงน้ำดอกไม้ และมังคุด ที่มีอายุใบยอดชุดสุดท้ายไม่น้อยกว่า 90 วัน ส่วนมะม่วงพันธุ์หนัก เช่น มะม่วงมหาชนก มะม่วงเขียวเสวย มีอายุใบยอด ไม่น้อยกว่า 120 วัน ช่วยเพิ่มความทนทานต่อความเครียดจากความแล้ง ต้านทานต่อเชื้อราและแบคทีเรียเพิ่มขึ้น

ในทางปฏิบัติ ผมแนะนำให้เกษตรกรใช้สารแพคโคลบิวทราโซลฉีดพ่นต้นมะนาวควบคู่กับการตัดปลายยอด 1-2 ข้อ แต่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของความยาวกิ่ง การตัดยอดนี้เป็นการกระตุ้นให้เกิดการผลิยอดอ่อนขึ้นมาพร้อมกันทั้งต้น ควรตัดระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เพื่อให้ต้นออกดอกในระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เพื่อจะเก็บเกี่ยวผลมะนาวได้ในเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่ผลมีราคาสูงสุด 

ภายหลังการตัดยอด 15 วัน ใช้สารแพคโคลบิวทราโซล 400 พีพีเอ็ม ที่มีความเข้มข้น 10% อัตรา 80 กรัม ผสมน้ำ 1 ปี๊บ ใช้ฉีดพ่นให้ส่วนยอดจนชื้น ระวังอย่าให้ไหลทิ้ง เพราะสารดังกล่าว จะเข้าไปยับยั้งการเติบโตของระบบรากอย่างรุนแรง การใช้สารแพคโคลบิวทราโซล มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันการผลิใบอ่อนซ้ำซ้อนในช่วงฤดูฝน

หลังตัดยอดอ่อนครบ 60 วัน พ่นสารแพคโคลบิวทราโซลซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ในอัตราความเข้มข้นเท่าเดิม ก่อนจะรดน้ำตามไป จังหวะขึ้นน้ำ จะมีโอกาสได้ตาดอก สิ่งสำคัญก็คือ ปุ๋ยต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย โดยทั่วไประยะเวลาดังกล่าว มักตรงกับช่วงฤดูฝนชุกพอดีเลย ผมจึงบอกว่า การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ที่ใช้ดินทราย จะได้เปรียบมากกว่า มีโอกาสชักต้นมะนาวเข้าสู่ช่วงแล้งได้ง่าย แม้เจอปัญหาฝนตกก็สามารถใช้ผ้าพลาสติกคลุมได้ 

ส่วนมะนาวที่ปลูกในดินชนิดอื่นก็สามารถทำได้ แต่แปลงปลูกต้องขึ้นลูกฟูก เหมือนกับการยกร่องนั่นแหละ สำหรับพื้นที่ที่มีฝนตกชุก แนะนำให้ขึ้นลูกฟูกอย่างต่ำ ประมาณ 70 เซนติเมตร (เมื่อดินยุบตัวแล้ว) ส่วนพื้นที่ดินทราย หรือทำเลที่ฝนไม่ชุกมาก ขึ้นลูกฟูกแค่ 50 เซนติเมตร ก็เพียงพอ

พิธีกร : หลักการใช้ปุ๋ย สำหรับปลูกมะนาวนอกฤดู 

รศ.ดร. รวี : ในตำราวิชาการหลายเล่ม มักแนะนำให้ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 18-24-24 ที่ผ่านมา นักวิชาการจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่า ปุ๋ยตรงตัวกลาง คือ ฟอสฟอรัส ทำหน้าที่สร้างตาดอก ผมเอาคอเป็นประกันได้เลยว่า ไม่เคยมีตำราเล่มไหนในโลกที่ยืนยันได้ว่า ฟอสฟอรัสทำหน้าที่สร้างตาดอกในไม้ผลยืนต้น ขณะที่โพแทสเซียมทำหน้าที่เป็นตัวช่วยสะสมอาหาร ช่วยลำเลียงอาหารไปให้ตำแหน่งที่พืชต้องการใช้ 

ผมไม่เคยแนะนำให้ใครใช้ปุ๋ย สูตร 18-24-24 หรือปุ๋ยสูตรเสมอ ที่ผมเรียกว่า เป็นปุ๋ยสูตรสิ้นคิด นึกอะไรไม่ออก ก็ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอไว้ก่อน ปุ๋ยที่ผมแนะนำให้เกษตรกรเลือกใช้คือ ปุ๋ยสูตรที่โยกหน้าและโยกหลังสูงเท่านั้นเอง 

หลังจากตัดยอดให้ใช้ปุ๋ยสูตรโยกหน้าคือ ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน ตรงกลางต่ำ โพแทสเซียมปานกลาง หากนำมาใช้เมื่อไหร่ก็จะช่วยกระตุ้นใบอ่อนให้เกิดขึ้น รวมทั้งช่วยขยายผล เมื่อต้นมะนาวมีดอกบาน ผมจะใช้ปุ๋ยโยกหน้าตลอด เพราะมะนาวมีรสเปรี้ยว ไม่ใช่ต้องการรสหวานเหมือนมะม่วง ส่วนปุ๋ยโยกหลังคือ มีปริมาณโพแทสเซียมสูง ตรงกลางต่ำ ตัวหน้าลดลง ควรใช้ก่อนต้นมะนาวออกดอก หรือช่วงกำลังฟอร์มดอก ถ้าเป็นผลไม้ที่ต้องการรสชาติ ควรใช้ปุ๋ยสูตรนี้ก่อนเก็บผลผลิตประมาณ 30-45 วัน

ขอเสริมว่า การปลูกมะนาวนอกฤดู ต้องเน้นประสานการจัดการน้ำ และธาตุอาหารร่วมกัน ไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับการปลูกมะนาวนอกฤดู นอกจากนี้ อายุใบตั้งแต่ผลิขึ้นมา จะอาศัยอาหารจากลำต้น ในทางวิชาการเรียกว่า ซิงค์ อายุใบประมาณ 25-30 วัน ใบจะเปลี่ยนจากซิงค์ มาเป็นซอส หรือผู้ให้ ใบจะเริ่มสังเคราะห์แสงได้เต็มที่ ผลิตอาหารส่งกลับไปเลี้ยงส่วนอื่นๆ แทน เมื่อต้นมะนาวมีอายุใบประมาณ 30 วัน ควรปรับเปลี่ยนปุ๋ยมาใช้สูตรโยกหลัง 

พิธีกร : เจอภาวะอากาศแปรปรวน ควรใช้ปุ๋ยอย่างไร 

รศ.ดร. รวี : ปัจจุบัน เราใช้ปุ๋ยกึ่งฮอร์โมนชนิดหนึ่ง เพื่อบังคับพฤติกรรมของต้นไม้ ยกตัวอย่าง หากเกิดกรณีฝนตกชุก ในจังหวะกำลังขึ้นน้ำ มีผลผลิตตูมลงมา ผมแนะนำให้ใช้ปุ๋ย สูตร 0-0-60 เพื่อเบี่ยงเบนพฤติกรรมของต้นไม้ ไม่ให้ขึ้นทรงเป็นยอด รวมทั้งโค่นหักใบด้วย 

พิธีกร : การผลิตมะนาวนอกฤดู ควรวางแผนการปลูกอย่างไร 

รศ.ดร. รวี : หากปลูกมะนาวในสภาพพื้นที่ที่ไม่ค่อยแตกต่างกัน ควรแบ่งระยะการทำงานออกเป็นชุดๆ โดยมีระยะเวลาห่างกันประมาณ 15 วัน เริ่มตัดยอดชุดแรก ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน อีก 15 วัน ต่อมาจึงค่อยเริ่มทำชุดที่สอง ทยอยทำทีละชุดจนถึงเดือนสิงหาคม เพื่อให้มีผลผลิตออกขายได้ในช่วงฤดูแล้งที่ขายมะนาวได้ราคาแพง ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน สำหรับปีนี้ราคามะนาวแพงจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม เพราะช่วงเดือนธันวาคม ส่วนใหญ่ยังมีผลมะนาวเต็มต้น มกราคมเริ่มเก็บผลออกขาย และเริ่มมีดอก จะเริ่มเก็บมะนาวชุดใหม่ออกขายได้อีกครั้งในช่วงเดือนมิถุนายน

พิธีกร : ปัญหาเพลี้ยไฟ เจอบ่อยในช่วงไหน

รศ.ดร. รวี : ช่วงแตกใบอ่อนมักเจอปัญหาการระบาดของ "เพลี้ยไฟ และหนอนชอนใบ" เพลี้ยไฟจะเข้าทำลายตั้งแต่ยอดอ่อน สังเกตได้จากอาการใบเป็นปื้น ออกสีเงินๆ นอกจากนี้ ยังพบการระบาดในช่วงผลอ่อน อายุ 1 เดือน มะนาวจะมีความอ่อนแอต่อโรคสูง อายุ 2 เดือน ความอ่อนแอจะลดลง ผ่านพ้นเดือนที่ 2 ไปแล้ว มะนาวจะทนทานต่อโรคและแมลงมากขึ้น ก็ไม่เจอเพลี้ยไฟแล้ว

พิธีกร : แนวทางป้องกันโรคแคงเกอร์ 

รศ.ดร. รวี : เมื่อได้กิ่งพันธุ์มา แนะนำให้ตัดแต่งกิ่ง ให้นำใบและส่วนที่เป็นโรคแคงเกอร์ออกให้หมด นำรากออกมาล้างน้ำ และนำรากไปแช่สารสเตรปโตมัยซิน ความเข้มข้น 500 พีพีเอ็ม ในระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง หลังติดตาเข้าไปในแปลง เมื่อตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคแคงเกอร์เรียบร้อยแล้ว ให้นำไปเผาไฟ เพื่อทำลายเชื้อโรคให้หมดไปจากแปลงปลูก 

สำหรับต้นมะนาวที่ปลูกในแปลง หากเป็นโรคแคงเกอร์ก็ต้องตัดแต่งช่วย พุ่มให้โปร่ง เพราะตัวเชื้อโรคจะไหลไปกับน้ำ โดยทั่วไปเวลาลมพัด หนามต้นมะนาว มักครูดเกี่ยว สร้างริ้วรอยแผลเต็มต้นไปหมด กลายเป็นจุดอ่อนที่ทำให้โรคพืชบุกโจมตีได้ง่าย ช่วงหน้าฝน จะมีหนอนชอนใบ บุกโจมตีก่อน หลังจากนั้นจะเจอโรคแคงเกอร์ตามหลังมาเสมอ

สำหรับช่วงหน้าแล้ง ไม่ค่อยเจอปัญหาโรคแคงเกอร์ เพราะไม่มีน้ำเป็นพาหะในการแพร่เชื้อนั่นเอง แต่ช่วงหน้าฝน ขณะที่ต้นมะนาวกำลังผลิใบอ่อน หลังฝนหยุดตกพรำๆ ต้นมะนาวจะมีใบสีเหลืองเต็มไปหมด เกษตรกรควรตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคแคงเกอร์ออกให้ได้มากที่สุด ก็จะช่วยหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อแคงเกอร์ได้ หากสามารถป้องกันไม่ให้โรคแคงเกอร์เข้าสวนจะดีที่สุด

สำหรับพื้นที่ราบลุ่มค่อนข้างลำบากสักนิดนึง เพราะพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ติดๆ กัน เมื่อพายุฝนพัดผ่านสวนก็นำเชื้อแคงเกอร์เข้ามาด้วย แถมระบบน้ำก็เชื่อมต่อกันได้ การแก้ไขโรคแคงเกอร์ทำได้ยาก แม้กระทั่งตัวคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ก็แก้ไม่ได้ 

สารปฏิชีวนะอย่างสารสเตรปโตมัยซิน ภาครัฐไม่อนุญาตให้ใช้ทางการเกษตรในแปลงเพาะปลูก อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะแปลงผลิตกิ่งต้นพันธุ์เท่านั้น เนื่องจากเป็นยาประเภทเดียวกับที่ใช้ในมนุษย์ โดยใช้รักษาอาการวัณโรคปอด ปัจจุบัน ทางการแพทย์พบว่า โรคดังกล่าวต้านทานต่อสารสเตรปโตมัยซินถึง 65% 

วิธีป้องกันโรคแคงเกอร์ที่ดีที่สุด ต้องอาศัยวิธีเขตกรรม ป้องกันไม่ให้โรคแคงเกอร์เข้าสวน หากโรคแคงเกอร์แพร่ระบาดในสวน ต้องใช้วิธีตัดแต่งกิ่ง และนำกิ่งที่เป็นโรคไปเผาทำลายเชื้อโรคให้หมด ส่วนใบอ่อนที่เป็นโรคแคงเกอร์ ควรใช้สารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ทาบริเวณที่มีอาการติดเชื้อ เพื่อไม่ให้บาดแผลลุกลาม นอกจากนี้ พบว่า เชื้อราไตโครเดอม่า สามารถควบคุมโรคแคงเกอร์ได้ในระดับหนึ่ง แต่ห้ามใช้ร่วมกับสารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ ซึ่งเป็นสารกำจัดเชื้อรา เพราะจะทำลายเชื้อราไตโครเดอม่าไปด้วย

(กรุณาติดตามอ่าน "มะนาวราคาแพง...มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า " ตอนที่ 6 ได้ในฉบับหน้า)

หน้า 82
วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 25 ฉบับที่ 556

"มะนาวราคาแพง...มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า" ตอนที่ 7 

จิรวรรณ โรจนพรทิพย์ 

บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) โดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (มติชนอคาเดมี) ได้จัดสัมมนาวาระพิเศษ 25 ปี เทคโนโลยีชาวบ้าน ในหัวข้อ "เมื่อ มะนาว ราคาแพง มาปลูกและขาย...ด้วยตนเองดีกว่า" ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการปลูกมะนาวแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป 

ตอนท้ายก่อนจบการเสวนา เรื่อง "แนวทางการปลูกมะนาวให้ได้ผลดี" คุณวิสุทธิ์ สุวรรณมณี ซึ่งทำหน้าที่เป็นพิธีกรได้โอกาสให้ผู้ฟังได้ตั้งประเด็นคำถามกับวิทยากรรับเชิญทั้ง 4 ท่าน ประกอบด้วย คุณทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตร คุณทวิน แจ้งจันทร์ คุณช่อทิพย์ ศิริพันธุ์ หรือ "เจ๊เล็ก" ผู้ค้ามะนาวรายใหญ่จากตลาดไท และ รศ.ดร. รวี เสรฐภักดี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ดังต่อไปนี้

ประเด็นคำถาม : ขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปุ๋ยหน้าสูง หลังสูง

รศ.ดร. รวี : หากเป็นปุ๋ยเคมีที่จำหน่ายในท้องตลาด ปุ๋ยโยกหน้า ได้แก่ สูตร 21-7-14 ซึ่งเป็นสัดส่วน 3:1:2 ส่วนปุ๋ย สูตรหลังสูง ได้แก่ 15-5-20 สัดส่วน 3:1:4 และสูตร 13-13-21 สัดส่วน 2:3:3 ส่วนสูตรที่ผมใช้จริงๆ คือ ใช้ปุ๋ย 15-5-20 จำนวน 4 ส่วน ผสมกับปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 จำนวน 1 ส่วน จะได้ปุ๋ยเคมี สูตร 21:4:16 สัดส่วน 5:1:4 หากผมต้องการปุ๋ยโยกหน้าเมื่อไหร่ จะใช้เพิ่มเนื้อปุ๋ยยูเรียเข้าไป หากใช้ปุ๋ยโยกหลัง จะถอดยูเรียออกไป ใช้ปุ๋ยสูตร 15-5-20 แทน 

ประเด็นคำถาม : ปลูกมะนาวในกระถาง ติดผล ต้นไม่โต ใบเหลือง เกิดจากอะไร 

รศ.ดร. รวี : ต้นมะนาวมีอาการใบเหลือง เกิดจากขาดน้ำ ขาดปุ๋ย หากน้ำไม่พอ ลูกมะนาวก็ไม่โต 

ประเด็นคำถาม : ต้นมะนาวออกดอกแล้วหลุดร่วง เกิดจากอะไร 

รศ.ดร. รวี : การออกดอกของต้นไม้ไม่ได้เป็นหลักประกันว่า จะต้องติดผลเสมอไป ต้นไม้ที่มีสภาพไม่สมบูรณ์ มักไม่มีโอกาสติดดอกออกผล สำหรับต้นมะนาวที่มีสภาพไม่สมบูรณ์ จะมีสัดส่วนดอกตัวผู้เยอะ ซึ่งดอกตัวผู้ไม่มีโอกาสติดผล สังเกตได้ ต้นมะนาวที่ใกล้ตาย และไม่มีใบ หากบังคับให้ออกดอก โอกาสติดผลต่ำมาก ผมเคยเจอเอกสารคำแนะนำของบางคน ที่เสนอให้ทำลายใบทิ้ง ถือเป็นความคิดที่งี่เง่าสิ้นดี เพราะใบทำหน้าที่สร้างอาหารโดยการสังเคราะห์แสงเท่านั้น หากทำลายใบทิ้ง จะเอาอาหารที่ไหนมาสร้างดอกที่ดีได้ 

ประเด็นคำถาม : บางตำราแนะนำให้เก็บเกี่ยวผลผลิต หลังปลูก 8 เดือน ขัดแย้งกับหลักวิชาการหรือไม่ 

รศ.ดร. รวี : ตอนนี้ต้นมะนาวที่ผมปลูกแค่ 6 เดือน ก็เริ่มไว้ลูกแล้ว หากเส้นผ่านศูนย์กลางได้ 1 เมตร ผมจะเริ่มไว้ลูกแล้ว หลักการก็คือ ต้องให้ต้นไม้ได้รับปุ๋ยอย่างต่อเนื่อง อย่าปล่อยให้ต้นไม้อด หากให้ปุ๋ย 3 เดือนแล้ว และปล่อยเว้นว่าง 3 เดือน ต้นไม้ก็อด 

ประเด็นคำถาม : ต้นมะนาวยางไหล จะมีผลต่อมะนาวหรือไม่ 

รศ.ดร. รวี : อาการยางไหล เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากโรคแคงเกอร์ หรือเกิดจากธาตุอาหารหลายชนิด เกษตรกรควรไล่สาเหตุให้ได้ก่อนว่า ต้นมะนาว เกิดอาการยางไหลจากปัญหาอะไร 

ประเด็นคำถาม : กรณีที่นำผลมะนาวไปแช่แข็ง และนำมาคั้นน้ำ จะมีผลต่อคุณภาพน้ำมะนาวหรือไม่ 

รศ.ดร. รวี : มีผลกระทบแน่นอน เพราะน้ำมะนาวจะไม่ได้คุณภาพ ควรนำผลมะนาวไปคั้นน้ำก่อนนำไปแช่แข็ง จะรักษาคุณภาพได้ดีกว่า

เจ๊เล็ก : ขอแนะนำว่า อย่านำผลมะนาวแช่แข็งเด็ดขาด เพราะดิฉันเคยทดลองทำและขาดทุนเป็นล้านมาแล้ว เพราะความเย็นของอุณหภูมิห้องเย็น ทำให้มะนาวไม่เสีย มีผิวสีเขียว ตอนเช้า นำผลมะนาวออกจากห้องเย็น มาผึ่งเพียงแค่แป๊บเดียว มะนาวสุกเหลืองหมดเลย เมื่อนำไปคั้นน้ำก็เหม็นบูด ใช้ไม่ได้ ต้องวิ่งหาที่ทิ้งมะนาวในตอนเย็น หากใครต้องการเก็บมะนาว ขอแนะนำให้ทำในช่วงมะนาวราคาถูก นำลูกมะนาวมาเก็บล้างทำความสะอาด และผึ่งให้ผลแห้ง จากนั้นนำเข้าเครื่องคั้นน้ำ กรอกน้ำมะนาวใส่ภาชนะที่เตรียมไว้และนำใส่ห้องแช่แข็งทันที ทำให้เสร็จวันต่อวัน หากทำแล้วไม่ใส่ตู้เย็น น้ำมะนาวก็บูด 

ประเด็นคำถาม : พื้นที่อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ เหมาะสำหรับปลูกมะนาวหรือไม่ 

รศ.ดร.รวี : พื้นที่น้ำหนาว มีสภาพอากาศและอุณหภูมิที่เหมาะสม สามารถปลูกมะนาวได้ครับ ส่วนแหล่งที่ไม่เหมาะกับการปลูกมะนาว คือสภาพอุณหภูมิหนาวจัด เพราะมะนาวและพืชเกือบทุกอย่างมีอุณหภูมิวิกฤตในช่วงผลิดอกออกผล คืออุณหภูมิ ประมาณ 35-36 องศาเซลเซียส ขึ้นไป หากดอกบานในช่วงนั้น มักจะไม่ติดผล 

ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน เป็นการเสวนา ในหัวข้อ "รู้ลึกๆ การผลิตมะนาว ให้มีผลผลิตจำหน่าย" โดย อาจารย์ประเวศ แสงเพชร เจ้าของคอลัมม์ "หมอเกษตร ทองกวาว" ทำหน้าที่เป็นพิธีกรพูดคุยกับวิทยากรรับเชิญทั้ง 3 ท่าน ประกอบด้วย คุณศิริชัย จันทร์นาค ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด คุณรัตนพงษ์ ลิ้มทศ เกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จในการผลิตมะนาวแปลงใหญ่ ที่หนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี อาจารย์วัง สุขประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญการปลูกมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ และเป็นประธานกลุ่มอาชีพผู้ผลิตมะนาวนอกฤดู 

อาจารย์ประเวศ : ทำไม ราคามะนาวแพงในช่วงแล้ง

คุณศิริชัย : หากดูสถิติราคามะนาวย้อนหลังในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า ราคามะนาวเริ่มแพงตั้งแต่เดือนธันวาคม จนถึงเดือนพฤษภาคม สาเหตุที่มะนาวราคาแพงเนื่องจากมีผลผลิตมะนาวจำนวนน้อยแล้ว เรื่องกิจกรรมท่องเที่ยวในช่วง High Season น่าจะเกี่ยวข้องกับราคามะนาวแพงด้วยเช่นกัน เพราะเดือนมีนาคม-เมษายน มีกิจกรรมท่องเที่ยวเยอะ รวมทั้งมีงานบวชค่อนข้างมาก ช่วงเทศกาลท่องเที่ยวและการจัดกิจกรรมงานบุญต่างๆ มักมีเมนูอาหาร ลาบ น้ำตก ยำ ส้มตำ ฯลฯ ที่ใช้มะนาวเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารจำนวนมาก 

ตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ราคามะนาวเริ่มปรับตัวลดลง เพราะตรงกับช่วงเทศกาลเข้าพรรษา และกิจกรรมท่องเที่ยวมีไม่มาก ความจริง ช่วงฤดูของมะนาวตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า "มะนาวปี" อยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน แต่ช่วงฤดูแล้ง ขายมะนาวได้ราคาแพง จูงใจให้เกษตรกรหันมาผลิตมะนาวนอกฤดูกันอย่างแพร่หลาย สรุปว่า มะนาวแพงในช่วงฤดูแล้ง เพราะตลาดมีความต้องการสูง แต่มีผลผลิตน้อย ผมฟังเจ๊เล็กที่พูดว่า อยากให้เกษตรกรผลิตมะนาวตลอดทั้งปี เพราะไม่เสี่ยง เมื่อเทียบกับการผลิตมะนาวนอกฤดู ความจริง ช่วงมะนาวปี จะมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ถึงจะราคาถูก แต่ไม่ต่ำกว่าบาท หากรวมผลผลิตทั้งปี ก็มีรายได้เยอะก็เป็นโอกาสของคนปลูกมะนาวเหมือนกัน 

เมื่อก่อน ผู้ผลิตมะนาว ใช้การผลิตนำการตลาด คือปลูกก่อน ได้ผลผลิตก็ไม่รู้จะขายให้ใคร แต่ปัจจุบันต้องเปลี่ยนใหม่ ใช้การตลาดเป็นตัวนำการผลิต หากใครมีผลผลิตก็ขายที่เจ๊เล็กได้ส่วนหนึ่ง หากใครอยู่ใกล้เพชรบุรี ก็มีที่ให้ขายได้ 2 ตลาด คือตลาดของสหกรณ์การเกษตรท่ายาง และสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด

ปัจจุบัน ปัญหาตลาดมะนาวที่พบก็คือ มะนาวลูกใหญ่จริง แต่เปลือกหนา ไม่ค่อยมีน้ำ เจ๊เล็กบอกว่า ที่ตลาดไท ขายมะนาวหลายเกรด มีตั้งแต่ 6-7 เบอร์ แต่ส่วนใหญ่ที่เพชรบุรีนิยมซื้อขายกัน มีแค่ 3 เบอร์ คือ เบอร์ใหญ่ เบอร์กลาง และเบอร์เล็ก นอกนั้นก็ขายคละเกรดกันไป 

จากข้อมูลกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่ปลูกมะนาว จำนวน 38,500 ไร่ มีผลผลิตมะนาวออกตลอดทั้งปีกว่าแสนตัน โดยสายพันธุ์มะนาวยอดนิยมที่ตลาดต้องการก็คือ มะนาวพันธุ์แป้น ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ในตระกูลมะนาวแป้น ที่ตลาดต้องการมากคือ แป้นรำไพ เนื่องจากมีปริมาณน้ำมาก

มะนาว เป็นพืชที่มีอนาคตไกล เป็นที่ต้องการทั้งตลาดในประเทศและส่งออก เฉพาะช่วงฤดูแล้ง ผลผลิตมีเท่าไหร่ก็ไม่พอขายตลาดในประเทศ มะนาวคละเกรด ขายยกเข่ง เกษตรกรนับลูกขายได้ ราคาขั้นต่ำ 3 บาท บางแห่ง เช่น นครศรีธรรมราช นครราชสีมา แม่ค้าตั้งราคาขายกันเป็นกิโลกรัม ราคายืนพื้นขณะนี้ เกษตรกรก็ทำกำไรได้ ส่วนผู้ซื้อปลายทางอาจต้องควักเงินซื้อในราคาแพงถึงผลละ 5-10 บาท

ปัจจุบัน ช่องทางการขายมะนาว นอกจากมีตลาดเอกชนแล้ว ยังมีตลาดสหกรณ์ ซึ่งเป็นตลาดตัวแทนของเกษตรกร โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง สำหรับจังหวัดเพชรบุรี มี 2 พื้นที่ที่ปลูกมะนาวจำนวนมาก ได้แก่ อำเภอท่ายาง และอำเภอบ้านลาด ส่วนน้องใหม่ก็คือ หนองหญ้าปล้อง ซึ่งเป็นสวนที่เพิ่งเปิดใหม่ บริเวณชายเขาที่สามารถปลูกมะนาวได้ผลดี ซึ่งมีหลายสวนที่สามารถเป็นตัวอย่างได้ ช่วงมะนาวแพง ก็คล้ายมีทองอยู่ในมือ ทุกวันนี้ เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวไม่กลัวโรคแคงเกอร์ แต่กลัว "หนอนกระสอบ" ช่วงมะนาวราคา ลูกละ 3-4 บาท มักมีหนอนกระสอบไปขโมยเก็บมะนาวหมดสวน 

หากใครคิดอยากจะปลูกมะนาวเป็นอาชีพ ควรเริ่มต้นจากการวางแผนการตลาดล่วงหน้าว่า ปลูกแล้วผลผลิตที่ได้จะนำไปขายที่ไหน ราคาเป็นอย่างไร สายพันธุ์มะนาวที่ตลาดต้องการคืออะไร เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนจึงค่อยมาวางแผนปลูกอย่างไรจึงขายได้ราคาดี หากทำก่อนหรือทำแตกต่างจากคนอื่น มักจะได้เปรียบ มะนาว ไม่จำเป็นต้องมีกล่องแพ็กเก็จที่สวยงามเพราะมะนาวเป็นสินค้าที่ขายได้ด้วยตัวมันเอง 

ปัจจุบัน เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวส่วนใหญ่มีความชำนาญกว่านักวิชาการ เพราะมีประสบการณ์ตรงจากการทำงาน ผมมีโอกาสพูดคุยกับเกษตรกรหลายรายที่มาร่วมฟังเสวนาในวันนี้ พวกเขามีโอกาสทดลองลองผิดลองถูกหลายปีกว่าจะประสบความสำเร็จในการปลูกมะนาวนอกฤดู 



(กรุณาติดตามอ่าน " มะนาวราคาแพง...มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า" ตอนที่ 8 ได้ในฉบับหน้า)

หน้า 96
วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 25 ฉบับที่ 557

เทคโนฯ เสวนาสัญจร

จิรวรรณ โรจนพรทิพย์ 

"มะนาวราคาแพง...มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า" ตอนที่ 8 

บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) โดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (มติชนอคาเดมี) ได้จัดสัมมนาวาระพิเศษ 25 ปี เทคโนโลยีชาวบ้าน ในหัวข้อ "เมื่อ มะนาว ราคาแพง มาปลูกและขาย...ด้วยตนเองดีกว่า" ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการปลูกมะนาวแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป 

ในฉบับนี้ เป็นช่วงการพูดคุยในหัวข้อ "รู้ลึกๆ การผลิตมะนาว ให้มีผลผลิตจำหน่าย" โดย อาจารย์ประเวศ แสงเพชร เจ้าของคอลัมน์ "หมอเกษตร ทองกวาว" ทำหน้าที่เป็นพิธีกรพูดคุยกับวิทยากรรับเชิญทั้ง 3 คน ประกอบด้วย คุณศิริชัย จันทร์นาค ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด คุณรัตนพงษ์ ลิ้มทศ เกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จในการผลิตมะนาวแปลงใหญ่ที่หนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี อาจารย์วัง สุขประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญการปลูกมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ และเป็นประธานกลุ่มอาชีพผู้ผลิตมะนาวนอกฤดู 

คุณศิริชัย : หลายคนสงสัยว่า ทำไมมะนาวดีอยู่ที่เพชรบุรี ทำไมเพชรบุรีเป็นตัวกำหนดราคาตลาดมะนาว เนื่องจากเพชรบุรี มีพื้นที่ปลูกมะนาวเป็นจำนวนมาก มีผลผลิตหลายแสนตัน ส่วนใหญ่จะส่งไปขายที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนจะกระจายไปยังจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ ส่วนมะนาวที่ปลูกในแหล่งอื่นๆ เมื่อถึงช่วงฤดูฝนมักเกิดปัญหาน้ำท่วม ผลผลิตเสียหายหมด นับเป็นความโชคดีของจังหวัดเพชรบุรี ที่ไม่เจอปัญหาน้ำท่วมเหมือนจังหวัดอื่น 

นอกจากนี้ ต้นมะนาวไม่ชอบอากาศหนาว เติบโตดีในอากาศร้อน ประมาณ 30 กว่าองศาเซลเซียส และจังหวัดอื่นก็อาจเสียเปรียบเพชรบุรีในเรื่องแหล่งน้ำเหมือนกัน เพราะที่จังหวัดเพชรบุรี อาศัยแหล่งน้ำจากเขื่อนแก่งกระจาน ทำให้มีน้ำสำหรับการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี สวนมะนาวของเพชรบุรี ปลูกคล้ายๆ กระทงนาและสูบน้ำขึ้นใส่แปลง ทุกๆ 2 สัปดาห์ ทำให้เพชรบุรีมีมะนาวป้อนเข้าสู่ตลาดตลอดทั้งปี 

ที่ผ่านมามีแม่ค้าประจำเข้ามารับซื้อมะนาว 2 ตลาด คือ สหกรณ์บ้านลาด และตลาดกลางหนองบ้วย อำเภอท่ายาง หากใครจะปลูกมะนาว ก็ต้องเตรียมหาตลาดล่วงหน้า เพราะแม่ค้าบางรายในช่วงมะนาวถูก ก็ไม่รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร สำหรับจังหวัดเพชรบุรี ไม่ว่าจะเป็นช่วงมะนาวถูก มะนาวแพง ที่นี่รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรตลอด ปัจจัยเหล่านี้ คือเหตุผลว่า ทำไมเพชรบุรีถึงเป็นตัวกำหนดราคาตลาดมะนาว 

ส่วนคำว่า มะนาวเพชรบุรี จริงๆ มาจากมะนาวดำเนินสะดวก มะนาวนครปฐมทั้งนั้นแหละ ตอนหลังมีการออกชื่อออกพันธุ์ใหม่ขึ้นมา แต่ต้นกำเนิดก็มาจากที่เดียวกันเกือบทั้งหมด เนื่องจากสภาพพื้นที่การเพาะปลูกแต่ละแหล่งแตกต่างกัน จึงได้ผลผลิตที่ไม่เหมือนกัน สาเหตุที่มะนาวภาคเหนือไม่ค่อยมีผลผลิตในช่วงหน้าแล้ง เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะอากาศ บางพื้นที่เจอภาวะอากาศหนาวนาน แต่ที่เพชรบุรี อาจมีอากาศหนาวไม่เกิน 2-3 วัน ก็เปลี่ยนเป็นอากาศร้อนแล้ว ทำให้มะนาวเกิดดอกได้ง่าย 

การบังคับให้ต้นมะนาวออกดอกประมาณช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เพื่อให้มีผลผลิตนอกฤดู ผมคิดว่า ระยะเวลาดังกล่าวต้นมะนาวก็ติดดอกยากเหมือนกันนะ จะทำได้สำเร็จแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับภาวะอากาศเหมือนกัน ช่วงไหนเกิดหนาวนาน ตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ต้นมะนาวก็ไม่โต จังหวัดเพชรบุรีอาจได้เปรียบกว่าแหล่งอื่น ในเรื่องภาวะอากาศที่เหมาะสมสำหรับการเติบโตของต้นมะนาวนั่นเอง

มะนาวเพชรบุรี มีจุดเด่นในเรื่องน้ำดี แถมมีกลิ่นหอมด้วย หลายคนสงสัยว่าเกิดจากอะไร ความจริงก็เกิดจากปัจจัยเรื่องแหล่งน้ำนั่นแหละ น้ำที่ใช้ในสวนมะนาวมาจากแหล่งน้ำที่สะอาด ซึ่งตามประวัติศาสตร์ รัชกาลที่ 5 เคยมีพระราชดำรัสว่า น้ำของจังหวัดเพชรบุรี มีรสชาติดีที่สุดและอร่อยที่สุด ปัจจุบันในพระบรมมหาราชวังก็ใช้น้ำจากแหล่งนี้เช่นกัน นอกจากนี้ ผลไม้ต่างๆ ที่ปลูกในแหล่งนี้ก็มีชื่อเสียงด้านรสชาติความอร่อย เช่น ชมพู่เพชร มะนาวแป้น เมืองเพชรบุรี กล้วยหอมท่ายาง เพชรบุรี ฯลฯ 

แหล่งปลูกมะนาวคุณภาพดี ส่วนใหญ่อยู่แถบพื้นที่ศูนย์สูตร แต่ปัจจุบันอาจปรับเปลี่ยนไปตามสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น หากใครคิดจะปลูกมะนาว ก็ต้องดูสภาพพื้นที่ สภาพอากาศและความพร้อมของแหล่งน้ำ และหาฐานตลาดรองรับผลผลิต 

สำหรับราคามะนาวในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรขายมะนาวได้ในราคาลูกละ 3 บาท แต่ผู้บริโภคคนสุดท้ายอาจต้องรับภาระเลือกซื้อมะนาวแพง เพราะบวกต้นทุนค่าขนส่งจากจังหวัดพิจิตรมาถึงตลาดไทลงไปด้วย เมื่อรวมต้นทุนค่าขนส่งอีกหลายทอดจากตลาดค้าส่งไปยังแผงขายปลีก จนถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย ต้องจ่ายเงินซื้อมะนาวในราคาลูกละ 8-10 บาท 

ภาคใต้นิยมขายมะนาวเป็นกิโลกรัม กิโลกรัมละ 60-80-120 บาท ขณะที่ตลาดเพชรบุรีนิยมนับมะนาวขายเป็นร้อย ช่วงหน้าแล้ง ขายมะนาวหมื่นลูก ก็ได้เงิน 3 หมื่นบาท บางครั้งเกษตรกรยังไม่ทันยกมะนาวลงจากรถ แม่ค้าก็มารุมล้อม เพื่อขอซื้อมะนาวทั้งหมด เพราะสินค้าเข้าตลาดน้อยไม่พอขาย 

โดยทั่วไปในช่วงฤดูแล้งก่อนเข้าพรรษา มักมีกิจกรรมท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาว และมีการจัดเทศกาลงานบุญเยอะมาก จึงต้องการใช้มะนาวในสัดส่วนที่สูงขึ้น แต่ช่วงฤดูมะนาวปี แม้จะมีผลผลิตเข้าตลาดเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ค่อยมีกิจกรรมเทศกาลงานบุญ ทำให้ปริมาณการบริโภคมะนาวก็น้อยลงไปด้วย 

หากย้อนดูสถิติตลาดมะนาวในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ภาวะราคามะนาวในช่วงหน้าแล้งไม่แตกต่างกันเลย ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม มะนาวมีราคาแพง แต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม ราคามะนาวถูก เมื่อถึงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ราคาก็กระเตื้องขึ้นมาหน่อย เดือนธันวาคมราคามะนาวเริ่มแพงขึ้น วัฏจักรราคามะนาวจะปรับตัวในลักษณะนี้ทุกปี จนกระทั่งปี 2555 เกษตรกรขายมะนาว 100 ลูก ขาย 325 บาท ราคาเฉลี่ยลูกละ 3.25 บาท ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ราคาปรับเพิ่มขึ้นเป็นลูกละ 4 บาท เดือนเมษายนราคาไต่ขึ้นเป็นลูกละ 5 บาท 

ผมอยากฝากบอกเกษตรกรว่า หากอยากปลูกมะนาวเชิงการค้า ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลการตลาดด้วย ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับเจ๊เล็กว่า หากเกษตรกรแห่ปลูกมะนาวนอกฤดู ทำให้มีผลผลิตเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก ราคามะนาวก็จะถูกเช่นเดียวกับราคามะนาวปี ในช่วงเดือนมิถุนายน มะนาวก็เหมือนคน เพราะเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกัน ควรมีช่วงเวลาพักเหมือนกัน ไม่ใช่ปล่อยให้ท้องมีลูกตลอดทั้งปี ผมอยากย้ำว่า เรื่องการตลาดเป็นสิ่งสำคัญ ควรวางแผนให้ดีว่า ปลูกแล้ว ผลผลิตที่ได้จะขายที่ไหน ควรวิเคราะห์การตลาดล่วงหน้าไว้ด้วย 

อาจารย์ประเวศ : ทำไมถึงสนใจอยากทำสวนมะนาวขนาดใหญ่

คุณรัตนพงษ์ : ผมอายุ 27 ปี เป็นเกษตรกรปลูกมะนาวอยู่ที่อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี ความรู้เรื่องปลูกมะนาวของผมไม่เท่าไหร่ แต่ผมปล้นความรู้เรื่องการปลูกมะนาวมาจาก "คุณพ่อ" ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกเรื่องการปลูกมะนาวรายแรกของอำเภอหนองหญ้าปล้อง ปัจจุบันสวนของผมปลูกมะนาวพันธุ์แป้นเกษตรซึ่งอยู่กับอำเภอหนองหญ้าปล้องมากกว่า 20 ปี ตั้งแต่พ่อผมเริ่มปลูกเมื่อปี 2530 

ขณะนี้ มะนาวพันธุ์แป้นเกษตร หรือบางคนเรียกว่า แป้นพวง และแป้นพวงวิเศษ กำลังเป็นที่นิยมในจังหวัดเพชรบุรี เกษตรกรส่วนใหญ่ในอำเภอหนองหญ้าปล้องก็นิยมปลูกมะนาวพันธุ์นี้ ปี 2549 ราคามะนาวแพง ทำให้เราฟื้นตัว แค่ปลูกมะนาว 600 ต้น เมื่อต้นมะนาวอายุครบ 3 ปี ก็เริ่มเก็บผลผลิตออกขาย แค่ปีเดียวโกยรายได้ถึง 4 ล้านบาท หลังหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็เหลือเงินเก็บ 2 ล้านบาท 

เกษตรกรส่วนใหญ่รู้ว่า การปลูกมะนาวในช่วง 1-2 ปีแรก จะไม่มีรายได้เลย ต้องทุ่มเงินดูแลต้นมะนาวเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันการปลูกมะนาวแต่ละท้องที่มีความแตกต่างกัน ตามหลักวิชาการ แนะนำให้ปลูกมะนาวในอัตรา 4x4 เมตร ซึ่งในแง่การปฏิบัติแล้วทำได้ยาก เพราะมีช่องทางเข้าแคบมาก 

ผมพบว่า แนวทางการปลูกที่ให้ผลผลิตที่ดีที่สุดในเชิงการค้าคือ ปลูกมะนาวในอัตรา 3x5 เมตร เป็นระยะช่วงต้นห่างกันพอดี ระยะห่างระหว่างแถวก็ดูแลรักษาง่าย ให้สังเกตดู คนไหนที่ปลูกมะนาวระยะแรกปลูกในพื้นที่โล่ง ต้นมะนาวจะโตช้ามาก เพราะต้นมะนาวหากเจอภาวะอากาศร้อนจัด ก็เติบโตไม่ค่อยดี 

สำหรับสวนมะนาวที่เพชรบุรี ส่วนใหญ่จะปลูกในสวนกล้วย เนื่องจากปีแรกของการทำสวนมะนาวจะไม่ได้ผลผลิตอะไรเลย เกษตรกรชาวเพชรบุรีจึงนิยมปลูกกล้วยก่อน เมื่อต้นกล้วยเริ่มติดสัก 1-2 เดือน จึงค่อยปลูกต้นมะนาวใส่ระหว่างต้นกล้วย ตามมาตรฐานจะปลูกต้นกล้วยในอัตรา 2x2 เมตร 

ต้นมะนาวโดยทั่วไปเมื่อได้ร่มเงาจะแทงยอดแข่งกับต้นกล้วย ทำให้ต้นมะนาวโตไว เมื่อมะนาวเจริญงอกงาม มีกระโดงขึ้นเยอะ ต้นจะพุ่งสูง ก็ต้องทำไม้ค้ำขึ้นไป เมื่อต้นมะนาวอายุครบ 2 ปี จะมีลูกดกมาก เมื่อต้นกล้วยอายุครบ 1 ปี ต้องตัดต้นกล้วยทิ้ง ปีที่ 2 จะเน้นใส่ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุไนโตรเจนสูงๆ เพื่อบำรุงต้น ในระยะ 2 ปีแรก ต้องบำรุงให้ต้นมะนาวเจริญเติบโตอย่างเต็มที่เสียก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยจัดการให้ต้นมะนาวมีผลผลิตออกนอกฤดู 

โดยทั่วไป ต้นมะนาวจะให้ผลผลิตที่ดี เมื่อมีอายุ 3-4 ปี พอเข้าปีที่ 5 ต้นมะนาวจะเริ่มโทรมแล้ว สำหรับปี 2549 ผมมีรายได้จากการขายมะนาวทั้งปีอยู่ที่ 4 ล้านบาทนั้น เป็นระยะที่ต้นมะนาวจำนวน 600 ต้น มีอายุประมาณ 3-4 ปี ปัจจุบันสวนของผมนอกจากจำหน่ายผลมะนาวเป็นหลักแล้ว ยังมีรายได้เสริมจากการจำหน่ายกิ่งพันธุ์มะนาวแป้นเกษตรให้แก่เกษตรกรผู้สนใจทั่วประเทศ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ราชบุรี ลำปาง ฯลฯ 

หน้า 87
วันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2556 ปีที่ 25 ฉบับที่ 558

เทคโนฯ เสวนาสัญจร

จิรวรรณ โรจนพรทิพย์ 

"มะนาวราคาแพง...มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า" ตอนที่ 9 

บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) โดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (มติชนอคาเดมี) ได้จัดสัมมนาวาระพิเศษ 25 ปี เทคโนโลยีชาวบ้าน ในหัวข้อ "เมื่อ มะนาว ราคาแพง มาปลูกและขาย...ด้วยตนเองดีกว่า" ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการปลูกมะนาวแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป 

ในฉบับนี้ เป็นช่วงการพูดคุยในหัวข้อ "รู้ลึกๆ การผลิตมะนาว ให้มีผลผลิตจำหน่าย" โดย อาจารย์ประเวศ แสงเพชร เจ้าของคอลัมน์ "หมอเกษตร ทองกวาว" ทำหน้าที่เป็นพิธีกรพูดคุยกับวิทยากรรับเชิญ ประกอบด้วย คุณศิริชัย จันทร์นาค ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด คุณรัตนพงษ์ ลิ้มทศ เกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จในการผลิตมะนาวแปลงใหญ่ที่หนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี อาจารย์วัง สุขประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญการปลูกมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ และเป็นประธานกลุ่มอาชีพผู้ผลิตมะนาวนอกฤดู 

คุณรัตนพงษ์ : แปลงปลูกมะนาวทุกแห่งเจอปัญหาแคงเกอร์ทั้งนั้น สวนมะนาวของผมปลูกเยอะทำมานานยังป้องกันโรคแคงเกอร์ไม่ได้เลย บางครั้งไปเลือกซื้อพันธุ์มะนาวปลอดโรคมาใช้ เมื่อนำไปปลูก ก็ยังเจอปัญหาแคงเกอร์อยู่เหมือนเดิม เกษตรกรส่วนใหญ่จะเลือกใช้ยา ตามที่ร้านค้าจำหน่ายสารเคมีเป็นผู้แนะนำ ผมเคยใช้พริกขี้หนูนำมาบดและหมัก ก่อนนำไปฉีดพ่นต้นมะนาว ผมไม่รู้ว่า สูตรนี้แก้ไขปัญหาแคงเกอร์ได้ผลหรือเปล่า เนื่องจากคนงานขอร้องให้เลิกใช้เสียก่อน เพราะขนาดคนงานคลุมหน้าคลุมตา แค่ฉีดไปได้ 2 ชั่วโมง ก็รู้สึกแสบร้อนหน้าตาไปหมด คนงานบางคนเกิดอาการแพ้พริกอย่างรุนแรง มีอาการตาแดง และมีอาการปากบวมแดง ผมสงสารคนงานก็เลยเลิกใช้พริกไปเลย 

อาจารย์ประเวศ : การแก้ไขปัญหาโรคแคงเกอร์ หรือโรคขี้กลาก ที่ได้ผลดี ที่เจ๊เล็ก ตลาดไทแนะนำก็คือ ใช้พริกขี้หนูแดงโขลกให้ละเอียดและนำไปฉีดพ่นร่วมกับสารเคมีกำจัดโรคแคงเกอร์ ที่มีชื่อทางการค้าว่า แคงเกอร์เอ็ก (สเตรปโตมัยซิน, คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์, คอปเปอร์ออกไซด์) ได้ผลดีในระดับหนึ่ง สำหรับเพลี้ยอ่อนหรือแมลงบางชนิด ผมจะใช้ยาฉุน จำนวนหนึ่งหมักกับน้ำ 1 ลิตร ทิ้งไว้ 1 คืน ตอนเช้านำมากรองน้ำออกและเติมเหล้าขาวใส่เข้าไป นำไปฉีดพ่นที่ต้นไม้ เพลี้ยอ่อนและแมลงก็จะหายไปในที่สุด ผมอยากรู้ว่า สวนของคุณรัตนพงษ์มีเทคนิคการทำมะนาวนอกฤดูอย่างไร ทำแล้วต้นมะนาวโทรมหรือไม่

คุณรัตนพงษ์ : เทคนิคการทำมะนาวนอกฤดู มีหลายขั้นตอน เช่น การตัดยอด ปัจจุบัน สวนมีเนื้อที่ 30 ไร่ ปลูกในลักษณะเกษตรผสมผสาน โดยปลูกมะม่วงและมะนาวกว่า 1,000 ต้น จะให้คนงานมาตัดยอดก็คงไม่ไหว หากจะพึ่งพาการใช้สารเคมีอย่างเดียวก็ตาย เพราะมีราคาแพง ตก 1,000 กว่าบาท แถมต้นโทรม ฟื้นฟูยาก 

เทคนิคง่ายๆ ที่ผมเลือกใช้คือ "ปุ๋ย" เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเติบโตของต้นมะนาว สำหรับมะนาวต้นใหม่ อายุ 2 ปี หากฉีดฮอร์โมนบางตัวมากเกินไป จะเกิดอาการยอดใบเหลือง ที่เรียกว่า กรีนนิ่ง หยุดความเขียว เมื่อเกิดอาการดังกล่าว ต้นมะนาวจะไม่ให้ผลผลิตอย่างเต็มที่ เหลือ 30-40% เท่านั้น 

หากต้องการให้ต้นมะนาวได้ผลผลิตดีที่สุด หลังหมดช่วงฤดูฝนพยายามอย่าให้ปุ๋ย หากเผลอให้ปุ๋ยสูตรเสมอ ต้นมะนาวจะแตกยอด และควรหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนที่มีส่วนผสมของกากน้ำตาล เพราะเป็นอาหารอย่างดีของแคงเกอร์ หากใช้ปุ๋ยชีวภาพที่มีส่วนผสมของมูลสัตว์ในสวนมะนาว ระวังอย่าใช้ปุ๋ยที่ทำจากมูลไก่เนื้อ ถึงแม้จะมีราคาถูก แต่มีคุณภาพต่ำ สู้มูลไก่ไข่ไม่ได้ 

ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ฝนยังตกชุกอยู่ ควรให้ฮอร์โมนประเภทที่ว่า ยับยั้งการแตกยอดอ่อน หลังจากนั้นบำรุงต้นมะนาวให้เกิดการสะสมอาหารอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดการแตกตาดอก ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน จะให้น้ำต้นมะนาวอย่างสม่ำเสมอ อย่าเอาปุ๋ยยูเรียหรือปุ๋ยตัวหน้าสูงไปฉีดต้นมะนาวเพื่อให้ใบร่วง เพราะวิธีนี้ไม่ได้ผล ต้นมะนาวจะแตกตายอด ซึ่งดูแลรักษายาก 

หลังจากเปิดตาดอก ให้อัดปุ๋ยเข้าไป เลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารตัวหลังสูงๆ เปอร์เซ็นต์การออกผลก็จะเยอะ วิธีนี้จะทำให้มะนาวออกดอกมาพร้อมกับตายอด เป็นกิ่งที่สมบูรณ์ เมื่อต้นมะนาวแทงยอดออกมา จะมีใบและดอกข้างออกมาด้วย มะนาวจะดกและจะประสบความสำเร็จในการทำมะนาวนอกฤดู 

อาจารย์ประเวศ : ผมเห็นด้วยกับคุณรัตนพงษ์ เรื่องการใช้ปุ๋ยมูลไก่ ทำให้พืชเกิดโรคได้ง่าย เพราะที่ผ่านมา สวนส้มในพื้นที่ภาคกลางก็อัดปุ๋ยมูลไก่มาก ตอนหลังเจอปัญหาโรคพืชหลายชนิด 

คุณรัตนพงษ์ : การใช้ปุ๋ยมูลไก่ในปริมาณมากก็มีผลกระทบ หากต้องการใช้ปุ๋ยมูลไก่ให้ได้ผลดี ต้องปลูกต้นมะนาวในระยะห่าง 3 เมตร นำปุ๋ยมูลไก่ จำนวน 1 กระสอบ ไปวางในแปลงมะนาว แต่อย่าเทปุ๋ยออกมา โดยทั่วไปมูลไก่เหล่านี้มักจะมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายตัวเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว ในช่วงฤดูฝน น้ำฝนจะไหลซึมผ่านกระสอบปุ๋ยไปยังพื้นดิน จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน สำหรับปุ๋ยมูลไก่ ควรจะใช้ปีละ 1 ครั้ง สำหรับปุ๋ยมูลโค เกษตรกรไม่ค่อยนิยมใช้ แต่ความจริงปุ๋ยมูลโคได้ผลดีทีเดียว สังเกตว่า มะนาวต้นไหนที่ใช้ปุ๋ยมูลโคจะมีต้นหญ้าขึ้นงามมาก

สวนมะนาวของผมให้น้ำต้นมะนาว ใน 2 รูปแบบ คือ ใช้ระบบสปริงเกลอร์ กับใช้แรงงานคนลากสายยางไปรดน้ำต้นมะนาว พบว่า การให้น้ำด้วยระบบสายยางได้ผลดีกว่า เวลาหน้าหนาว เจอปัญหาผลมะนาวร่วง ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาเชื้อราทั้งสิ้น สวนที่ให้น้ำระบบสปริงเกลอร์ หากฉีดยาจับใบที่มีส่วนผสมของกากน้ำตาล มีรสหวาน เชื้อราชอบมาก ทำให้เกิดปัญหาผลมะนาวร่วง หากต้นมะนาวมีฝุ่นเกาะเต็มควรใช้น้ำล้างต้นมะนาวเสียก่อนจึงค่อยฉีดยากำจัดศัตรูพืช

อาจารย์ประเวศ : ผมขอนำเสนอวิทยากรอีกท่าน คือ อาจารย์วัง สุขประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญการปลูกมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์

อาจารย์วัง : ผมชื่ออาจารย์วัง สุขประเสริฐ เป็นคนจังหวัดพิจิตร เป็นลูกชาวนา ปัจจุบัน ทำงานอยู่ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร เบอร์โทรศัพท์ (087) 201-1607 การปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์เกิดจากความบังเอิญ งานประจำที่ผมทำเกี่ยวกับการรวบรวมพันธุ์ และขยายพันธุ์พืชตระกูลส้ม โดยนำพันธุ์ส้มและมะนาวที่ได้มาใส่ในวงบ่อ 

ผมคิดว่า หากปลูกมะนาวในวงบ่อจะทำให้ติดผลดีในช่วงการผลิตมะนาวนอกฤดู จึงเขียนโครงการเพื่อของบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อของบประมาณในการศึกษาวิจัย แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ ด้วยความที่ใจรักอยากทดลองเรียนรู้ จึงควักเงินทุนตัวเอง ซื้อมะนาวมาปลูก จำนวน 40 วง ปรากฏว่า ต้นมะนาวสามารถติดผลในช่วงนอกฤดู 

สำหรับวงบ่อซีเมนต์ที่ผมซื้อมาใช้มีหลายขนาด เริ่มจากเส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 40 เซนติเมตร 80 เซนติเมตร 1 เมตร และ 1.20 เมตร ปัญหาจนถึงขณะนี้ก็คือ ยังไม่มีใครสรุปได้ว่า ควรใช้วงบ่อขนาดไหน และการปลูกลักษณะนี้ ต้องใช้ต้นทุนเท่าไหร่ 

ผมมีโอกาสได้ถวายงาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่จังหวัดพิษณุโลก เมื่อ ปี 2540 ในเรื่องมะนาวและไม้ผล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระราชดำรัสว่า อยากได้คนเก่งๆ ไปสอนชาวบ้าน พอดีผมมีโอกาสได้ถวายงาน ในเรื่องมะนาวพันธุ์ดี เชื่อหรือไม่ มะนาวต้นหนึ่ง ผมสามารถตัดได้ถึง 5,000 บาท มะนาวลังหนึ่ง ผมขายได้ในราคา 1,000 บาท มันมีเทคนิคสำคัญคือ ขอให้ใจรักและสู้ 

การทำมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ ที่ผมทดลองทำถูกทำผิดมาประมาณ 3-4 ปีนี้ พบว่า ระยะที่เหมาะสม มี 2 ระยะ คือ ขนาด 4x4 เมตร และขนาด 4x5 เมตร วงบ่อที่เหมาะสมที่สุดคือ ขนาดกว้าง 1 เมตร สูง 50 เซนติเมตร 

หลายคนสงสัยว่า ทำไมต้องปลูกมะนาวในวงบ่อ ปลูกมะนาวในแปลงก็ได้ผลดีไม่แพ้กัน ก่อนตัดสินใจเลือกวิธีปลูก สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณา ได้แก่ การกำจัดวัชพืช การดูแลจัดการสวน เพราะปีที่ 3 ต้นมะนาวจะมีกิ่งชนกัน สำหรับพื้นที่ 5 ไร่ จะปล่อยให้ต้นมะนาวขึ้นทึบไม่ได้ เพราะมะนาวต้องปลูกเป็นต้นเดี่ยวๆ และต้องได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่

หากปลูกมะนาวในวงบ่อ ผมขับรถไถขนาดเล็กวิ่งได้รอบสวนเลย สะดวกต่อการฉีดยาบำรุงต้นมะนาว ผมทดลองปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ตั้งแต่ ขนาด 40 เซนติเมตร จนถึง 1.20 เมตร จากข้อมูลที่ผมเก็บรวบรวมตลอด 3-4 ปี พบว่า ผลผลิตไม่แตกต่างกัน 

ขั้นแรกที่ผมทดลองคือ การใช้วัสดุปลูก ประเภทปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ในปริมาณมากกว่าเนื้อดิน หลังปลูกพบว่า ต้นมะนาวเสียหายหมด ทั้งๆ ที่ต้นโตเป็นพุ่มแล้ว ตอนหลังผมจึงเปลี่ยนวัสดุใหม่ เป็นปุ๋ยคอก 2 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน ผสมคลุกเคล้ากับดิน ที่มีจำนวนมากกว่า และนำไปปลูกด้วยวิธีธรรมดาทั่วไป 

พื้นที่สวนมะนาวของผมมีลักษณะเป็นที่นา มีปัญหาในช่วงหน้าฝน เมื่อฝนตกปุ๊บ จะมีปัญหาน้ำขัง ต้องปรับยกร่อง ขนาดสันร่องประมาณ 8 เมตร ลักษณะที่ดินเหมือนเป็นรูปหลังเต่า สำหรับวงบ่อซีเมนต์ทั่วไป มักจะมีแผ่นรองพื้น เพื่อป้องกันไม่ให้รากต้นมะนาวชอนไชลงดิน นี่คือ สาเหตุที่เลือกทำมะนาวนอกฤดูในวงบ่อ 

สำหรับแปลงที่ปลูกขณะนี้ มีต้นมะนาว จำนวน 500 วง ต้นมะนาวอายุ 23 เดือน การบริหารจัดการมันง่ายไปหมด จากประสบการณ์การปลูกมะนาวในแปลง เนื้อที่ 30 ไร่ หมดเงินไป 2 แสนบาท แถมเจอปัญหาเรื่องแรงงาน ต้องง้อแรงงาน เวลาหน้าฝนที ก็ปวดหัวที เคยให้ค่าแรงถึงไร่ละ 400 บาท สำหรับตัดแต่งกิ่งมะนาว แต่ยังหาคนงานได้ยาก เพราะไม่อยากเสี่ยงเจ็บตัวจากหนามมะนาว ช่วงเก็บมะนาวก็หาแรงงานได้ยากเช่นกัน เพราะต้นมะนาวพุ่มเบ่อเร้อ ต้องใช้ไม้สอยแล้วต้องมุดเข้าไปเก็บมะนาวในพุ่ม ทำงานลำบาก 

(กรุณาติดตามอ่าน "มะนาวราคาแพง...มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า" ตอนที่ 10 ได้ในฉบับหน้า)

หน้า 79
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556 ปีที่ 25 ฉบับที่ 559

เทคโนฯ เสวนาสัญจร

จิรวรรณ โรจนพรทิพย์ 

"มะนาวราคาแพง...มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า" ตอนที่ 10 

บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) โดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (มติชนอคาเดมี) ได้จัดสัมมนาวาระพิเศษ 25 ปี เทคโนโลยีชาวบ้าน ในหัวข้อ "เมื่อ มะนาว ราคาแพง มาปลูกและขาย...ด้วยตนเองดีกว่า" ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการปลูกมะนาวแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป 

สำหรับฉบับนี้ ยังเป็นบรรยากาศการพูดคุย ในหัวข้อ "รู้ลึกๆ การผลิตมะนาว ให้มีผลผลิตจำหน่าย" โดย อาจารย์ประเวศ แสงเพชร เจ้าของคอลัมน์ "หมอเกษตร ทองกวาว" รับหน้าที่เป็นพิธีกรพูดคุยกับวิทยากรรับเชิญ ประกอบด้วย คุณศิริชัย จันทร์นาค โทร. (086) 167-3797 ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด คุณรัตนพงษ์ นิ่มวาด โทร. (085) 808-6515 เจ้าของสวนมะนาวรายใหญ่ที่หนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี อาจารย์วัง สุขประเสริฐ โทร. (087) 201-4607 ผู้เชี่ยวชาญการปลูกมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ และเป็นประธานกลุ่มอาชีพผู้ผลิตมะนาวนอกฤดู 

อาจารย์วัง : ผมตัดสินใจมาทำมะนาวในวงบ่อ เพราะดูแลง่าย อายุประมาณ 8 เดือน ก็ปลูกมะนาวนอกฤดูได้แล้ว ในการบำรุงรักษา ต้องใช้ไม้ผูกค้ำกิ่ง ปกติการปลูกมะนาวในแปลง มักจะมีการพรวนดินให้สูงๆ ดินก็จะทรุดตัวลงไป สำหรับการปลูกมะนาวในวงบ่อ หากใส่ดินให้ท่วม ต้นมะนาวจะตายได้ ต้องค่อยๆ เติมวัสดุปลูกลงไป เพื่อให้พืชปรับตัวเสียก่อน เพราะพืชตระกูลส้มค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคเชื้อรา 

สำหรับวงบ่อซีเมนต์ที่ใช้ปลูกไม่ได้ปิดผนึก แต่ใช้การวางเทิน โดยทั่วไปต้องใช้แผ่นรองก้นวงบ่อ เพื่อป้องกันรากต้นมะนาวจะออกมาในปีที่ 2-3 พืชตระกูลส้ม ต้องให้ผ่านฤดูแล้งก่อน จึงจะออกดอกผล สำหรับต้นมะนาว ปลูกดูแลรักษาง่าย สำหรับข้าราชการที่เข้าสู่วัยปลดเกษียณไม่รู้ว่าจะทำงานอะไรต่อไป ก็น่าจะหันมาปลูกมะนาว

เมื่อตัดสินใจทำสวนมะนาว คำนวณต้นทุนอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ (อ้างอิงจากต้นทุน ที่จังหวัดพิจิตร) ได้แก่ วงบ่อ ขนาด 1 เมตร สูง 50 เซนติเมตร พร้อมแผ่นรอง ขายในราคาชุดละ 300 บาท อุปกรณ์ระบบน้ำ เช่น ท่อ PE สายไส้ไก่ ฯลฯ โดยมีต้นทุนเฉลี่ย ต้นละ 20 บาท มีค่าจ้างแรงงานผสมดินวงละ 20 บาท ค่ากิ่งพันธุ์มะนาว ต้นละ 50 บาท รวมต้นทุนการผลิตมะนาววงบ่อ ประมาณชุดละ 420 บาท

ผมมีรุ่นน้องคนหนึ่งจบวิศวะ ทำงานอยู่ที่จังหวัดระยอง มีรายได้สูง แต่บริษัทกำลังจ้างให้ออก เขามีเงินทุนก้อนสุดท้ายจำนวน 50,000 บาท ไม่รู้จะทำอาชีพอะไรต่อไป ผมก็ชวนเขามาเรียนรู้เรื่องการทำมะนาววงบ่อที่จังหวัดพิจิตร เขาใช้เงินทุน จำนวน 30,000 บาท ปลูกมะนาวในวงบ่อ จำนวน 200 วง ที่จังหวัดระยอง ชื่อว่า สวนเจ้าสัว 

สำหรับวงบ่อที่จังหวัดระยอง ราคาไม่แพงเท่าไหร่ เนื่องจากมี ขนาด 1 เมตร สูง 35 เซนติเมตร ผมจึงแนะนำให้เขาใช้วงบ่อ 2 วง ซ้อนกัน เพื่อให้มีความสูงของวงบ่ออยู่ที่ 70 เซนติเมตร และผมก็ถ่ายทอดเทคนิคการตอนกิ่งมะนาวให้เขาไป เพื่อผลิตกิ่งตอนขาย เขาทำไปได้ 2 ปี เมื่อเร็วๆ นี้ เขาโทร.บอกผมว่า ตอนนี้เขาปลูกมะนาว 600 วงแล้ว ปีนี้เขาคาดว่า เมื่อหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว จะมีรายได้สุทธิ 800,000 บาท เขาเป็นเด็กหนุ่มที่มีความมานะ จึงประสบความสำเร็จได้ง่าย ที่จังหวัดระยอง ปีนี้เขาขายมะนาวไซซ์ใหญ่ในช่วงฤดูแล้ง ได้ราคาสูงถึง ลูกละ 8 บาท ปลูกมะนาว 600 วง เก็บมะนาวออกขายได้ ครั้งละ 10,000 ลูก 

นอกจากนี้ ผมยังมีลูกศิษย์เป็นผู้หญิงอีกคนที่ประสบความสำเร็จในการทำสวนมะนาวอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี เขาเพิ่งเรียนจบปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เขาขับรถไปหาผมที่จังหวัดพิจิตร ขอเรียนเรื่องการขยายพันธุ์มะนาว และขอซื้อกิ่งพันธุ์มะนาวจากผม ซึ่งเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งหมด เขาวิ่งไปวิ่งมาหาผมหลายรอบ ปีที่แล้วเขาขายกิ่งพันธุ์ได้ล้านกว่าบาท 

ที่ผ่านมา ผมสอนเรื่องการผสมพันธุ์ การขยายพันธุ์ สำหรับพันธุ์มะนาวที่ใช้คือ พันธุ์ราชการ กับพันธุ์ส่วนตัว ผมนิยมใช้สายพันธุ์มะนาวพื้นเมืองทั่วๆ ไป เช่น พันธุ์แม่ไก่ไข่ดก ซึ่งเป็นมะนาวพันธุ์ลูกกลมๆ ผิวบาง น้ำดีๆ หากใครสนใจอยากเล่นมะนาว ควรรู้จักการไขว้สายพันธุ์ คือยึดหลักที่ว่า ผสมข้ามจากต้นนี้ไปต้นนั้น จะช่วยพัฒนาพันธุ์มะนาวที่ทนทานต่อโรคแคงเกอร์ 

สำหรับมะนาวพันธุ์ลูกผสมของผม ส่วนใหญ่มีความต้านทานต่อโรคแคงเกอร์ 90-95% มะนาวทั่วไปมักเป็นโรคแคงเกอร์ ส่วนพันธุ์ที่ปลอดโรคแคงเกอร์ก็ยังมี แต่ตลาดไม่สนใจ ตอนนี้ผมก็ทำมะนาวปลอดโรคอยู่ต้นหนึ่ง เป็นมะนาวพันธุ์แป้นปลอดโรคแคงเกอร์ แต่ยังไม่เปิดตัวออกมา รอไว้ก่อน 

หากใครอยากเข้ามาทำธุรกิจมะนาว จะต้องมีความรู้แม่นยำในเรื่องสายพันธุ์มะนาว ผมขอยกตัวอย่าง มะนาวแป้นเอี่ยมเซ้ง หากท่านเห็นลูกมะนาว รู้ไหมว่าพันธุ์อะไร สำหรับลักษณะมะนาวแป้นเอี่ยมเซ้ง ลูกจะมีตะเข็บเหมือนรอยกัดทับชนกัน นี่คือ เอกลักษณ์ของมะนาวพันธุ์นี้ ที่คุณควรเรียนรู้ให้แม่นยำ 

สำหรับมะนาวพันธุ์ลูกผสมที่ผมทำ ส่วนมากจะให้เกษตรกรนำไปปลูก โดยมะนาวลูกผสมพันธุ์นี้เกิดจากมะนาวพันธุ์เอี่ยมเซ้ง กับพันธุ์แม่ไก่ไข่ดก มีกลิ่นฉุนแรง ต้านทานโรคแคงเกอร์ได้ดี เวลาผสมพันธุ์ข้ามกัน หากจะทดสอบว่า ลูกผสมพันธุ์นี้ ต้านทานโรคแคงเกอร์หรือไม่ เวลาที่เพาะต้นได้สัก 3-4 เดือน ให้ตัดกิ่งมะนาวที่เป็นโรคแคงเกอร์มาแช่น้ำทิ้งไว้สักคืน หลังจากนั้น นำไปเทใส่ต้นมะนาว หากเป็นพันธุ์ที่ต้านทานโรคแคงเกอร์ได้ จะเริ่มเห็นแววตั้งแต่เล็กว่า ต้นไหนดี ต้นไหนไม่ดี 

ในแง่ผลตอบแทนการลงทุน พบว่า การปลูกมะนาวในวงบ่อ จะเริ่มคืนทุนตั้งแต่ปีที่ 1 ประมาณ 30% หลายคนสงสัยว่าทำไมได้ผลตอบแทนไม่เต็มร้อย เพราะโดยทั่วไปต้นมะนาวที่ปลูก 100 ต้น จะเติบโตไม่เท่ากัน อาจจะให้ผลผลิตดีเพียงแค่ 60-70 ต้น ที่ทำผลิตมะนาวนอกฤดูได้ สรุปปีแรกจะได้ผลผลิตไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่ปีที่ 2 จะคืนทุนได้ 100% เนื่องจากในพื้นที่ 1 ไร่ จะทำมะนาวนอกฤดูได้ทุกต้น ส่วนผลตอบแทนในปีที่ 3 ที่ผมเคยตรวจนับพบว่า ได้ผลผลิต ตกต้นละ 1,000 ลูก หากลองคูณด้วยจำนวนต้นมะนาว 500 วง บนเนื้อที่ 5 ไร่ มะนาวนอกฤดูที่ขายช่วงหน้าแล้ง ในราคาถูกๆ แค่คูณด้วยราคากลาง ลูกละ 3 บาท เพียงเท่านี้ก็ได้เงินกว่าล้านบาทแล้ว 

ผมทำสวน ใช้เงิน 2.5 แสนบาท ปลูกมะนาว 500 วง ที่เหลือใช้ในการขุดบ่อ ทำระบบน้ำ มีคนถามผมว่า มะนาวในวงบ่อมีอายุเท่าไหร่ ผมตอบว่า อย่างน้อย 10 ปี การปลูกมะนาววิธีนี้ เกษตรกรจะมีโอกาสผลิตมะนาวนอกฤดู ที่ใช้ต้นทุนค่าอาหารและยาในอัตราต่ำ และได้กำไร 7 ปี 

การปลูกมะนาวในวงบ่อ อยากจะแนะนำให้พี่น้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และประหยัดค่าใช้จ่าย โดยหันมาใช้น้ำส้มควันไม้ แค่เดือนละ 2 ครั้ง โดยใช้ในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ลิตร น้ำส้มควันไม้จะทำหน้าที่ขับไล่แมลงในสวนมะนาว หากใช้อย่างต่อเนื่องจะช่วยปรับโครงสร้างของพืชให้แข็งแรง หากคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายในสวนของผม ปลูกมะนาว 500 วง อายุ 3 ปี ใช้ปุ๋ยเคมี 6 ลูก ค่ากำจัดวัชพืช 7,200 บาท ต่อปี ค่าไฟฟ้า เดือนละ 1,000 บาท หรือ ปีละ 12,000 บาท น้ำส้มควันไม้ ลิตรละ 20 บาท ซื้อขนาดถังละ 200 ลิตร ตกประมาณ 3,000 บาท ปีหนึ่งใช้ไม่หมด

การปลูกมะนาวในปีแรก ยังไม่มีรายได้เลี้ยงคนงาน ผมจึงปลูกผักแซมในวงบ่อ ปรากฏว่า ผักที่ปลูกกลับล่อแมลงเข้ามา ยกเว้น โหระพา กะเพรา ผักเสี้ยน ที่ปลูกในวงบ่อแล้วเป็นรายได้เสริมที่ดี เก็บโหระพาขาย วันละ 100 มัด ในราคา มัดละ 3 บาท มีรายได้เลี้ยงคนงาน ประมาณวันละ 300 บาท 

หากต้องการปลูกและขายมะนาวในช่วงราคาแพง สิ่งที่ต้องคำนึง ได้แก่ เรื่องพันธุ์มะนาว คนที่ปลูกมะนาวต้องรู้ว่า มะนาวแป้น มะนาวราชการมีอายุแก่เท่าไหร่ ประการต่อมา เลือกทำมะนาวนอกฤดูในระยะเวลาที่เหมาะสม ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม-กันยายน-ตุลาคม-พฤศจิกายน ในระยะ 5 เดือนนี้ ให้เกษตรกรตัดสินใจเองว่า จะเลือกทำมะนาวนอกฤดูในช่วงเดือนไหน โดยปกติผมจะเริ่มทำมะนาวนอกฤดูตั้งแต่เดือนกรกฎาคม หากอยากขายมะนาวได้ราคาแพง ต้องเลือกทำในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน หากอยากได้เงินเร็ว ให้ทำตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 

วิธีการทำมะนาวนอกฤดู เกษตรกรควรศึกษาเสียก่อนว่า ท้องถิ่นของท่านเจอภาวะแล้งในช่วงไหนของทุกปี สำหรับประเทศไทย ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม โดยทั่วไปจะเกิดภาวะแล้ง ประมาณ 20 วัน เราต้องใช้วิกฤตตรงนี้ให้เป็นประโยชน์ หลังจากอดน้ำมะนาวในวงบ่อ 1 สัปดาห์ โดยธรรมชาติเมื่อพืชตระกูลส้มขาดน้ำ เกิดอาการเหี่ยวแล้ว จะเกิดอาการกลัวตายและเร่งผลิดอกออกผลทันที

เกษตรกรต้องคอยสังเกต หากพบว่า ต้นมะนาวมีอาการเหี่ยว ใบร่วงประมาณ 80% จึงค่อยให้ปุ๋ยเคมี สูตร 12-24-12 ในอัตรา 300 กรัม ต่อต้น ให้ปุ๋ยหว่านแห้งก่อนจึงค่อยรดน้ำตาม พืชจะดูดกินธาตุอาหารจากปุ๋ยได้ทันที หลังจากนั้น อีกประมาณ 15 วัน ต้นมะนาวจะเริ่มแตกใบอ่อนและผลิดอกออกมา ดูแลต้นมะนาวตามขั้นตอนปกติ ตั้งแต่ระยะดอกผลิบาน จนถึงช่วงเก็บเกี่ยวจะใช้เวลา ประมาณ 5-6 เดือน

ที่ผมเล่ามา เป็นขั้นตอนการผลิตมะนาวนอกฤดู ที่ปลูกในวงบ่อ ที่ทุกคนสามารถนำไปทำได้ หากใครยังไม่มั่นใจฝีมือตัวเอง ขอแนะนำให้ลองซื้อวงบ่อมาทดลองปลูกเสียก่อน ผมอยากให้เพื่อนเกษตรกรเริ่มต้นทำมะนาวนอกฤดูในวงบ่ออย่างชาญฉลาด ค่อยเป็นค่อยไป ผมเริ่มลงทุนทำสวนมะนาวขนาดเล็ก ใช้เงินทุน 1,200-2,000 บาท ต่อมาขยายเพิ่มขึ้นโดยใช้เงินทุนถึงตัวเลขเจ็ดหลัก

สำหรับคนที่ชื่นชอบการปลูกมะนาว ผมอยากแนะนำให้ลองเก็บสะสมสายพันธุ์มะนาวที่มีลักษณะแปลกๆ ไว้สำหรับใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในอนาคต เนื่องจากมะนาวบางสายพันธุ์สามารถต้านทานโรคแคงเกอร์ได้ดี ทุกวันนี้ผมมีเพื่อนสมาชิกผู้ปลูกมะนาวนอกฤดูในวงบ่อ ประมาณ 30 คน ปลูกมะนาวเฉลี่ย 500-600 วง แต่ละคนมีรายได้เกือบล้านบาทต่อปี หากใครอยากได้ความรู้เรื่องมะนาวเพิ่มเติม เรื่องการผสมพันธุ์มะนาว เรื่องตลาด แวะไปพูดคุยกับผมได้ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ 

(กรุณาติดตามอ่าน "มะนาวราคาแพง...มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า" ตอนที่ 11 ได้ ในฉบับหน้า)

หน้า 71
วันที่ 01 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 26 ฉบับที่ 560

เทคโนฯ เสวนาสัญจร

จิรวรรณ โรจนพรทิพย์ 

"มะนาวราคาแพง...มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า" ตอนที่ 11 

บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) โดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (มติชนอคาเดมี) ได้จัดสัมมนาวาระพิเศษ 25 ปี เทคโนโลยีชาวบ้าน ในหัวข้อ "เมื่อ มะนาว ราคาแพง มาปลูกและขาย...ด้วยตนเองดีกว่า" ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการปลูกมะนาวแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป 

ภายหลังจาก อาจารย์ประเวศ แสงเพชร เจ้าของคอลัมน์ "หมอเกษตร ทองกวาว" ซึ่งเป็นพิธีกร ได้เชิญวิทยากรทั้ง 3 ท่าน คือ คุณศิริชัย จันทร์นาค โทร. (086) 167-3797 ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด คุณรัตนพงษ์ นิ่มวาด โทร.(085) 808-6515 เจ้าของสวนมะนาวรายใหญ่ที่หนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี อาจารย์วัง สุขประเสริฐ โทร.(088)201-4607 ผู้เชี่ยวชาญการปลูกมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ ร่วมพูดคุย ในหัวข้อ "รู้ลึกๆ การผลิตมะนาว ให้มีผลผลิตจำหน่าย" กันครบทุกคนแล้ว พิธีกรได้เปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมเสวนาได้มีโอกาสซักถามประเด็นข้อสงสัยกับวิทยากรแต่ละท่าน รวมไปถึงวิทยากรรับเชิญในการเสวนาในช่วงตอนเช้าด้วย 

ผู้เข้าร่วมเสวนา : การปลูกมะนาวนอกฤดูในวงบ่อ มีผลผลิตมากแค่ไหน? 

อาจารย์วัง : สวนมะนาวของผมจะแบ่งล็อกการเก็บผลผลิต ประมาณ 2 แถว หรือแถวครึ่ง ต่อสัปดาห์ จะเก็บมะนาวไซซ์ใหญ่ เบอร์ 3 ได้ไม่ต่ำกว่า 20 กระสอบ กระสอบละ 300 ลูก จะขายในราคาหน้าสวนช่วงเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ลูกละ 5 บาท นั่นคือ รายได้แต่ละสัปดาห์ของผม 

ผู้เข้าร่วมเสวนา : สวัสดีครับ ผมชื่อ ตรีพล จันทวงศ์ จากจังหวัดสระแก้ว การปลูกมะนาวที่แนะนำให้ใช้ ดิน 3 ส่วน ปุ๋ย 2 ส่วน และวัสดุอื่นๆ ผมไม่เข้าใจว่า วัสดุอื่นๆ มีอะไรบ้าง ข้อมูลในเว็บไซต์ด้านการเกษตร อธิบายว่า วัสดุอื่นๆ ได้แก่ ฟางข้าว เปลือกถั่วเหลือง เปลือกถั่วเขียว แถวบ้านผมหาวัสดุปลูกเหล่านี้ได้ค่อนข้างยาก ในท้องถิ่นที่ผมอยู่ มีโรงงานทำแป้งมัน ที่ร่อนเปลือกมันสำปะหลังออกมากองไว้เป็นจำนวนมาก เกษตรกรนิยมซื้อไปเพาะเชื้อเห็ดฟาง ผมอยากรู้ว่า จะใช้เปลือกมันสำปะหลังเป็นวัสดุปลูกมะนาวได้หรือไม่ และเมื่อนำไปใช้งาน จะให้ผลแตกต่างจากวัสดุปลูกประเภทอื่นอย่างไรบ้าง? 

อาจารย์วัง : เปลือกถั่วเหลือง ใช้เป็นวัสดุปลูกมะนาวได้ แต่ขอให้ผ่านหนึ่งฤดูฝนไปก่อน หากลองสังเกตจะเห็นว่า กากถั่วจะมีเชื้อราสีขาว อันตรายมาก ต้องระวัง หากกองทิ้งไว้จะเกิดความร้อน และมีเชื้อราชนิดหนึ่งที่มีความสามารถทำลายรากพืช หากต้องการใช้วัสดุชนิดนี้ ควรนำเปลือกถั่ววางทิ้งไว้สัก 6 เดือน ก่อนนำไปใช้งาน นอกจากนี้ วัสดุปลูกประเภทแกลบดิบก็สร้างปัญหาได้เช่นกัน เมื่อก่อนผมรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ใช้แกลบดิบมาผสมวัสดุปลูกปลูกพืช ปรากฏว่า ปลูกได้ไม่ถึงเดือน เชื้อราเพียบเลย พืชตายหมด วัสดุปลูกอีกชนิดที่ต้องระวังคือ ปุ๋ยคอก ตามหลักการแล้ว ปุ๋ยคอกสดๆ พืชจะไม่สามารถนำไปใช้งานได้เลย ต้องปล่อยให้ปุ๋ยคอกสลายตัวมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน พืชจึงนำไปใช้งานได้ 

การปลูกมะนาว ท่านควรจัดเตรียมวัสดุปลูกไว้ล่วงหน้า สำหรับพื้นที่แถบสุพรรณบุรี กาญจนบุรี พิษณุโลก พิจิตร ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานน้ำตาล โรงงานส่วนใหญ่ต้องการหาที่ทิ้ง "กากหม้อกรอง" หรือ ฟิลเตอร์เค็ก (filter cake) ลองติดต่อโรงงานให้นำมาทิ้งในที่ดินของเกษตรกรแทน สำหรับเปลือกมันสำปะหลังใช้เป็นวัสดุปลูกมะนาวได้ แต่ต้องวางทิ้งไว้สัก 1 เดือน ก่อน จึงค่อยนำไปใช้งาน ไม่ควรใจร้อนนำไปใช้งานเลย เพราะเสี่ยงเจอปัญหาเรื่องเชื้อรา หากท่านอยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน ผมขอแนะนำให้ลองใช้เศษใบไม้เก่าๆ โดยเฉพาะใบก้ามปู พืชตระกูลถั่ว จ้างเด็กไปกวาดเศษใบไม้เก่ามาใช้เป็นวัสดุปลูกได้ 

ผู้เข้าร่วมเสวนา : ใช้ฟางข้าว แต่ปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป ฟางข้าวอาจจะเน่าได้? 

อาจารย์วัง : ฟางข้าว ก็เหมือนกับปุ๋ยพืชสดทั่วไป หากฟางข้าวยังไม่สลายตัว พืชก็ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ปกติต้องผ่านกระบวนการทำปุ๋ยหมักมาเสียก่อน การย่อยของพืชแต่ละอย่างที่เป็นฮิวมัส (อินทรียวัตถุมีสีน้ำตาล หรือสีดำ ที่เกิดจากการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์) พืชจึงนำไปใช้ประโยชน์ได้ ส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรมักนำฟางข้าวไปใช้คลุมดิน หากท่านจะใช้ฟางผสมในวัสดุปลูกมะนาวก็สามารถทำได้ 

ผู้เข้าร่วมเสวนา : พื้นที่บางคล้า เหมาะสมสำหรับปลูกมะนาวหรือไม่? 

อาจารย์วัง : กรมพัฒนาที่ดิน ระบุว่าลักษณะดินที่เหมาะสำหรับปลูกมะนาว ต้องมีค่าความเป็นกลางอยู่ที่ 5.5-6.5 โดยทั่วไป มะนาวสามารถปลูกได้ทั่วประเทศไทย หากใครสงสัยว่าที่ดินของตัวเองจะปลูกมะนาวได้หรือไม่ ควรนำตัวอย่างดินไปตรวจเช็กที่กรมพัฒนาที่ดิน ก็จะได้รับคำตอบที่ชัดเจน 

ผู้เข้าร่วมเสวนา : ปุ๋ยโยกหน้า-โยกหลัง ใส่ในอัตราเท่าไหร่ ต่อต้น? 

รศ.ดร. รวี เสรฐภักดี : ปุ๋ยสูตรโยกหน้า (สูตร 21-7-14 สูตร 21-4-16) ใส่ช่วงดอกบาน เพื่อกระตุ้นการแตกใบอ่อนและช่วยขยายผล ส่วนปุ๋ยโยกหลัง (สูตร 15-5-20) ใช้ก่อนต้นมะนาวออกดอก หรือช่วงกำลังฟอร์มดอก ปริมาณการใช้ปุ๋ยขึ้นอยู่กับขนาดพุ่มต้น สำหรับต้น ขนาด 1-2 เมตร ผมจะใช้ปุ๋ย ประมาณ 1-1.5 ขีด ต่อต้น ต่อเดือน สิ่งสำคัญที่ผมเน้นคือ ความต่อเนื่องของปุ๋ย หากสามารถแบ่งปริมาณปุ๋ยที่กำหนด และทยอยการให้ปุ๋ยเป็น 2 ครั้ง ต่อเดือน ก็นับเป็นเรื่องที่ดี และหลังจากให้ปุ๋ยทุกครั้ง จะต้องรดน้ำตามทันที 

ส่วนธาตุอาหารเสริมกลุ่มย่อย ผมขอแนะนำให้ฉีดพ่นทางใบ ขณะที่มีใบอ่อนเกิดใหม่ สำหรับต้นมะนาวหรือไม้ผลทุกชนิด ช่วงที่ติดผลดก จะขาดปุ๋ยไม่ได้เลย หากต้นไม้ขาดปุ๋ย จะแสดงอาการทิ้งใบทันที ใบแก่บริเวณโคนกิ่งจะร่วงหล่นก่อน เพราะปริมาณธาตุอาหารไม่เพียงพอ หลังจากนั้น จะเคลื่อนย้ายไปที่ลูก ใบจะเหลืองก่อน เป็นอาการที่บ่งบอกให้รู้ว่า พืชได้รับปุ๋ยไม่เพียงพอ 

อาจารย์ประเวศ : การใช้สารแพคโคลบิวทราโซล? 

รศ.ดร. รวี เสรฐภักดี : สารแพคโคลบิวทราโซล (Paclobutrazol : PBZ) เป็นสารชะลอการเจริญเติบโตโดยธรรมชาติ พืชจะสร้างฮอร์โมนพืช gibberellic acid หรือ GA เสริมการเจริญเติบโตของกิ่งและใบ การออกดอกของต้นไม้คือการสืบพันธุ์จะอยู่ตรงกันข้ามกับการเจริญเติบโตของกิ่ง-ใบ เหมือนกับคานที่กระโดดไปกระโดดมา ดังนั้น การออกดอกของต้นไม้ นั่นคือการลดการเจริญเติบโตของกิ่ง-ใบ ให้น้อยลง เมื่อใช้สารแพคโคลบิวทราโซลจะไปลดปริมาณการสังเคราะห์ฮอร์โมนตามธรรมชาติของพืช ให้มีการเจริญเติบโตที่น้อยลง โอกาสที่จะออกดอกก็มีมากขึ้น ส่วนการลดปริมาณการให้น้ำ จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช 

คุณรัตนพงษ์ : ช่วงผมเรียนที่วิทยาลัยเกษตร ได้รู้ว่า สารแพคโคลบิวทราโซลช่วยชะลอการเติบโตของไม้ผล เช่น มะม่วง ลำไย และมะนาวแล้วได้ผลดี ผมก็รู้สึกร้อนวิชา จึงขอคุณพ่อทดลองใช้สารแพคโคลบิวทราโซลไปราดต้นมะนาว อายุ 3 ปี จำนวน 25 ต้น เพื่อทำมะนาวนอกฤดู ปรากฏว่าต้นมะนาวออกดอกเยอะมาก แต่ไม่ยอมออกใบ ผมเห็นท่าไม่ดี เพราะออกดอกเป็น 2 เท่า ของต้นมะนาวธรรมดา ต้นมะนาวขาวโพลนไปหมด หลังหมดช่วงแทงดอก ต้นมะนาวก็ยังไม่ออกใบ แต่มีลูกมะนาวขนาดเท่ากับลูกชิ้นหมูลูกเล็กๆ และต้นมะนาวตายในที่สุด 

แม้เจอโชคร้ายไปบ้าง แต่ทำให้ผมเรียนรู้ว่า สวนมะนาว อายุ 5 ปี หากวางแผนตัดโค่นในปีหน้า ต้องใช้จังหวะการปลูกมะนาวปีสุดท้ายให้เร่งทำมะนาวนอกฤดูให้ได้ผลผลิตมากที่สุด ผมตัดสินใจราดสารแพคโคลบิวทราโซลลงดินไปเลย ทำให้ต้นมะนาวมีผลผลิตอย่างเต็มที่ก่อนต้นตาย แต่ระวังอย่าใช้สารแพคโคลบิวทราโซลในปริมาณมาก เพราะจะทำให้ลูกมะนาวไม่ค่อยโต 

รศ.ดร. รวี เสรฐภักดี : สารแพคโคลบิวทราโซลจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของระบบรากพืชอย่างรุนแรง ถึงขั้นทำให้พืชตายได้ นี่คือ เหตุผลที่ผมนำสารชนิดนี้มาใช้ทางใบแทน หลังการตัดยอด 15 วัน ผมใช้สารแพคโคลบิวทราโซล 400 ppm ระดับความเข้มข้น 10% อัตรา 80 กรัม ผสมน้ำ 1 ปี๊บ ใช้ฉีดพ่นให้ใบยอดจนชื้น โดยระมัดระวังไม่ให้สารชนิดนี้ไหลลงดินเพื่อป้องกันไม่ให้สารชนิดนี้ไปยับยั้งการเติบโตของระบบราก การฉีดพ่นสารแพคโคลบิวทราโซลทางใบยอด หากใช้ในอัตราความเข้มข้นสูงกว่านี้ จะส่งผลกระทบทำให้ใบมีขนาดเล็กลงได้ เนื่องจากสารชนิดนี้จะไปสะสมอยู่ที่ใบยอด การออกดอกอยู่ที่ใบยอด เป้าหมายของการใช้สารชนิดนี้ คือยับยั้งการแทงยอดซับซ้อนในช่วงฤดูฝนนั่นเอง 

อาจารย์ประเวศ : มีคำถามถึง "เจ๊เล็ก" เรื่องตลาดรับซื้อมะนาวตาฮิติ? 

เจ๊เล็ก : เจ๊เล็กรับซื้อมะนาวตาฮิติเอง สำหรับช่วงฤดูแล้ง รับซื้อในราคากิโลกรัมละ 55 บาท เพราะตลาดมีความต้องการมะนาวจำนวนมาก มีผลผลิตมากเท่าไหร่ เจ๊เล็กก็รับซื้อหมด แต่หากเป็นช่วงฤดูฝน ก็ต้องคุยราคากันใหม่ เพราะต้องเน้นรูปทรงสวย เพราะใครก็รู้ว่า หน้าฝนฉีดยาไม่ถึง ฝนตกชะล้างยาที่ฉีดไปหมด มะนาวจึงเกิดโรคขี้กลากขึ้น 

โดยทั่วไป มะนาวตาฮิติ เป็นที่ต้องการในตลาดมาเลเซีย สำหรับการส่งออกมะนาวไปขายต่างประเทศ ต้องอาศัยการคัดพันธุ์และดูจากภาวะราคาเป็นหลักว่า ช่วงนั้นๆ มะนาวชนิดไหนมีราคาถูก ตลาดส่งออกต้องการมะนาวพันธุ์ไร้เมล็ดเป็นหลัก ส่วนมะนาวแป้นธรรมดาก็สามารถส่งออกได้เช่นกัน เพราะผู้ซื้อต่างประเทศต้องการสินค้าที่มีต้นทุนถูกด้วยเช่นกัน 

รศ.ดร. รวี เสรฐภักดี : มะนาวตาฮิติ พบในเกาะตาฮิติ หมู่เกาะแปซิฟิกใต้ มีโครโมโซมอยู่ 3 ชุด มีพันธุ์ใกล้เคียงกันเรียกว่า พันธุ์ Parss คิดว่าเป็นพันธุ์เดียวกับมะนาวตาฮิติ เมื่อนำมะนาวตาฮิติมาปลูกในไทยสามารถต้านทานแคงเกอร์ เกษตรกรได้ตั้งชื่อการค้าแตกต่างออกไป เช่น มะนาวทูลเกล้า เพื่อให้ราคามันสูงขึ้น แต่ความจริงเป็นมะนาวพันธุ์เดียวกันหมดล่ะครับ 

อาจารย์ประเวศ : ใช้กระดูกวัวเผาเป็นขี้เถา ช่วยเพิ่มแคลเซียม ฟอสฟอรัส แก่ต้นมะนาวได้หรือไม่? 

รศ.ดร. รวี เสรฐภักดี : สำหรับกระดูกวัวเผาเป็นส่วนประกอบของแคลเซียมฟอสเฟต เกิดจากส่วนผสมของแคลเซียมกับฟอสเฟต ถือเป็นพันธะที่แกร่งที่สุดชนิดหนึ่งของโลก หากจะแยกพันธะนี้ออกจากกันได้ ต้องใช้กรดเกลือที่แก่มากๆ ถึงจะแยกสารทั้งสองชนิดออกจากกันได้ หากต้องการใช้เถ้ากระดูกวัวป่น ผมคิดว่า จะให้ผลลัพท์ที่ไม่คุ้มกับต้นทุนที่เสียไป 

(กรุณาติดตามอ่าน "มะนาว ราคาแพง...มาปลูกขาย...ด้วยตัวเองดีกว่า" ตอนที่ 12 ได้ ในฉบับหน้า)

หน้า 96
วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 26 ฉบับที่ 561

เทคโนฯ เสวนาสัญจร

จิรวรรณ โรจนพรทิพย์ 

"มะนาวราคาแพง...มาปลูกขายด้วยตัวเองดีกว่า" (ตอนจบ) 

บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) โดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (มติชนอคาเดมี) ได้จัดสัมมนาวาระพิเศษ 25 ปี เทคโนโลยีชาวบ้าน ในหัวข้อ "เมื่อ มะนาว ราคาแพง มาปลูกและขาย...ด้วยตนเองดีกว่า" ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการปลูกมะนาวแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป

ในฉบับนี้ ขอนำเสนอช่วงสุดท้ายของการเสวนาที่ อาจารย์ประเวศ แสงเพชร เจ้าของคอลัมม์ "หมอเกษตร ทองกวาว" ในฐานะพิธีกรได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมเสวนาซักถามประเด็นคำถามกับวิทยากรรับเชิญทั้ง 7 ท่าน ประกอบด้วย คุณศิริชัย จันทร์นาค โทร. (086) 167-3797 ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด คุณรัตนพงษ์ นิ่มวาด โทร. (085) 808-6515 เจ้าของสวนมะนาวรายใหญ่ที่หนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี อาจารย์วัง สุขประเสริฐ โทร. (087) 201-4607 ผู้เชี่ยวชาญการปลูกมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ รศ.ดร. รวี เสรฐภักดี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน คุณทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตร คุณทวิน แจ้งจันทร์ และ คุณช่อทิพย์ ศิริพันธุ์ (เจ๊เล็ก) ผู้ค้ามะนาวรายใหญ่ของตลาดไท 

อาจารย์ประเวศ : มะนาวแต่ละช่วงอายุ ต้องการธาตุอาหารหลักอะไรบ้าง???

อาจารย์วัง : ช่วงมะนาวต้นเล็กๆ แนะนำให้ใช้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 จำนวน 3 กิโลกรัม + ปุ๋ยยูเรีย 1 กิโลกรัม เพื่อเร่งการเจริญเติบโต จุดเด่นของมะนาวจะโตหรือไม่ อยู่ที่การดูแลเป็นหลัก เมื่อต้นมะนาวอายุ 45 วัน จะแตกใบอ่อน ระยะนี้ ต้องคอยระวังไม่ให้หนอนชอนใบเข้ากัดกินใบอ่อน เพราะหากรักษาใบอ่อนไว้ไม่ได้ ต้นมะนาวก็ไม่โต และมีปัญหาโรคแคงเกอร์เกิดขึ้นด้วย มะนาวชุดนี้จะหยุดการเจริญเติบโตไปอีก 45 วัน ดังนั้น หัวใจสำคัญของการปลูกมะนาว คือ ต้องรักษาใบอ่อนให้ได้ก่อน 

N-P-K (ไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส-โพแทสเซียม) คือ แร่ธาตุอาหารหลักที่มีความจำเป็นต่อการเติบโตของต้นมะนาว รองลงมาคือ ธาตุอาหารรองอีก 14 ชนิด เช่น แคลเซียม โบรอน ฯลฯ ซึ่งพืชมีพอใช้อยู่ในลำต้นแล้ว หากสังเกตเห็นผิวมะนาวไม่มัน ไม่สวย ให้ใช้ปุ๋ยหวาน สูตร 0-0-60 ก่อนเก็บผลผลิตประมาณ 2 เดือน จะช่วยให้ผลมะนาวมีผิวมัน สวย

ผู้เข้าร่วมเสวนา : สวัสดีครับ ผมชื่อ นายรัตนกิจ เชาว์เกษมวัฒน์ สนใจที่จะปลูกมะนาวเชิงการค้า ผมอยากรู้ว่า ความต้องการใช้มะนาวภายในประเทศมีเท่าไหร่ มีผลผลิตต่อปีละเท่าไหร่ ส่งออกไปขายที่ประเทศไหนบ้าง จำนวนเท่าไหร่ ??? 

อาจารย์ประเวศ : สามารถค้นหาข้อมูลเรื่องตลาดมะนาวบางส่วนได้ที่กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ส่วนเรื่องการส่งออกมะนาว คงจะต้องขอข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ๊เล็ก 

เจ๊เล็ก : หากสวนมะนาวของคุณมีผลผลิตแล้ว อยากส่งออก เจ๊เล็กยินดีติดต่อตลาดผู้ซื้อต่างประเทศให้คุณได้ แค่คุณผลิตมะนาวให้ได้มาตรฐานตลาดส่งออก ทุกวันนี้ ทางร้านส่งออกมะนาวไปยัง 6 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน จีน สำหรับตลาดมาเลเซียต้องการมะนาวราคาถูก มะนาวไทยขายได้ในราคาดีที่ตลาดญี่ปุ่น แต่การส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นทำได้ยาก เพราะเจอปัญหาสารเคมีตกค้าง หากคุณต้องการส่งออกมะนาวไปตลาดไต้หวัน จีน ฮ่องกง เจ๊เล็กสามารถให้คำแนะนำได้ เพียงแค่สินค้ามะนาวของคุณได้มาตรฐานการส่งออก 

คุณไม่ต้องกลัวว่า ปลูกมะนาวแล้วขายไม่ได้ โดยเฉพาะมะนาวแป้นรำไพ มีเท่าไหร่ก็ขายได้หมด เพราะเป็นมะนาวพันธุ์ดั้งเดิมตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย คนไทยนิยมมะนาวพันธุ์นี้มาโดยตลอด หากคิดจะปลูกมะนาว เกษตรกรลองถามผู้รับซื้อเสียก่อนว่า ตลาดต้องการมะนาวพันธุ์ไหน 

สำหรับเกษตรกรรายใหม่ที่ยังไม่มีตลาดรับซื้อ ขอเชิญไปใช้บริการได้ที่ตลาดไท เพราะที่นี่มีแผงมะนาวรายใหญ่ ถึง 22 ร้าน ที่รับซื้อมะนาวเป็นคันรถสิบล้อ และมีผู้ค้ามะนาวร้านเล็กๆ อีก 20 กว่าร้านค้า หากใครมีผลผลิตมะนาว แต่ไม่อยากขายดิฉันเพราะคิดว่าให้ราคาไม่ดี ดิฉันก็สามารถติดต่อแหล่งรับซื้อให้คุณได้เรื่อยๆ จนขายสินค้าได้ในราคาที่คุณพอใจ เพราะดิฉันก็ใหญ่ในตลาดไทเหมือนกัน สามารถพาคุณไปฝากเพื่อนๆ ได้ว่า คุณเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ยังไม่เคยเปิดตลาดเลย ขอแค่ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานของตลาด ราคาเท่าไหร่ ดิฉันก็รับซื้อค่ะ เพราะถือว่านานๆ มาเยี่ยมตลาด แต่หากทำแล้ว ผลผลิตไม่สวย ก็ยินดีรับซื้อทั้งหมด เพราะดิฉันมีโรงงานคั้นน้ำมะนาวเป็นของตัวเอง คั้นมะนาวแช่เย็นเป็นเกล็ดหิมะ ส่งขายทั่วประเทศไทย เฉลี่ยปีละ 200 ตัน ช่วงหน้าแล้ง ดิฉันรับซื้อมะนาวในราคากิโลกรัมละ 50 บาท แต่ช่วงมะนาวราคาถูก รับซื้อที่กิโลกรัมละ 5-10 บาท ดิฉันบอกได้เลยว่า มะนาวเป็นพืชที่กินได้ตลอดชีวิต ไม่มีเงินก็เดินเข้าสวน เก็บมะนาวออกขายได้เงินตลอด 

คุณทวิน : ผมขอเสริมข้อมูลเรื่องการส่งออกมะนาวสักเล็กน้อย การส่งออกมะนาวไปญี่ปุ่น ถือว่ายากที่สุด ญี่ปุ่นไม่ซื้อมะนาวที่ปลูกใกล้นาข้าวและไร่อ้อย เพราะเสี่ยงเจอปัญหาการปนเปื้อนสารเคมี จากการทำนาหรือไร่อ้อย มะนาวที่มีปัญหาแคงเกอร์ก็ส่งไปญี่ปุ่นไม่ได้ ที่ผ่านมา กว่าผมจะส่งออกมะนาวไปขายญี่ปุ่นได้ จะต้องส่งตัวอย่างมะนาวไปตรวจสอบหาสารเคมีตกค้างซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้ง มะนาว 100 ลูก คัดคุณภาพแล้วจะส่งไปขายญี่ปุ่นได้ไม่ถึง 50 ลูก แต่ฮ่องกงเป็นประเทศที่ส่งออกมะนาวได้ง่ายที่สุด 

อาจารย์ประเวศ : ปลูกมะนาวแบบธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมีจะให้ผลผลิตดีหรือไม่???

อาจารย์วัง : การปลูกพืชอินทรีย์ส่วนมากใช้กับไม้ผล ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนยาว ผมเคยทดลองปลูกส้มโอขาวแตงกวา ขาวทองดี ในระบบเกษตรอินทรีย์ ปรากฏว่าอยู่ไม่รอด เพราะเจอปัญหาที่มักเกิดกับพืชตระกูลส้ม การปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์จริงๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย แม้แต่เครื่องตัดหญ้ายังใช้ไม่ได้ เพราะขัดแย้งกับระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเวลาใช้เครื่องตัดหญ้าจะมีควันลอยออกมา นอกจากนี้ แปลงที่ปลูกในระบบอินทรีย์ ต้องมีระยะห่างจากแปลงที่ใช้สารเคมีพอสมควร หากต้องการปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ ควรใช้กับพืชผักจะเหมาะสมมากกว่า หากคิดจะปลูกมะนาวในระบบอินทรีย์ก็ทำได้ แต่ให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร 

ผู้เข้าร่วมเสวนา : สวัสดีครับ ผมชื่อ สมศักดิ์...อยากเรียนถามเรื่องการให้ปุ๋ยต้นมะนาวสายพันธุ์ตระกูลแป้น ผมสงสัยว่า มะนาวอายุ 6 เดือน-1 ปี ขนาดต้นเท่ากัน ใส่ปุ๋ยพร้อมกัน ปลูกในกระถางดินเผา 3.5 นิ้ว ทำไมมีขนาดผลใหญ่เล็กต่างกัน และมีปริมาณผลผลิตไม่เท่ากัน บางต้นให้ผลผลิต 120 ลูก แต่บางต้นมีผลผลิตแค่ 40 ลูก 

อาจารย์วัง : หากปลูกมะนาวโดยใช้กิ่งตอน ที่มีเกสรตัวผู้ ตัวเมีย บางครั้ง หากคุณรดน้ำไม่ได้จังหวะ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนฮอร์โมนเกสรตัวเมียมาเป็นเกสรตัวผู้เป็นส่วนใหญ่ ดอกมะนาวจะขาวโพลนเต็มต้นเหมือนดอกมะลิ พอติดลูกแล้ว จะได้ผลผลิตไม่เกิน 30-40 ลูก เนื่องจากมีเกสรตัวผู้เยอะ มีสวนมะนาวแห่งหนึ่งที่จังหวัดชลบุรี ปลูกมะนาวตาฮิติอายุ 3 ปี ไม่ติดลูกเลย เพราะปลูกบริเวณชายทะเล เจอปัญหาลมแรง ทำให้การผสมเกสรเป็นเรื่องยาก ผมเสนอให้แก้ไขปัญหาโดยปลูกมะนาวที่ติดเกสรง่ายๆ ปลูกสลับกับมะนาวตาฮิติ ปรากฏว่า ทำให้ต้นมะนาวติดผลได้มากขึ้น 

หากคุณเป็นเซียนมะนาว ย่อมรู้ว่า ตาดอก ตาใบ มันแตกต่างกัน ท่านสามารถเปลี่ยนจุดอ่อน จากตาใบให้เป็นตาดอกได้โดยใช้สารเปิดตาดอก ฉีดพ่นสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หากใครคิดจะทำแปลงกิ่งพันธุ์ออกจำหน่าย ผมขอแนะนำให้แยกแปลงออกจากกัน แปลงนี้สำหรับทำกิ่งพันธุ์ ส่วนอีกแปลงสำหรับผลิตลูกโดยเฉพาะ เนื่องจากต้นมะนาวที่ถูกตัดกิ่ง โอกาสที่จะออกลูกมีน้อย กิ่งที่จะออกลูกได้จะต้องผ่านการตัดกิ่งมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน หรือ 1 ฤดูกาล คุณรู้หรือเปล่า มะนาวจะสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ อยู่ตรงไหน ดอกสมบูรณ์อยู่ที่ปลายกิ่ง ดอกที่สมบูรณ์รองลงมาจะอยู่ที่ยอดใบ ส่วนดอกที่ไม่สมบูรณ์ จะอยู่ในทรงพุ่ม หากตัดยอด อายุของกิ่งไม่มากพอที่จะออกลูกได้ 

ผู้เข้าร่วมเสวนา : เมื่อเปิดตลาดประชาคมอาเซียน (เออีซี) จะส่งผลกระทบต่อมะนาวไทยหรือไม่???

คุณศิริชัย : มีผลกระทบต่อตลาดมะนาวไทยแน่นอน เพราะมีมะนาวจากเวียดนามส่งเข้ามาขายในไทย ทุกวันนี้ ที่ตลาดท่ายาง บ้านลาด อาจมีมะนาวเวียดนามเข้ามาวางขายแล้ว หากมองผิวเผินก็ไม่รู้หรอกครับว่า เป็นมะนาวไทย มะนาวเวียดนาม หรือมะนาวจากที่ไหน จะรู้ก็เมื่อนำมะนาวไปใช้งาน ว่ามะนาวลูกนั้นมีรสชาติ กลิ่นอย่างไร หากไม่มีการเก็บภาษีในอนาคต ทำให้มะนาวจากประเทศเพื่อนบ้านถูกนำเข้ามาขายในไทยได้อย่างเสรี แต่ผมเชื่อว่า มะนาวจากประเทศเพื่อนบ้านคงจะมีคุณภาพสู้มะนาวไทยไม่ได้ 

อาจารย์ประเวศ : ผมฟังแล้วใจชื้นหน่อยว่า มะนาวไทยยังอยู่ได้ เกษตรกรก็พยายามพัฒนาคุณภาพมะนาวไทยให้หนีคู่แข่ง ที่ผ่านมา มาเลเซียก็ซื้อมะนาวจากไทย ส่วนมะนาวของฟิลิปปินส์ และเวียดนามยังห่างไกลมะนาวไทยมาก ถือได้ว่า มะนาวไทยมีคุณภาพเหนือคู่แข่ง สบายใจได้ 

เจ๊เล็ก : ในช่วงหน้าแล้ง มะนาวที่ปลูกในไทยมีปริมาณน้อย ไม่พอขาย แถมมีราคาแพง ดิฉันก็ต้องนำเข้ามะนาวจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาขาย เพื่อเป็นสินค้าทางเลือกให้แก่คนรากหญ้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านขายส้มตำ ร้านข้าวแกง ร้านอาหารตามสั่ง ที่ต้องการใช้มะนาวราคาถูก ในช่วงหน้าแล้ง ดิฉันสามารถนำเข้ามะนาวจากประเทศเพื่อนบ้านในราคาถูก เพียงใบละ 1 บาท แถมมีคุณภาพดี มีประโยชน์มากกว่า กินน้ำมะนาวเทียมที่ทำมาจากสารเคมี ที่จะเป็นพิษภัยต่อสุขภาพผู้บริโภค ดิฉันเคยลองซื้อน้ำมะนาวเทียมที่ขายในท้องตลาดไปเทราดบนพื้นปูน สังเกตเห็นเนื้อปูนลอกออกมาเป็นแผ่นๆ เลย เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ไม่รู้ว่าที่ผ่านมา น้ำมะนาวเทียมได้ทำลายสุขภาพคนไทยไปสักแค่ไหน 

ส่วนกรณีนำเข้ามะนาวจากประเทศเพื่อนบ้าน เกษตรกรไม่ต้องตกใจว่า มะนาวเพื่อนบ้านจะตีตลาด เพราะดิฉันไม่ได้นำเข้าเยอะ เนื่องจากมีกฎหมายคุ้มครอง ส่วนฤดูปกติ มะนาวเพื่อนบ้านก็ขายไม่ได้ คนไทยไม่นิยม เพราะมีคุณภาพสู้มะนาวไทยไม่ได้ 

หน้า 82